Page 17 - นวปฏิบัติตามความสมัครใจเพื่อการจัดการดินอย่างยั่งยืน (Voluntary Guidelines for Sustainable Soil Management) : แปลจากเอกสารเผยแพร่ เรื่อง "Revised World Soil Chartar" ขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization (FAO) of the United Nations)
P. 17

Voluntary Guidelines for Sustainable Soil Management          9


                       การขาดธาตุอาหารพื้นฐานทำให้การพัฒนาผลผลิต และคุณค่าทางโภชนาการของพืชลดลง ในทางกลับกันหากในดิน
               มีธาตุอาหารที่มากเกินไป จะทำให้เกิด ก) การสูญเสียธาตุอาหารส่วนเกิน (โดยเฉพาะไนโตรเจนและฟอสฟอรัส) จากพื้นที่

               การเกษตร ซึ่งทำให้เกิดปรากฏการณ์ยูโทรฟิเคชั่น (eutrophication) และ การเสื่อมคุณภาพของน้ำและระบบนิเวศของโลก
               ข) การเพิ่มการปลดปล่อยก๊าซไนตรัสออกไซด์จากดินสู่บรรยากาศ ค) การชะล้างไนโตรเจน (ที่สามารถเคลื่อนย้ายได้) ลงสู่
               แหล่งน้ำที่ใช้สำหรับอุปโภคบริโภค ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์ และ ง) ความล้มเหลวในการผลิตพืช

                   •  ความอุดมสมบูรณ์ของดินและการหมุนเวียนธาตุอาหารตามธรรมชาติควรได้รับการปรับปรุงและบำรุงด้วยการรักษา
                       หรือปรับปรุงปริมาณอินทรีย์วัตถุในดิน ซึ่งมาตรการอนุรักษ์ดินที่สามารถปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์ของดินให้ดีขึ้น

                       ได้ ประกอบด้วย การใช้พืชหมุนเวียนกับพืชตระกูลถั่ว การใช้ปุ๋ยพืชสดและปุ๋ยคอก และการใช้พืชคลุมดินร่วมกับ
                       การลดการไถพรวนหรือไม่ไถพรวนและไม่ใช้สารกำจัดวัชพืช รวมถึงการใช้มาตรการวนเกษตร โดยการหมุนเวียน
                       ของธาตุอาหารนั้นจะเกิดขึ้นได้ดีในระบบเกษตรผสมผสาน เช่น ระบบการปลูกพืชปศุสัตว์ หรือระบบการปลูกพืช

                       ปศุสัตว์และป่าไม้ร่วมกัน

                   •  ประสิทธิภาพการใช้ธาตุอาหารควรได้รับการจัดการอย่างเหมาะสมด้วยการใช้มาตรการต่างๆ เช่นการปรับสมดุลของ
                       ดินโดยใช้วัสดุอินทรีย์และอนินทรีย์ (เช่น ปุ๋ยหมักและวัสดุปูนทางการเกษตร) และ/หรือการใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็น
                       นวัตกรรม (เช่น ปุ๋ยที่ปลดปล่อยธาตุอาหารอย่างช้าและควบคุมได้) รวมถึงการใช้ธาตุอาหารซ้ำหรือการนำธาตุ

                       อาหารกลับมาใช้ใหม่

                   •  วิธีการ ประเภท อัตรา และระยะเวลาการใช้ปุ๋ยควรมีความเหมาะสมเพื่อลดการสูญเสีย และส่งเสริมสมดุลการดูดใช้
                       ธาตุอาหารของพืช ทั้งนี้ควรพิจารณาบนพื้นฐานของข้อมูลดินและพืช รวมทั้งควรดำเนินการในระยะยาวมากกว่า
                       การกระทำในระยะเวลาสั้นๆ

                   •  ในช่วงที่วางแผนการปรับปรุงดิน ควรพิจารณาการเพิ่มธาตุอาหารรองในดินร่วมด้วย

                   •  ใช้แหล่งธาตุอาหารพืชที่มีความเหมาะสม ได้แก่ การใช้วัสดุอินทรีย์และอนินทรีย์ ปุ๋ยเคมี และผลิตภัณฑ์ชีวภาพทาง

                       การเกษตรอย่างแม่นยำและเหมาะสม ซึ่งวัสดุเหล่านี้รวมถึงปุ๋ยคอก (ในรูปของเหลว กึ่งเหลวกึ่งแข็ง หรือของแข็ง)
                       เศษซากพืช ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด ขยะในครัวเรือน วัสดุเถ้าที่เกิดขึ้นระหว่างการผลิตพลังงานชีวภาพ วัสดุปรับปรุงดิน
                       และจุลินทรีย์ต่างๆ เป็นต้น ซึ่งมาตรการดังกล่าวเหล่านี้ควรดำเนินการควบคู่กับมาตรการอื่นๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ
                       ของธาตุอาหารพืช ทั้งนี้ควรให้ความมั่นใจว่ามาตรการเหล่านี้ถูกใช้อย่างปลอดภัย (เช่น ใช้ในระดับที่เหมาะสม

                       ไม่ก่อให้เกิดสารปนเปื้อนและมลพิษที่กระทบต่อสุขภาพของผู้ปฏิบัติงาน)

                   •  ควรมีการทดสอบดินและพืช รวมทั้งการประเมินผลจากภาคสนาม เพื่อเป็นแนวทางในการวินิจฉัยและแก้ไขข้อจำกัด
                       ในการผลิตพืชที่สัมพันธ์กับธาตุอาหารของพืช ความเค็มของดิน และสภาพความเป็นกรดด่างที่สูง-ต่ำเกินไป แนวทาง
                       ดังกล่าวเหล่านี้จะเป็นกุญแจสำคัญในการตัดสินใจอย่างชาญฉลาดและติดตามความก้าวหน้าในการจัดการดิน


                   •  หากมีความเหมาะสม ควรมีการจัดการด้านปศุสัตว์และการเลี้ยงสัตว์โดยปล่อยให้มีการแทะเล็มตามธรรมชาติในทุ่ง
                       หญ้า เพื่อให้การทับถมของมูลสัตว์และปัสสาวะเกิดขึ้นอย่างเหมาะสมในพื้นที่

                   •  การใช้วัสดุปูนทางการเกษตรในพื้นที่ดินกรดจะต้องพิจารณาถึงประสิทธิภาพสูงสุด การใช้ธาตุอาหาร ในขณะที่
                       การใช้วัสดุอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยหมัก ควรพิจารณาใช้ในพื้นที่ดินด่างหรือดินอื่นๆ

                   •  ควรจัดสรรแร่ธาตุอาหารที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เช่น หินฟอสเฟตหรือแร่โพแตช อย่างมีประสิทธิภาพและมีกลยุทธ์
                       เพื่อให้เพียงพอสำหรับการใช้ประโยชน์อนาคต
   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22