Page 16 - นวปฏิบัติตามความสมัครใจเพื่อการจัดการดินอย่างยั่งยืน (Voluntary Guidelines for Sustainable Soil Management) : แปลจากเอกสารเผยแพร่ เรื่อง "Revised World Soil Chartar" ขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization (FAO) of the United Nations)
P. 16

8  Voluntary Guidelines for Sustainable Soil Management


               ออกสู่ชั้นบรรยากาศ ในทางกลับกัน การใช้ที่ดินและการจัดการดินที่เหมาะสมจะนำไปสู่การเพิ่มขึ้นของอินทรีย์คาร์บอนในดิน
               และปรับปรุงคุณภาพดินซึ่งสามารถลดอัตราการเพิ่มขึ้นของคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศได้

                   •  เพิ่มปริมาณการผลิตมวลชีวภาพ ด้วยการเพิ่มความเป็นประโยชน์ของน้ำสำหรับพืชด้วยมาตรการต่างๆ (เช่น การ

                       ชลประทานโดยใช้ระบบน้ำหยดหรือสปริงเกอร์ขนาดเล็ก การวางแผนการชลประทาน การติดตามและตรวจสอบ
                       ความชื้นดินหรือการสูญเสียน้ำผ่านการคายระเหยของดิน) ที่ทำให้ประสิทธิภาพการใช้น้ำสูงสุด และลดการชะล้าง
                       พังทลายของดินและการสูญเสียของธาตุอาหารในดิน การปลูกพืชปกคลุมพื้นที่ การปรับสมดุลการใช้ปุ๋ยและการใช้
                       ประโยชน์วัสดุอินทรีย์อย่างมีประสิทธิภาพ การปรับปรุงพื้นที่ปลูกพืช การส่งเสริมวนเกษตรและการปลูกพืชสลับ

                       แนว การปลูกป่าและการปล่อยพื้นที่เป็นผืนป่า

                   •  ปกป้องดินที่อุดมด้วยอินทรีย์คาร์บอนในพื้นที่พรุ ป่า ทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ และพื้นที่อื่นๆ

                   •  เพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุด้วยแนวปฏิบัติต่างๆ เช่น การจัดการเศษซากพืช การปล่อยให้สัตว์แทะเล็มในทุ่งหญ้าเลี้ยง
                       สัตว์ การทำเกษตรอินทรีย์ การจัดการความอุดมสมบูรณ์ของดินแบบผสมผสาน การจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน
                       การใช้ปุ๋ยคอกหรือวัสดุของเสียอื่นๆ ที่มีปริมาณคาร์บอนสูง การใช้ปุ๋ยหมัก การคลุมหน้าดินด้วยหญ้าหรือการสร้าง

                       สิ่งปกคลุมหน้าดินถาวร

                   •  ควรหลีกเลี่ยงการเกิดไฟไหม้ ยกเว้นในกรณีที่ไฟเป็นส่วนประกอบสำคัญในการจัดการที่ดิน ในกรณีนี้เวลาและ
                       ความรุนแรงของการเผาไหม้ควรปฏิบัติอย่างเหมาะสมเพื่อจำกัดการสูญเสียหน้าที่ของดิน ในกรณีที่ไฟไหม้เกิดขึ้น
                       ตามธรรมชาติ ควรพิจารณาขั้นตอนตามความเหมาะสมในการลดการชะล้างพังทลายหน้าดินและส่งเสริมการฟื้นฟู

                       พื้นที่ด้วยพืชพรรณหากสามารถดำเนินการได้

                   •  ใช้ประโยชน์จากวัสดุอินทรีย์อย่างเหมาะสม เช่น ปุ๋ยคอกจากมูลสัตว์และของเสียจากมนุษย์ที่ผ่านกระบวนการ
                       แปรรูปอย่างเหมาะสม

                   •  ยอมรับและปรับใช้แนวทางการจัดการต่างๆ เช่น ปลูกพืชคลุมดิน ปลูกพืชในพื้นที่ทิ้งร้าง ลดหรือไม่ไถพรวน หรือ
                       สร้างรั้วมีชีวิตเพื่อสร้างความมั่นใจว่าดินจะมีปริมาณอินทรีย์คาร์บอนที่เพียงพอ

                   •  ลดอัตราการย่อยสลายของอินทรียวัตถุในดินด้วยการลดหรือไม่ไถพรวนดินในขณะที่การใช้สารกำจัดวัชพืชต้องไม่

                       เพิ่มขึ้น

                   •  ปลูกพืชหมุนเวียน พืชตระกูลถั่ว หรือพืชผสมผสาน



                       3.3 การสร้างความสมดุลและการหมุนเวียนธาตุอาหารในดิน

                       แนวคิดความพอเพียงและประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์ประยุกต์ใช้กับพลวัตของธาตุอาหารในดิน-น้ำ-ธาตุอาหาร-
               รากพืชที่สัมพันธ์ต่อเนื่องกัน ปริมาณธาตุอาหารพืชควรขึ้นอยู่กับความต้องการของพืช คุณลักษณะและสภาพดินในท้องถิ่น
               และรูปแบบของสภาพอากาศ โภชนาการของพืชสามารถปรับปรุงได้ด้วยการหมุนเวียนธาตุอาหารหรือการประยุกต์ใช้ปุ๋ยเคมี

               ปุ๋ยอินทรีย์ และวัสดุปรับปรุงดินอื่นๆ รวมถึงแร่ปฐมภูมิ (เช่น หินฟอสเฟต) และแร่ทุติยภูมิ (เช่น ฟอสฟอรัสจากกากตะกอน
               น้ำเสีย) การเลือกระบบการจัดการธาตุอาหารพืชและวิธีการจัดการที่เหมาะสมเป็นสิ่งที่สำคัญมาก และต้องดำเนินการควบคู่
               กับการประเมินความเหมาะสมของที่ดินสำหรับการใช้ที่ดินนั้นๆ

                       ประโยชน์ของการจัดการธาตุอาหารที่เพียงพอและสมดุลต่อความต้องการของพืชมีความสำคัญต่อการผลิตอาหาร
               อาหารสัตว์ เส้นใย ไม้ และเชื้อเพลิง; การลดความจำเป็นในการใช้มาตรการควบคุมศัตรูพืช; การใช้วัสดุปรับปรุงดินอินทรีย์

               หรืออนินทรีย์ และปุ๋ยเคมี; มลพิษที่เกิดเนื่องจากการใช้สารเคมีทางการเกษตรอย่างไม่เหมาะสมลดลง; และเพิ่มการกักเก็บ
               คาร์บอนในดินด้วยการผลิตมวลชีวภาพและการคืนกลับสู่ดิน
   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21