Page 21 - นวปฏิบัติตามความสมัครใจเพื่อการจัดการดินอย่างยั่งยืน (Voluntary Guidelines for Sustainable Soil Management) : แปลจากเอกสารเผยแพร่ เรื่อง "Revised World Soil Chartar" ขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization (FAO) of the United Nations)
P. 21

Voluntary Guidelines for Sustainable Soil Management          13


                   •  เครื่องจักรและยานยนต์ที่ใช้ในภาคสนามควรปรับให้ตรงกับสมรรถภาพความทนทานของดินและควรติดตั้งระบบ
                       ควบคุมแรงดันลมยางหรือวิธีการอื่นๆ เพื่อลดแรงดันพื้นผิว (เช่น พื้นที่สัมผัส) ทั้งนี้ในระหว่างดำเนินกิจกรรมด้าน

                       ป่าไม้ ควรหลีกเลี่ยงและจำกัดการใช้เครื่องจักรกลหนักและควรใช้เสื่อปูพื้นที่ (brush mats) เพื่อช่วยปกป้องดินที่
                       สัมผัสจากความเสียหายทางกายภาพ ส่วนกิจกรรมในดินทางการเกษตร ควรมีการกำหนดทิศทางการเดินรถ

                   •  ควรเลือกระบบการปลูกพืชที่มีการใช้พืชไร่ หญ้า และพืชในระบบวนเกษตรที่มีรากที่แข็งแรง (ระบบรากที่หนาแน่น
                       และเป็นเส้นใย) เพื่อให้สามารถเจาะชอนไชและสลายดินที่มีการอัดตัวแน่นได้

                   •  ควรรักษาปริมาณอินทรียวัตถุในดินให้เพียงพอ เพื่อปรับปรุงและสร้างความมั่นคงให้กับโครงสร้างดิน

                   •  ควรส่งเสริมกิจกรรมของสิ่งมีชีวิตและจุลินทรีย์ในดิน (โดยเฉพาะอย่างยิ่งเชื้อรา) เพื่อปรับปรุงความพรุนของดิน

                       สำหรับการถ่ายเทอากาศ การซึมผ่านของน้ำ การถ่ายเทความร้อน และการเจริญเติบโตของราก

                   •  ในระบบทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ ควรมีการดูแลพืชคลุมดินให้มีปริมาณเพียงพอเพื่อป้องกันดินจากการเหยียบย่ำและ
                       การพังทลาย โดยควรคำนึงถึงความรุนแรงและช่วงเวลาการเก็บเกี่ยวหญ้า ชนิดของสัตว์ และอัตราการเก็บเกี่ยว



                       3.10 การปรับปรุงระบบการจัดการน้ำในดิน

                       ดินที่มีการจัดการอย่างยั่งยืนจะมีการแทรกซึมของน้ำอย่างรวดเร็ว ปริมาณการกักเก็บน้ำในดินมีความเหมาะสมต่อ
               ความต้องการของพืช และเมื่อดินอิ่มตัวจะมีการระบายน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อการจัดการไม่ได้ตาม

               เงื่อนไขเหล่านี้ ปัญหาน้ำขังและการขาดแคลนน้ำก็จะเกิดขึ้น โดยน้ำขังจะสร้างปัญหาต่อการสร้างระบบรากของพืช เป็น
               สาเหตุให้ผลผลิตพืชลดลง และอาจทำให้เกิดสารปนเปื้อน เช่น สารหนูและเมธิลเมอร์คิวรี่ที่สามารถเคลื่อนย้ายได้ในดิน ในทาง
               กลับกัน การขาดแคลนน้ำ การไหลบ่าของน้ำและการซึมผ่านชั้นดิน อาจทำให้การผลิตพืชล้มเหลวได้

                   •  ในพื้นที่เขตชื้นที่มีฝนตกเกินกว่าการคายระเหย จำเป็นต้องมีระบบการระบายน้ำเพิ่มเติมเพื่อให้การระบายอากาศใน
                       ดินเหมาะสมสำหรับกิจกรรมต่างๆ ของราก เช่น การดูดใช้ธาตุอาหาร เป็นต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในดินเนื้อละเอียด

                       ที่มีความสามารถในการกักเก็บน้ำสูง

                   •  ควรติดตั้งและบำรุงรักษาระบบระบายน้ำผิวดินและในชั้นดินเพื่อควบคุมระดับน้ำใต้ดินที่เพิ่มสูงขึ้น เพื่อบรรเทา
                       การเกิดน้ำขัง

                   •  ควรเพิ่มประสิทธิภาพของการใช้น้ำชลประทานของพืชด้วยการปรับปรุงระบบการกระจายน้ำ การปล่อยน้ำ และ
                       กรรมวิธีการใช้น้ำในแปลงที่เหมาะสม (เช่น การให้น้ำหยดหรือการชลประทานแบบไมโครสเปรย์) ที่ลดการระเหย

                       และการสูญเสียน้ำลงในชั้นดินล่าง รวมถึงการคาดการณ์การกักเก็บน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ ใช้พันธุ์พืชที่เหมาะสม
                       หรือมีตัวเลือกที่หลากหลาย และคำนวณระยะเวลาการกักเก็บน้ำและปริมาณน้ำให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

                   •  ระบบการปลูกพืชในพื้นที่แห้งแล้ง ควรปฏิบัติตามมาตรการที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำ เช่น การจัดการพืช
                       คลุมดิน และเพิ่มการกักเก็บน้ำที่เป็นประโยชน์ในพื้นที่ในช่วงการเพาะปลูกพืช การลดปริมาณน้ำท่าและการระเหย

                       ของน้ำจากพื้นผิวดิน และต้องให้ความมั่นใจว่ามีน้ำเพียงพอในแต่ละขั้นตอนของกระบวนการผลิตพืช อย่างไรก็ตาม
                       มาตรการต่างๆ เหล่านี้มักมีทั้งข้อดีและข้อเสีย จึงควรมีการศึกษาและจัดการความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นอย่างเหมาะสม

                   •  ควรส่งเสริมการใช้น้ำในดินอย่างเหมาะสมโดยการคัดเลือกและปลูกพืชสายพันธุ์ที่เหมาะกับสภาพพื้นที่ และควรมี
                       ปฏิทินการดำเนินงานทางการเกษตรซึ่งสอดคล้องกับแผนการจัดการน้ำ

                   •  ตรวจสอบคุณภาพน้ำชลประทานอย่างสม่ำเสมอเพื่อศึกษาและติดตามปริมาณธาตุอาหารและสารประกอบ ที่อาจ
                       เป็นอันตรายในน้ำ
   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26