Page 28 - แผนบริหารจัดการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและฟื้นฟูพื้นที่เกษตรกรรมด้วยระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ ลุ่มน้ำห้วยศาลจอด อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร
P. 28

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                          12


                                (1) การปฏิบัติงานก่อนออกสนาม

                                - การแปลข้อมูลในแผนที่ภาพถ่ายออร์โธสีเชิงเลข เพื่อก าหนดขอบเขตพื้นที่โครงการ
               ถนน เส้นทางน้ า การใช้ที่ดิน ลักษณะภูมิประเทศ ความลาดชัน และการชะล้างพังทลายของดิน

                                - การศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ข้อมูลดิน ข้อมูลทางธรณีวิทยา ข้อมูลสภาพภูมิ

               ประเทศ ร่วมกับการแปลข้อมูลในแผนที่ภาพถ่ายออร์โธสีเชิงเลข เพื่อให้ทราบถึงสภาพพื้นที่และวิเคราะห์
               พื้นที่เพื่ออนุมานลักษณะและสมบัติของดินเบื้องต้นในพื้นที่ศึกษา

                                - การเขียนขอบเขตดินเบื้องต้น โดยพิจารณาข้อมูลพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการชะล้าง
               พังทลายของดิน และข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องประกอบการก าหนดจุดเจาะส ารวจดินบนแผนที่ภาพถ่ายออร์

               โธสีเชิงเลข

                                (2) การปฏิบัติงานในภาคสนาม
                                - การเจาะส ารวจดินตามจุดที่ก าหนดไว้ในแผนที่ภาพถ่ายออร์โธสีเชิงเลข หรือใน

               บริเวณพื้นที่ที่มีความแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดเจน โดยใช้สว่านเจาะดินลึก200 เซนติเมตร หรือถึงชั้น
               เชื่อมแข็งหรือแนวสัมผัสชั้นหินพื้น วางเรียงกันตามความลึก เพื่อตรวจศึกษาสมบัติทางเคมีและทาง

               กายภาพของดินทุกจุดด้วยเครื่องมือตรวจวัดภาคสนาม

                                - การบันทึกสภาพแวดล้อมบริเวณพื้นที่ศึกษา ได้แก่ วัตถุต้นก าเนิดดิน ภูมิสัณฐาน
               ความลาดชัน การชะล้างพังทลายของดิน การระบายน้ าของดิน ความสามารถให้น้ าซึมผ่านของดิน ระดับ

               น้ าใต้ดิน สภาพน้ าท่วมขัง พืชพรรณและการใช้ที่ดิน

                                - การศึกษาลักษณะสมบัติดินเพื่อใช้ในการจ าแนกดิน เช่น ความหนาของชั้นดิน เนื้อ
               ดิน สีดิน โครงสร้างของดิน การจัดเรียงตัวของชั้นดิน การยึดตัวของอนุภาคดิน การเคลื่อนย้ายของอนุภาค

               ดินเหนียว ปริมาณการกระจายของรากพืช ค่าปฏิกิริยาดิน ชนิดของชิ้นส่วนหยาบในดิน หรือวัตถุต่างๆ ที่
               พบในชั้นดิน เช่น ก้อนกรวด ลูกรังและเศษหิน เป็นต้น

                                - การจ าแนกดินตามระบบอนุกรมวิธานดิน (Soil Survey Staff, 2014) ในระดับ

               ประเภทของชุดดินและดินคล้าย (phases of soil series or soil variants) เขียนหน่วยแผนที่ดินลงใน
               ภาพถ่ายออร์โธสีพร้อมทั้งปรับแก้ไขขอบเขตของดินในภาพถ่ายออร์โธสีเชิงเลขให้สอดคล้องกับสภาพพื้นที่

               จริงในสนาม
                                - การบันทึกลักษณะดิน สภาพพื้นที่ และเก็บตัวอย่างดินบริเวณที่เป็นตัวแทนของ

               หน่วยแผนที่ดิน ส าหรับน าไปวิเคราะห์หาสมบัติกายภาพและทางเคมี เพื่อประเมินความอุดมสมบูรณ์ของ

               ดิน
                                (3) การจัดท าแผนที่ดิน

                                   การจัดท าแผนที่ดินและสรุปหน่วยแผนที่ทั้งหมดในพื้นที่ลุ่มน้้ำห้วยศำลจอด ใน

               มาตราส่วน 1: 25,000
   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33