Page 20 - นวปฏิบัติตามความสมัครใจเพื่อการจัดการดินอย่างยั่งยืน (Voluntary Guidelines for Sustainable Soil Management) : แปลจากเอกสารเผยแพร่ เรื่อง "Revised World Soil Chartar" ขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization (FAO) of the United Nations)
P. 20

12  Voluntary Guidelines for Sustainable Soil Management


                   •  หากมีความเหมาะสม ควรส่งเสริมให้มีการใช้พืชตระกูลถั่วเพื่อตรึงไนโตรเจน  รวมทั้งใช้จุลินทรีย์ ไมคอร์ไรซา
                       ไส้เดือนดิน และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์ในดิน (เช่น ด้วง เป็นต้น) ทั้งนี้เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงจากการถูก

                       รบกวนในการบริการเชิงนิเวศของดิน

                   •  ฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพของพืชในระบบนิเวศ ซึ่งจะนำไปสู่ความหลากหลายทางชีวภาพของดินต่อไป

                   •  ควรส่งเสริมการปลูกพืชหมุนเวียน  การปลูกพืชหลายชนิด และการรักษาความสมดุลขั้นต้นของพื้นที่  รวมทั้ง
                       การปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิต

                   •  การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินในพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูงควรมีการวางแผนการใช้ที่ดิน   ซึ่งควร
                       สอดคล้องกับแนวทาง UNCBD, UNCCD และเครื่องมืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในระดับชาติและนานาชาติ



                       3.8 การลดการปิดทับผิวหน้าดิน

                       การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินและการปิดทับผิวหน้าดินจากการก่อสร้าง การตั้งถิ่นฐาน และโครงสร้างพื้นฐานส่งผล

               กระทบต่อดินโดยรวม แต่ประเด็นที่ได้รับความสนใจและกังวลเป็นพิเศษคือผลผลิตภาพของดิน โดยการขยายตัวของชุมชน
               เมืองและการตั้งถิ่นฐานจะส่งผลกระทบต่อผลิตภาพของดินบริเวณรอบๆ นอกจากนี้การปิดทับผิวหน้าดินและการเปลี่ยนแปลง
               การใช้ที่ดินทำให้ดินสูญเสียหน้าที่และนิเวศบริการบางส่วนหรือทั้งหมดอย่างไม่สามารถคืนกลับได้

                   •  การพิจารณาถึงมูลค่าโดยรวมของดินเพื่อให้มั่นใจว่าการอนุรักษ์ดินมีประสิทธิภาพ รวมทั้งควรมีการทบทวนใน

                       ประเด็นต่างๆ ได้แก่ พื้นที่ที่เพาะปลูกได้ นโยบายที่มีอยู่ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง และการวางแผนการใช้ที่ดินเพื่อการตั้ง
                       ถิ่นฐานและโครงสร้างพื้นฐาน

                   •  ในกรณีที่นโยบายและกฎหมายมีจุดมุ่งหมายเพื่อลดการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน ควรส่งเสริมให้มีการใช้พื้นที่ในเมือง
                       หรืออุตสาหกรรมที่มีอยู่เดิมตามความเหมาะสม เช่น พื้นที่ที่ถูกทิ้งร้าง พื้นที่อุตสาหกรรมที่ถูกทิ้งร้าง (Brownfields)
                       รวมทั้งการฟื้นฟูย่านที่เสื่อมโทรม และการฟื้นฟูระบบนิเวศของเหมืองแร่

                   •  ดินที่มีนิเวศบริการที่สำคัญ ได้แก่ ดินที่มีปริมาณคาร์บอนในดินสูง ความหลากหลายทางชีวภาพสูง หรือเหมาะสม

                       ทางการเกษตรสูง ดินเหล่านี้ควรได้รับการปกป้องจากการแปลงการใช้ที่ดินไปเพื่อการตั้งถิ่นฐานและโครงสร้าง
                       พื้นฐานด้วยกฎหมายพิเศษ



                       3.9 การป้องกันและบรรเทาการอัดตัวแน่นของดิน

                       การอัดตัวแน่นของดินมีความสัมพันธ์กับการเสื่อมโทรมของโครงสร้างดิน ซึ่งเกี่ยวเนื่องกับการใช้เครื่องจักรและ

               การเหยียบย่ำของสัตว์จากการปศุสัตว์ การอัดตัวแน่นของดิน ส่งผลให้ลดหรือทำลายความต่อเนื่องของรูพรุนในดิน ลดการ
               ถ่ายเทอากาศโดยการทำลายเม็ดดินและการยุบตัวของความหนาแน่นของรูพรุนขนาดใหญ่ในดิน  ลดความสามารถใน
               การระบายและการแทรกซึมของน้ำ ทำให้เกิดการไหลบ่าของน้ำมากขึ้น นอกจากนี้ยังจำกัดการเจริญเติบโตของรากและ

               การงอกของเมล็ดโดยความต้านทานเชิงกลที่สูง ซึ่งส่งผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพของดินและทำให้เกิดแผ่นแข็ง
               ที่ผิวหน้าดิน

                   •  ควรป้องกันการเสื่อมสภาพของโครงสร้างดินเนื่องจากการไถพรวนที่ไม่เหมาะสมหรือมากเกินไป

                   •  ควรลดปริมาณการใช้ยานยนต์/ เครื่องจักรกลให้เหลือน้อยที่สุดโดยเฉพาะบนพื้นดินว่างเปล่า ด้วยการลดจำนวน
                       และความถี่ของกิจกรรม การสร้างระบบการดำเนินงานที่ควบคุมได้ และการดำเนินการด้านการเกษตร/ ป่าไม้ เมื่อ
                       ความชื้นในดินมีความเหมาะสม
   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25