Page 34 - แผนบริหารจัดการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและฟื้นฟูพื้นที่เกษตรกรรมด้วยระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ ลุ่มน้ำห้วยศาลจอด อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร
P. 34

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                          18


                    2) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับลักษณะของดิน (erodibility factor: K) เป็นค่าความคงทนของดิน

               ภายใต้สภาพแวดล้อมที่คล้ายคลึงกันดินแต่ละชนิดจะทนต่อการชะล้างพังทลายที่แตกต่างกัน สอดคล้อง
               ตามหลักการของ Wischmeier นั้น สามารถวิเคราะห์ค่าปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับลักษณะดินนี้จากภาพ

               Nomograph โดยประเมินได้จากสมบัติของดิน 5 ประการคือ (1) ผลรวมปริมาณร้อยละดินของทรายแป้ง

               และปริมาณร้อยละของทรายละเอียดมาก(2) ปริมาณร้อยละของทราย(3) ปริมาณร้อยละของอินทรียวัตถุ
               ในดิน(4) โครงสร้างของดิน และ (5) การซาบซึมน้ าของดิน (กรมพัฒนาที่ดิน, 2545) ได้มีการศึกษาปัจจัย

               ดังกล่าว และให้ค่าปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับลักษณะของดินสอดคล้องตาม
                    3) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิประเทศ (slope length and slope steepness factor: LS)เป็น

               ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความลาดชัน และความยาวของความลาดชัน ตามปกติแล้วค่าการชะล้างพังทลายของ

               ดินนั้นจะแปรผันตรงกับความลาดชันสูงและความยาวของความลาดชัน ในการศึกษานี้ได้ใช้ข้อมูลความสูง
               จากแบบจ าลองระดับความสูงเชิงเลข (Digital Elevation Model, DEM)โดยค านวณทั้งสองปัจจัย

               สอดคล้องกับการศึกษาของ (Hickey et al., 1994)
                    4) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการพืช (crop management factor: C) เป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้อง

               กับพืชคลุมดิน ซึ่งพืชแต่ละชนิดย่อมมีความต้านทานในการชะล้างพังทลายของดินที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับ

               ความสูงของต้น ลักษณะพุ่ม หรือการยึดอนุภาคดินของรากพืชนั้น ๆ เป็นต้น ในกรณีที่ไม่มีพืชปกคลุมดิน
               นั้น ค่าปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการพืชนี้จะมีค่ามากที่สุด ในที่นี้คือ 1.00 ส่วนกรณีที่พืชปกคลุมดิน

               สามารถต้านทางการชะล้างพังทลายของดินได้ดีจะให้ค่าปัจจัยนี้น้อย นอกจากนี้ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการ

               จัดการพืชนี้ยังมีความสัมพันธ์กับสภาพภูมิอากาศในพื้นที่นั้น ๆ เนื่องจากสภาพภูมิอากาศนั้นมีผลต่อการ
               เจริญเติบโตของพืช

                    5) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์ดินและน้้า (conservation factor:P) เป็นปัจจัยที่แสดงถึง
               มาตรการอนุรักษ์ดินและน้ าในพื้นที่นั้น ๆ เช่น การปลูกพืชตามแนวระดับ (contouring) การปลูกพืชสลับ

               ขวางความลาดเอียง (strip cropping) การปลูกพืชในพื้นที่ที่มีคันนาเป็นต้น ในที่นี้ใช้ค่าตามการศึกษา

               ของกรมพัฒนาที่ดิน(2545) จากค่าปัจจัยทั้ง 5 ปัจจัยนั้น สามารถน ามาค านวณการสูญเสียดินสอดคล้องตาม
               สมการการสูญเสียดินสากลได้บนฐานข้อมูลแบบราสเตอร์ (raster) โดยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ จาก

               ผลการค านวณค่าการสูญเสียดินนั้นสามารถน ามาจัดชั้นความรุนแรงของการสูญเสียดิน ท าให้ทราบถึง
               ขอบเขตของพื้นที่มีปัญหา เนื่องจากการสูญเสียดินเพื่อเป็นแนวทางในการวางแผนอนุรักษ์ดินและน้ าใน

               พื้นที่ต่อไป
   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39