Page 13 - นวปฏิบัติตามความสมัครใจเพื่อการจัดการดินอย่างยั่งยืน (Voluntary Guidelines for Sustainable Soil Management) : แปลจากเอกสารเผยแพร่ เรื่อง "Revised World Soil Chartar" ขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization (FAO) of the United Nations)
P. 13

Voluntary Guidelines for Sustainable Soil Management          5


               2. ความท้าทายในการบรรลุเป้าหมายการจัดการดินอย่างยั่งยืน

                       ดินมีสมบัติทางเคมี กายภาพ และชีวภาพที่หลากหลาย เป็นผลให้การตอบสนองของดินต่อการจัดการความสามารถ
               ในการให้บริการระบบนิเวศ รวมทั้งความต้านทานต่อการรบกวนและความเสี่ยงต่อการเสื่อมโทรมมีความแตกต่างกันไป

               จากรายงานสถานะของทรัพยากรดินโลกระบุว่า  ภัยคุกคามสำคัญที่ขัดขวางความสำเร็จของการจัดการดินอย่างยั่งยืน
               มี 10 ประการ ประกอบด้วย 1) การชะล้างพังทลายของดินโดยน้ำและลม 2) การสูญเสียอินทรีย์คาร์บอนในดิน 3) ความไม่
               สมดุลของธาตุอาหารในดิน 4) การเกิดดินเค็ม 5) การปนเปื้อนของดิน 6) สภาพดินเป็นกรด 7) การสูญเสียความหลากหลาย

               ทางชีวภาพของดิน  8) การปิดทับหน้าดิน 9) การอัดแน่นของดิน และ 10) การท่วมขังของน้ำ  ภัยคุกคามเหล่านี้จะมี
               ความแตกต่างกันไปทั้งในแง่ของความรุนแรงและแนวโน้มการเกิด  ซึ่งขึ้นอยู่กับบริบททางภูมิศาสตร์ และจำเป็นจะต้องมี
               การแก้ไขปรับปรุงเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการจัดการดินอย่างยั่งยืน

                       การจัดการดินอย่างยั่งยืนจะเป็นส่วนสำคัญในการจัดการความท้าทายระดับโลก และทำให้บรรลุข้อตกลงระดับ
               นานาชาติ ซึ่งรวมถึง:


                   •  วาระการพัฒนาอย่างยั่งยืนปี พ.ศ. 2573 ซึ่งการจัดการดินอย่างยั่งยืนมีผลทั้งทางตรงและทางอ้อม ในการบรรลุ
                       จุดมุ่งหมายและเป้าหมายที่กำหนดร่วมกัน
                   •  การขจัดความหิวโหย (เพื่อยุติความหิวโหยและการขาดสารอาหาร และการรับรองความมั่นคงทางอาหารสำหรับ
                       ประชากรที่เพิ่มขึ้น)

                   •  การปรับตัวและการบรรเทาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความตกลงปารีส  (the Paris
                       Agreement) ที่ได้รับการรับรองที่ UNFCCC COP21 ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นอย่างแรงกล้าในการแก้ไข
                       ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและให้การเกษตรมีบทบาทสำคัญในกระบวนการแก้ไขปัญหา

                   •  ความมุ่งมั่นที่จะต่อสู้กับการแปรสภาพเป็นทะเลทรายและลดผลกระทบจากภัยแล้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งความมุ่งมั่น
                       เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการลดความเสื่อมโทรมของที่ดิน โดยคำนึงถึงประโยชน์ที่อาจเกิดขึ้นกับทุกภาคส่วน
                       ตามแนวทาง UNCCD COP12
                   •  เป้าหมายของ Aichi ซึ่งให้ความสำคัญกับการรักษาความหลากหลายทางชีวภาพและการให้บริการของระบบนิเวศ

                   •  การประกันการถือครองที่ดินภายใต้แนวปฏิบัติการกำกับดูแลที่รับผิดชอบต่อการครอบครองที่ดิน การประมง และ
                       ป่าไม้ตามความสมัครใจในบริบทของความมั่นคงทางอาหารแห่งชาติ (VGGT)

                       สิ่งสำคัญในการส่งเสริมการจัดการดินอย่างยั่งยืน โดยบูรณาการประเด็นข้อตกลงระดับนานาชาติ (ดังที่กล่าวมาแล้ว
               ด้านบน) ร่วมด้วย มีแนวทางการดำเนินงานหลักๆ ดังต่อไปนี้

                   •  สร้างเสริมความแข็งแกร่งให้กับนโยบายด้านการเกษตร/ สิ่งแวดล้อมที่ครอบคลุมการจัดการดินอย่างยั่งยืน

                              หากมีความเหมาะสม ควรมีการเชื่อมโยงนโยบายที่ครอบคลุมเพื่อส่งเสริมการจัดการดินอย่างยั่งยืนกับ

                       นโยบายด้านการเกษตรและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้การดำเนินงานสร้างประโยชน์ที่หลากหลายมากขึ้น หากมีนโยบาย
                       เหล่านี้อยู่แล้ว จะต้องมีการทบทวนนโยบายตามความเหมาะสมเพื่อบูรณาการร่วมกับการจัดการดินอย่างยั่งยืนอย่าง

                       แท้จริง
                   •  เพิ่มการลงทุนที่มีความรับผิดชอบและผลักดันสิ่งจูงใจเพื่อส่งเสริมการจัดการดินอย่างยั่งยืน


                              ห า ก มีความเหมาะสม ควรเพิ่มการลงทุนที่มีความรับผิดชอบในการจัดการดินอย่างยั่งยืนตามหลัก
                       การลงทุนที่มีความรับผิดชอบในระบบเกษตรและอาหาร (CFS-RAI) และควรให้สิ่งจูงใจแก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่
                       ปฏิบัติตามหลักการการจัดการดินอย่างยั่งยืน ในขณะเดียวกันก็ตระหนักถึงคุณค่าของนิเวศบริการ
   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18