Page 14 - นวปฏิบัติตามความสมัครใจเพื่อการจัดการดินอย่างยั่งยืน (Voluntary Guidelines for Sustainable Soil Management) : แปลจากเอกสารเผยแพร่ เรื่อง "Revised World Soil Chartar" ขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization (FAO) of the United Nations)
P. 14

6  Voluntary Guidelines for Sustainable Soil Management


                   •  ส่งเสริมสิทธิในการครอบครองที่ดินที่ปลอดภัยตาม VGGT

                              การจัดการดินอย่างยั่งยืนได้รับผลกระทบจากสิทธิในการครอบครองที่ดิน  โดยสิทธิในการเข้าถึงและ
                       การครอบครองเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับการจัดการดินอย่างยั่งยืนว่าจะมีการดำเนินการอย่างเหมาะสมโดยผู้ใช้ที่ดิน

                       และเพื่อทำให้มีการวางแผนระยะยาว

                   •  ส่งเสริมและเสริมสร้างการวิจัยเกี่ยวกับดิน

                              มีความจำเป็นอย่างมากที่จะต้องเพิ่มงานวิจัยทางด้านดิน เพื่อให้สถาบันวิจัยระดับชาติและพันธมิตรได้
                       ทำงานร่วมกับผู้ใช้ที่ดิน ทั้งนี้เพื่อระบุและหามาตรการแก้ไขข้อจำกัดที่ต้องเผชิญในการเพิ่มนิเวศบริการที่เกี่ยวเนื่อง
                       กับดิน (เช่น ผลิตภาพของดิน)

                   •  ป้องกันหรือบรรเทาการเสื่อมโทรมของดินและฟื้นฟูดินที่เสื่อมโทรม

                              การเสื่อมโทรมของดินจะลดลงหากปฏิบัติตามแนวทางการจัดการดินอย่างยั่งยืน  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง

                       การดำเนินงานด้วยมาตรการอนุรักษ์ดินที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าประสบความสำเร็จ รวมทั้งการให้ความสำคัญต่อ
                       การฟื้นฟูสภาพดินและ/หรือการกู้คืนดินให้กลับมามีศักยภาพการผลิตอีกครั้งทั้งในการเกษตรที่มีชื่อเสียงในอดีตหรือ
                       แม้กระทั่งระบบการผลิตอื่นๆ ที่กำลังถูกคุกคาม

                   •  ส่งเสริมโปรแกรมการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ

                              หากมึความเหมาะสม ควรสร้างความเข้มแข็งในการศึกษาเกี่ยวกับทรัพยากรดิน (ทั้งแบบเป็นทางการและ

                       ไม่เป็นทางการ) ซึ่งอาจเริ่มด้วยการสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของทรัพยากรดินในหลักสูตรการศึกษาของ
                       โรงเรียนและขยายไปสู่ระดับที่สูงยิ่งขึ้น นอกจากนี้การพัฒนาขีดความสามารถของการจัดการดินอย่างยั่งยืนควร
                       ได้รับการปรับปรุงเพื่อให้วิธีการและเครื่องมือมีความทันสมัยมากขึ้น

                   •  สร้างความมั่นใจว่าการจัดการดินอย่างยั่งยืนถูกจัดอยู่ในการกระบวนการส่งเสริมการเกษตร

                              การส่งเสริมด้านการเกษตรควรสนับสนุนหลักการและแนวทางปฏิบัติของการจัดการดินอย่างยั่งยืน

                   •  ก่อตั้ง/ เสริมความเข้มแข็งของระบบข้อมูลสารสนเทศทางดิน

                              ข้อมูลและสารสนเทศด้านดิน (รวมถึงความรู้ในท้องถิ่น) เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการทำความเข้าใจสมบัติ

                       สถานะ และหน้าที่ของดิน รวมทั้งการประเมินสถานภาพของสิ่งมีชีวิตในดิน ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องดำเนินการในเบื้องต้น
                       ก่อนการวางแผนการจัดการดินอย่างยั่งยืน ทั้งนี้หากมีความเหมาะสม ควรก่อตั้งหรือสร้างความเข้มแข็งของระบบ
                       สารสนเทศดินแห่งชาติ เพื่อให้มีความสามารถในการตรวจสอบสภาพดินในพื้นที่ได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยระบบ

                       สารสนเทศดินนี้จะช่วยสนับสนุนระบบสารสนเทศดินโลกที่กำลังได้รับการส่งเสริมจากกลุ่มสมัชชาความร่วมมือ
                       ทรัพยากรดินโลก

                   •  ส่งเสริมความร่วมมือ/ การทำงานร่วมกันด้านดินระดับนานาชาติ

                              ความร่วมมือทางด้านดินระดับนานาชาติควรส่งเสริมการแลกเปลี่ยนความรู้ เทคโนโลยีและสารสนเทศ
                       ข้อตกลง/ความร่วมมือ เช่น ความร่วมมือ“North-South”“ South-South” และ“Triangular” ที่สามารถนำมา
                       ประยุกต์ใช้ได้


                   •  ส่งเสริมการสื่อสารเผยแพร่แนวปฏิบัติของการจัดการดินอย่างยั่งยืน

                              การจัดการดินอย่างยั่งยืนควรได้รับการส่งเสริมและเผยแพร่ในมุมมองต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับนิเวศบริการที่
                       สำคัญ ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายของปีสากลของดิน พ.ศ. 2558
   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19