Page 19 - นวปฏิบัติตามความสมัครใจเพื่อการจัดการดินอย่างยั่งยืน (Voluntary Guidelines for Sustainable Soil Management) : แปลจากเอกสารเผยแพร่ เรื่อง "Revised World Soil Chartar" ขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization (FAO) of the United Nations)
P. 19

Voluntary Guidelines for Sustainable Soil Management          11


                   •  ควรมีการเผยแพร่ข้อมูลสถานที่ซึ่งพบปัญหาดินปนเปื้อน ออกสู่สาธารณชน

                   •  ไม่ควรใช้ดินที่มีการปนเปื้อนเพื่อการผลิตอาหารทั้งของมนุษย์และสัตว์

                   •  ควรมีการทดสอบวัสดุปรับปรุงดินที่ได้มาจากน้ำเสียซึ่งผ่านการบำบัดแล้วหรือวัสดุเหลือใช้อื่นๆ อย่างเหมาะสม
                       เพื่อให้แน่ใจว่ามีสารปนเปื้อนในระดับที่ปลอดภัยและมีธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อพืช ตัวอย่างเช่น สารอินทรีย์

                       แปลกปลอม (xenobiotics) ที่สามารถก่อให้เกิดภัยคุกคามร้ายแรงต่อดิน โดยเป็นผลเสียถาวรต่อความอุดมสมบูรณ์
                       ของดินและสุขภาพของมนุษย์

                   •  ควรลดการไหลของออกของน้ำที่ท่วมพื้นที่เพาะปลูกข้าวโดยเฉพาะหลังจากใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีกำจัดแมลงศัตรูพืช
                       เพื่อลดผลกระทบกับพื้นที่ข้างเคียง



                       3.6 การป้องกันและลดการเกิดกรดในดิน
                       ความเป็นกรดของดินในพื้นที่เกษตรกรรมและป่าไม้ซึ่งเกิดจากกิจกรรมมนุษย์ เกิดจากการกำจัดแคตไอออนที่มี

               สมบัติเป็นด่างและการสูญเสียความสามารถของดินในการต้านทานการเปลี่ยนแปลงค่าปฏิกิริยา หรือการเพิ่มขึ้นของไนโตรเจน
               และซัลเฟอร์ (เช่น ปัจจัยการผลิตปุ๋ยพืชตระกูลถั่ว การทับถมของสารพิษจากชั้นบรรยากาศ) ดินที่มีค่าความสามารถใน
               การต้านทานการเปลี่ยนแปลงค่าปฏิกิริยาต่ำและ/หรือมีปริมาณอลูมิเนียมสูงจะพบได้บ่อยโดยเฉพาะเมื่อดินเหล่านั้นมีแร่ธาตุ

               ย่อยสลายง่ายในปริมาณต่ำ (เช่น ดินที่มีการย่อยสลายสูง ดินที่มีพัฒนาการมานาน และดินที่พัฒนาจากวัตถุต้นกำเนิดดินพวก
               ควอตซ์)

                    •  ตรวจสอบความเป็นกรดของดินและลดความเป็นกรดบนผิวดินรวมทั้งในชั้นดินให้เหลือน้อยที่สุดด้วยการใช้วิธีการ
                        ที่เหมาะสม (เช่น วัสดุปูน ยิปซั่ม และเถ้า เป็นต้น)

                    •  ใช้ปุ๋ยเคมีและวัสดุปรับปรุงดินอินทรีย์อย่างสมดุล

                    •  ใช้ปุ๋ยที่มีฤทธิ์ก่อให้เกิดกรดในดินอย่างเหมาะสม




                       3.7 การรักษาและเสริมสร้างความหลากหลายทางชีวภาพของดิน
                       ดินเป็นแหล่งที่มีความหลากหลายทางชีวภาพซึ่งใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งบนโลก นอกจากนี้สิ่งมีชีวิตในดินยังมีบทบาท

               สำคัญต่อการบริการเชิงนิเวศ ในปัจจุบันถึงแม้ความรู้ทางด้านความหลากหลายทางชีวภาพในการรักษาหน้าที่หลักของดินยังคง
               มีข้อจำกัด แต่เทคโนโลยีที่ทันสมัยสำหรับการศึกษาทางชีวเคมีและการวิเคราะห์ดีเอ็นเอได้ชี้ให้เห็นว่าความก้าวหน้าทางด้าน
               ความรู้เหล่านี้ยังคงมีความจำเป็นในการศึกษาต่อยอดในอนาคต

                   •  ควรดำเนินการติดตามและศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพของดินรวมถึงตัวบ่งชี้ทางชีวภาพ (เช่น พิษวิทยาเชิง

                       นิเวศของชุมชน) และสัญญาณเตือนภัยล่วงหน้า

                   •  ระดับของอินทรียวัตถุในดินที่สนับสนุนความหลากหลายทางชีวภาพของดินควรได้รับการดูแลรักษาหรือปรับปรุง
                       ให้ดีขึ้นด้วยการคุ้มครองพืชให้มีในปริมาณที่เพียงพอ (เช่น การปลูกพืชคลุมดิน การปลูกพืชหลายชนิด เป็นต้น)
                       การใช้ธาตุอาหารอย่างเหมาะสม การใช้วัสดุอินทรีย์ที่หลากหลาย การลดการรบกวนดิน การลดกรรมวิธีที่ทำให้เกิด
                       การสะสมเกลือ และการรักษาพืชพรรณ เช่น แถบพุ่มไม้และแนวกำบังต้นไม้


                   •  การอนุญาตและการใช้สารกำจัดศัตรูพืชในระบบการเกษตรควรเป็นไปตามคำแนะนำที่ระบุไว้ในจรรยาบรรณการใช้
                       สารกำจัดศัตรูพืชและระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้องของประเทศ  และควรส่งเสริมให้มีการจัดการศัตรูพืชแบบ
                       ผสมผสานหรือแบบอินทรีย์
   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24