Page 23 - นวปฏิบัติตามความสมัครใจเพื่อการจัดการดินอย่างยั่งยืน (Voluntary Guidelines for Sustainable Soil Management) : แปลจากเอกสารเผยแพร่ เรื่อง "Revised World Soil Chartar" ขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization (FAO) of the United Nations)
P. 23

Voluntary Guidelines for Sustainable Soil Management          15


               4. การเผยแพร่ การประยุกต์ใช้ และการประเมิน VGSSM

                       ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมดได้รับการสนับสนุนให้ส่งเสริมและใช้แนวปฏิบัตินี้ตามความสมัครใจ โดยให้เหมาะสมกับ
               กฎระเบียบ ข้อบังคับ ความสามารถ และบริบทของประเทศ ซึ่งการใช้แนวปฏิบัตินี้ให้ประสบความสำเร็จนั้นจำเป็นต้องมี

               การดำเนินการหลากหลายวิธี รวมทั้งต้องคำนึงถึงประเด็นการมีส่วนร่วมและรวบรวมผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากหลากหลายกลุ่ม
               ความอ่อนไหวทางเพศสภาพ มาตรการประหยัดและยั่งยืน และการใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่อิงหลักฐานเชิงประจักษ์
               รวมทั้งภูมิปัญญาท้องถิ่นตามความเหมาะสม

                       หน่วยงานภาครัฐมีหน้าที่รับผิดชอบหลักในการดำเนินนโยบายเพื่อบรรลุความมั่นคงด้านอาหาร และโภชนาการของ

               ประชาชน โดยมีแนวปฏิบัติดังนี้:

                   •  เป็นผู้นำในการส่งเสริมการใช้และการประเมิน VGSSM
                   •  จัดทำระบบและกรอบงานที่เกี่ยวข้องตามความเหมาะสมเพื่อดำเนินการในระดับท้องถิ่น  ระดับชาติและระดับ
                       ภูมิภาค หรือใช้สิ่งอำนวยความสะดวกที่มีอยู่เพื่อส่งเสริมแนวปฏิบัติเหล่านี้

                   •  สนับสนุนแนวทางการส่งเสริมที่มีประสิทธิภาพซึ่งต้องอาศัยการวิจัยและสถาบันการศึกษาร่วมด้วย รวมทั้งบูรณาการ
                       การจัดการดินอย่างยั่งยืนในกิจกรรมต่างๆ ของประเทศ
                   •  ประเมินการใช้งานและผลกระทบของการจัดการดินต่อความมั่นคงด้านอาหาร การบริการเชิงนิเวศของดินและ
                       การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน


                       นอกจากนี้ ภาครัฐอาจแสวงหาการสนับสนุนทางวิชาการจาก FAO หรือองค์กรระหว่างประเทศและภูมิภาคอื่นๆ
               ตามความเหมาะสม เพื่อเป็นเครื่องมือในการเผยแพร่และส่งเสริมการใช้ VGSSM นี้

                   หน่วยงานของสหประชาชาติ และองค์กรระหว่างประเทศอื่นๆ มีแนวทางการปฏิบัติดังนี้:

                   •  สนับสนุนการเผยแพร่และการดำเนินงานตามแนวปฏิบัตินี้
                   •  อำนวยความสะดวกในด้านความร่วมมือทางวิชาการ การช่วยเหลือทางการเงิน การพัฒนาศักยภาพ การแบ่งปัน
                       ความรู้ และการถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมการจัดการดินอย่างยั่งยืน


                   สำหรับผู้มีส่วนได้เสียอื่นๆ มีแนวปฏิบัติดังนี้:
                   •  องค์กรเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการจัดการดินควรส่งเสริมการใช้แนวปฏิบัตินี้โดยเน้นการจัดการความเสี่ยงเพื่อให้เกิด

                       ประโยชน์สูงสุดและลดผลกระทบเชิงลบต่อการจัดการดินอย่างยั่งยืนที่เกี่ยวข้องกับบริบทและสถานการณ์ของ
                       องค์กร
                   •  องค์กรภาคประชาสังคมที่เกี่ยวข้องกับการจัดการดินควรบูรณาการแนวทางนี้เข้ากับนโยบายและโครงการของ

                       องค์กร สนับสนุนการใช้แนวปฏิบัตินี้อย่างเหมาะสม และช่วยในการเสริมสร้างขีดความสามารถของสมาชิกองค์กร
                       เพื่อสนับสนุนการจัดการดินอย่างยั่งยืน
                   •  หน่วยงานวิจัย มหาวิทยาลัย สถาบันการศึกษา องค์กรและ/หรือโครงการต่างๆ ควรส่งเสริมการบูรณาการ

                       แนวปฏิบัตินี้ในนโยบายของตนเองและอำนวยความสะดวกในการแลกเปลี่ยนความรู้และการพัฒนาทักษะเพื่อ
                       สนับสนุนการจัดการดินอย่างยั่งยืน
   18   19   20   21   22   23   24   25   26