Page 18 - นวปฏิบัติตามความสมัครใจเพื่อการจัดการดินอย่างยั่งยืน (Voluntary Guidelines for Sustainable Soil Management) : แปลจากเอกสารเผยแพร่ เรื่อง "Revised World Soil Chartar" ขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization (FAO) of the United Nations)
P. 18

10  Voluntary Guidelines for Sustainable Soil Management


                       3.4 การป้องกัน ลด และบรรเทาการเกิดความเค็มและการเป็นด่างของดิน

                       ความเค็มในดินเกิดจากการสะสมของเกลือที่ละลายน้ำได้ ได้แก่ โซเดียม แมกนีเซียม และแคลเซียมในดิน ซึ่งเป็นผล
               มาจากการที่ดินมีอัตราการคายระเหยที่สูง การรุกล้ำของน้ำทะเล และกระบวนการต่างๆ ที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ (เช่น

               การชลประทานที่ไม่เหมาะสม) ซึ่งการเกิดความเค็มในดินจะทำให้ผลผลิตพืชลดลง
                   •  ควรมีมาตรการคลุมดินเพื่อลดการสูญเสียน้ำโดยกระบวนการระเหย


                   •  ควรเพิ่มประสิทธิภาพของการใช้น้ำชลประทานด้วยการปรับปรุงระบบการขนส่งน้ำ

                   •  สำหรับการปล่อยน้ำและวิธีการกระจายน้ำเข้าแปลง ควรใช้วิธีการปล่อยน้ำที่ใช้ความดันต่ำและปล่อยน้ำเข้าสู่ดิน
                       โดยตรง ไม่ควรใช้ระบบการฉีดพ่นเหนือทรงพุ่มพืชเพื่อลดการสูญเสียของน้ำจากการระเหย

                   •  ควรมีการจัดการด้านชลประทานเพื่อรักษาน้ำให้เพียงพอสำหรับการเจริญเติบโตของพืชและควรมีการระบายน้ำ
                       อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการเกิดความเค็มในดิน

                   •  ควรตรวจสอบคุณภาพน้ำชลประทานอย่างต่อเนื่อง โดยหากเป็นไปได้ ควรดำเนินการแยกเกลือออกจากน้ำ

                   •  ควรติดตั้งและบำรุงรักษาระบบระบายน้ำบนผิวดินและในชั้นดินเพื่อควบคุมระดับน้ำใต้ดินและควบคุมความเค็มของ

                       ดิน โดยการออกแบบระบบเหล่านี้จะต้องอยู่บนพื้นฐานความเข้าใจเกี่ยวกับความสมดุลของน้ำในพื้นที่นั้นๆ

                   •  หากดินเสื่อมโทรมจนไม่สามารถใช้วิธีการป้องกันได้ ควรใช้มาตรการฟื้นฟูดินเค็ม ซึ่งสามารถทำได้โดยใช้เทคนิคที่
                       หลากหลาย เช่น การล้างเกลือในดิน การปลูกพืชทนเค็ม การเพาะปลูกพืชพื้นเมืองที่ใช้ระบบการเกษตรเชิงอภิบาล
                       การใช้สารเคมีและอินทรีย์ เป็นต้น



                       3.5 การป้องกันและบรรเทาการปนเปื้อนในดิน

                       นอกจากดินจะทำหน้าที่เป็นตัวกรอง ปรับปรุง และทำให้เป็นกลางแล้ว เมื่อสมบัติของดินมีการเปลี่ยนแปลงก็จะ

               สามารถปล่อยสารพิษที่ยึดติดไว้ออกมาได้ (เช่น การปล่อยโลหะหนักเมื่อ pH ดินลดลง) ดังนั้น การป้องกันการปนเปื้อนของ
               ดินจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการรักษาสุขภาพดินและความปลอดภัยของอาหารตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

                       สารพิษสามารถปนเปื้อนในดินได้ โดยมีที่มาจากหลากหลายแหล่ง ได้แก่ ปัจจัยการผลิตทางการเกษตร การใช้วัสดุ
               ปรับปรุงดินต่างๆ การทับถมของสารจากชั้นบรรยากาศ น้ำท่วมและการชลประทาน การรั่วไหลของสารพิษต่างๆ การจัดการ
               ขยะและน้ำเสียที่ไม่เหมาะสม เป็นต้น การสะสมและปนเปื้อนในดินจะเกิดขึ้นหากอัตราการปนเปื้อนสูงเกินอัตราความสามารถ

               ในการกำจัดของดิน ทั้งนี้อาจเกิดผลกระทบเชิงลบที่ตามมา ได้แก่ ความเป็นพิษต่อพืชและการลดลงของผลิตภาพการผลิต
               การปนเปื้อนของน้ำและพื้นที่ภายนอกผ่านการเคลื่อนย้ายของตะกอน รวมถึงการเพิ่มความเสี่ยงต่อสุขภาพของมนุษย์และสัตว์
               ผ่านการสะสมในห่วงโซ่อาหาร

                   •  รัฐบาลได้รับการสนับสนุนให้มีการจัดตั้งและดำเนินการตามกฎระเบียบในการลดการสะสมของสารปนเปื้อนให้ต่ำ

                       กว่าระดับที่กำหนด เพื่อปกป้องสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของมนุษย์ และเพื่อความสะดวกในการแก้ไขดินที่
                       ปนเปื้อน

                   •  การจัดการการปนเปื้อนในดินต้องกำหนดระดับมาตรฐานที่มีได้ในดิน  ตามด้วยการทดสอบ  การติดตาม  และ
                       การประเมินระดับสารปนเปื้อน เพื่อระบุพื้นที่ที่มีแนวโน้มว่าจะมีการปนเปื้อนขึ้น การประเมินความเสี่ยงและ

                       การประเมินค่าใช้จ่ายโดยรวม รวมถึงควรปรับใช้แนวทางการแก้ไขเพื่อลดความเสี่ยงต่อมนุษย์และระบบนิเวศ

                   •  การจำแนกดินที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่กระจายมลพิษเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องดำเนินการ และควรให้ความสำคัญต่อ
                       ปริมาณสารปนเปื้อนในดิน ทั้งนี้ เพื่อลดปริมาณสารปนเปื้อนที่มากเกินไปในดินเหล่านี้
   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23