Page 33 - แผนบริหารจัดการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและฟื้นฟูพื้นที่เกษตรกรรมด้วยระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ ลุ่มน้ำห้วยศาลจอด อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร
P. 33
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
17
ต้นทุนคงที่ เป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นแก่เกษตรกร ถึงแม้จะไม่ได้ท าการผลิตพืช
เนื่องจากค่าใช้จ่ายประเภทนี้จะไม่เปลี่ยนแปลงไปตามปริมาณการผลิตพืช เช่น ค่าเช่าที่ดินที่ใช้ในการปลูก
พืชค่าภาษีที่ดินซึ่งต้องเสียทุกปี ไม่ว่าที่ดินผืนนั้นจะใช้ประโยชน์ในปีนั้น ๆ หรือไม่ก็ตาม
- การวิเคราะห์ผลตอบแทนการลงทุน มีวิธีการค านวณ ดังนี้
ผลตอบแทนเหนือต้นทุนทั้งหมด = ผลต่างระหว่างมูลค่าผลผลิตทั้งหมดกับต้นทุนทั้งหมด
- อัตราส่วนผลตอบแทนต่อต้นทุนทั้งหมด (Benefit-cost Ratio: B/C Ratio)เป็น
การวิเคราะห์ผลตอบแทนทางการเงิน เพื่อใช้ในการตัดสินใจในการลงทุนว่าควรจะลงทุนในการผลิตหรือไม่
เป็นการวิเคราะห์อัตราส่วนเปรียบเทียบมูลค่าปัจจุบันเฉลี่ยต่อไร่ของผลตอบแทนกับต้นทุนทั้งหมดตลอด
ช่วงปีที่ท าการผลิต โดยเกณฑ์ที่ใช้ในการตัดสินใจเลือกลงทุนในโครงการใด ๆ คือ B/C Ratio ที่มีค่า
มากกว่าหรือเท่ากับ 1 ถ้า B/C Ratio มากกว่า 1 หมายความว่า ผลตอบแทนที่ได้รับจากการผลิตพืช
มากกว่าค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนที่เสียไป หรือถ้า B/C Ratio เท่ากับ 1 หมายความว่า ผลตอบแทนที่ได้รับจาก
การผลิตพืชเท่ากับค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนที่เสียไปพอดี
การประเมินการชะล้างพังทลายของดินในพื้นที่โครงการฯโดยอาศัยสมการการสูญเสียดินสากล
(Universal Soil Loss Equation, USLE) (Wischmeier and Smith, 1965) ซึ่งสมการนี้ถูกพัฒนาขึ้นมา
เพื่อใช้ประเมินการชะล้างพังทลายของดินในพื้นที่เกษตร และเป็นการชะล้างพังทลายของดินที่เกิดจาก
การกระท าของน้ า ไม่รวมถึงการชะล้างพังทลายที่เกิดจากลม ดังสมการ
A = RKLSCP
สมการดังกล่าวพิจารณาการชะล้างพังทลายของดินจากการตกกระทบของเม็ดฝน (raindrop
erosion) และแบบแผ่น (sheet erosion) ไม่ครอบคลุมถึงการชะล้างพังทลายแบบริ้ว (rill erosion)และ
แบบร่อง (gully erosion) (Wischmeier and Smith, 1965) ซึ่งปัจจัยที่น ามาพิจารณาในสมการได้แก่
ปริมาณน้ าฝน ความแรงของน้ าฝน ลักษณะของดิน ลักษณะของพืชคลุมดิน สภาพของพื้นที่และมาตรการ
ระบบอนุรักษ์ดินและน้ า รายละเอียดแต่ละปัจจัยที่เกี่ยวข้องดังนี้
1) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับฝน (erosivity factor:R) เป็นค่าความสัมพันธ์ของพลังงานจลน์ของเม็ดฝน
ที่ตกกระทบผิวหน้าดินกับปริมาณความหนาแน่นของฝนในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งความสัมพันธ์นี้ได้มีผู้
ศึกษาและน ามาประยุกต์ใช้อย่างกว้างขวาง (มนู และคณะ, 2527 และ Kunta, 2009) ในการศึกษานี้ได้
น าค่าสหสัมพันธ์ระหว่างค่าปัจจัยการกัดกร่อนของฝนสอดคล้องตามวิธีการของ Wischmeier (กรมพัฒนา
ที่ดิน, 2545; มนู และคณะ, 2527) มาวิเคราะห์ร่วมกับข้อมูลปริมาณน้ าฝนเฉลี่ยรายปี (average annual
rainfall) ในช่วงระยะเวลา 30 ปี (พ.ศ. 2531-2561) ได้ค่าปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับฝนส าหรับพื้นที่โครงการฯ