Page 15 - นวปฏิบัติตามความสมัครใจเพื่อการจัดการดินอย่างยั่งยืน (Voluntary Guidelines for Sustainable Soil Management) : แปลจากเอกสารเผยแพร่ เรื่อง "Revised World Soil Chartar" ขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization (FAO) of the United Nations)
P. 15

Voluntary Guidelines for Sustainable Soil Management          7


               3. แนวปฏิบัติการจัดการดินอย่างยั่งยืน

                       แนวทางต่อไปนี้ถือเป็นแนวทางทางวิชาการเพื่อจัดการกับภัยคุกคามทางดินที่ขัดขวางการจัดการดินอย่างยั่งยืน
               ซึ่งแนวทางเหล่านี้ไม่ควรมองว่าเป็นแนวปฏิบัติที่เหมาะสม แต่ควรพิจารณาในแง่การอ้างอิงทางวิชาการที่จะนำไปใช้บนพื้นฐาน

               ของบริบทจำเพาะเจาะจง นอกจากนั้น ควรมีการพัฒนาคู่มือทางวิชาการเฉพาะเพื่อใช้เป็นเครื่องมือเสริม

                       3.1 การลดการชะล้างพังทลายของดิน

                       รายงานสถานะของทรัพยากรดินของโลกระบุว่าการชะล้างพังทลายของดินโดยมีสาเหตุมาจากน้ำและลมเป็นภัย
               คุกคามที่สำคัญที่สุดของดินและระบบนิเวศบริการทั่วโลก  การชะล้างพังทลายของดินทำให้เกิดการสูญเสียหน้าดินที่มี
               อินทรีย์วัตถุและแร่ธาตุอาหาร รวมถึงการสูญเสียชั้นดินบางส่วนหรือทั้งหมดและความเสี่ยงต่อดินล่างที่มีข้อจำกัด
               การเจริญเติบโตของพืช เช่นเดียวกัน ผลกระทบภายนอก เช่น ความเสียหายต่อโครงสร้างพื้นฐาน คุณภาพของน้ำลดลงและ

               เกิดการตกตะกอน การชะล้างพังทลายของดินถูกเร่งโดยกิจกรรมของมนุษย์โดยการลดพืชพรรณหรือสิ่งปกคลุมหน้าดิน การไถ
               พรวนและการดำเนินงานอื่นๆ ในภาคสนาม และลดความเสถียรภาพของดินที่นำไปสู่การเคลื่อนย้ายของดินและดินถล่ม

                   •  การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน เช่น การตัดไม้ทำลายป่า หรือ การปรับเปลี่ยนพื้นที่ทุ่งหญ้าเป็นพื้นที่เพาะปลูกที่ผิดวิธี
                       เป็นสาเหตุของการสูญเสียหน้าดินและคาร์บอนในดิน ดังนั้น จึงควรหลีกเลี่ยงหรือวางแผนอย่างรอบคอบ และหาก

                       หลีกเลี่ยงไม่ได้ควรดำเนินการอย่างเหมาะสม

                   •  ควรมีพืชปลูกในพื้นที่หรือปล่อยเศษซากวัสดุทั้งที่เป็นอินทรีย์และอนินทรีย์เพื่อช่วยปกป้องหน้าดินจากการชะล้าง
                       พังทลายของดินด้วยการใช้มาตรการที่เหมาะสม เช่น การคลุมดิน การลดการไถพรวน การปลูกพืชโดยไม่ต้องไถ
                       พรวนและลดการใช้สารเคมีกำจัดวัชพืช  การปลูกพืชคลุมดิน การเกษตรเชิงนิเวศ การควบคุมการใช้ยานยนต์

                       การคลุมดินด้วยพืชและปลูกพืชหมุนเวียนอย่างต่อเนื่อง การปลูกพืชสลับเป็นแถว วนเกษตร ปลูกพืชเป็นแนวกันลม
                       และอัตราการเก็บเกี่ยวและความหนาแน่นของทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ที่เหมาะสม

                   •  ควรลดการชะล้างพังทลายของดินด้วยน้ำบนพื้นที่ลาดชันและพื้นที่ค่อนข้างสูงชันให้น้อยลงด้วยการใช้มาตรการที่
                       ช่วยลดอัตราการไหลบ่าและความเร็วของน้ำ เช่น การปลูกพืชแบบสลับแถว การปลูกพืชตามแนวระดับ การปลูกพืช

                       หมุนเวียน การปลูกพืชแบบผสมผสาน วนเกษตร วางสิ่งกีดขวางทางลาดชัน (เช่น แถบหญ้า สร้างทำนบ และแถบ
                       หิน) การก่อสร้างและบำรุงรักษาขั้นบันใด และการสร้างทางน้ำด้วยแถบหญ้าหรือแถบพืช

                   •  หากมีความเหมาะสม ควรใช้มาตรการปลูกแถบพืชริมตลิ่ง แนวกันชน พื้นที่ชุ่มน้ำ การเก็บกักน้ำ และพืชคลุมดิน
                       เพื่อลดการเคลื่อนย้ายของอนุภาคดินและธาตุอาหารที่เกี่ยวข้อง  และสารปนเปื้อนออกจากดิน  และป้องกัน
                       ผลกระทบที่สร้างความเสียหายให้แก่บริเวณปลายน้ำ นอกจากนั้น ควรลดและบรรเทาผลกระทบการชะล้างพังทลาย

                       ของหน้าดินโดยลม รวมถึงพายุฝุ่น โดยการใช้พืชพรรณ (ต้นไม้และพุ่มไม้) หรือสิ่งก่อสร้าง (เช่น กำแพงหิน) เพื่อลด
                       ความเร็วลม


                       3.2 การเพิ่มปริมาณอินทรีย์วัตถุในดิน

                       อินทรียวัตถุในดินมีบทบาทสำคัญต่อการรักษาหน้าที่ของดินและป้องกันการเสื่อมโทรมของดิน ดินจัดเป็นแหล่ง

               อินทรีย์คาร์บอนที่ใหญ่ที่สุดในโลกและมีบทบาทสำคัญในการควบคุมภูมิอากาศและบรรเทาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
               ผ่านการสร้างสมดุลระหว่างการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและการกักเก็บคาร์บอน ด้วยเหตุนี้ อินทรียวัตถุในดินจึงเป็นมาตรการ
               หลักสำหรับการปรับตัวและการบรรเทาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และอินทรียวัตถุในดินทั่วโลกควรคงที่หรือมีปริมาณ
               เพิ่มขึ้น การสูญเสียอินทรีย์คาร์บอนในดินเนื่องจากการใช้ที่ดินไม่เหมาะสมหรือการใช้มาตรการจัดการดินและพืชที่ผิดวิธี

               ทำให้คุณภาพและโครงสร้างดินแย่ลงและการชะล้างพังทลายของดินเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจนำไปสู่การเพิ่มการปลดปล่อยคาร์บอน
   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20