Page 11 - นวปฏิบัติตามความสมัครใจเพื่อการจัดการดินอย่างยั่งยืน (Voluntary Guidelines for Sustainable Soil Management) : แปลจากเอกสารเผยแพร่ เรื่อง "Revised World Soil Chartar" ขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization (FAO) of the United Nations)
P. 11

Voluntary Guidelines for Sustainable Soil Management          3


                       1.5 ความหมายของการจัดการดินอย่างยั่งยืน

                       ในแนวปฏิบัติฉบับนี้ การจัดการดินอย่างยั่งยืนถูกให้คำนิยามตามหลักการข้อที่ 3 ในกฎบัตรดินโลก ฉบับปรับปรุง
               ดังนี้

               “การจัดการดินจะมีความยั่งยืน ห า ก มีการบริการด้านการสนับสนุน ด้านการเป็นแหล่งผลิต ด้านการควบคุม และ
               ด้านวัฒนธรรม ซึ่งดินนั้นได้รับการบำรุงรักษาหรือปรับปรุงโดยไม่ทำให้หน้าที่ของดินที่เกี่ยวข้องกับการบริการหรือ

               ความหลากหลายทางชีวภาพเสื่อมโทรมลง ทั้งนี้ ความสมดุลระหว่างการบริการสนับสนุนและการบริการแหล่งผลิตสำหรับ
               การผลิตพืช และการบริการควบคุมให้คุณภาพและความพร้อมใช้งานของน้ำและก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศ
               เป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างยิ่ง"

                   ประเภทของนิเวศบริการและหน้าที่ของดินซึ่งอ้างถึงในคำจำกัดความสามารถอธิบายได้ ดังนี้


                   •  การบริการด้านการสนับสนุน ได้แก่ การผลิตขั้นปฐมภูมิ การหมุนเวียนของธาตุอาหาร และการก่อตัวของดิน
                   •  การบริการด้านการเป็นแหล่งผลิต ประกอบด้วยการเป็นแหล่งผลิตอาหาร เส้นใย เชื้อเพลิง ไม้และน้ำ วัตถุดิบ
                       เสถียรภาพของพื้นผิว แหล่งที่อยู่อาศัยและพันธุกรรม
                   •  การบริการด้านการควบคุม หมายถึงการควบคุมด้านต่างๆ  เช่น แหล่งน้ำและคุณภาพน้ำ การกักเก็บคาร์บอน

                       การควบคุมสภาพภูมิอากาศ การควบคุมน้ำท่วมและการชะล้างพังทลายของดิน
                   •  การบริการด้านวัฒนธรรมแสดงให้เห็นถึงประโยชน์ด้านสุนทรียภาพและวัฒนธรรมที่เกิดจากการใช้ดิน

                   การจัดการดินอย่างยั่งยืนเกี่ยวข้องกับลักษณะดังต่อไปนี้

                   1.  ลดอัตราการชะล้างพังทลายของดินโดยน้ำและลม
                   2.  โครงสร้างของดินไม่เกิดการเสื่อมโทรม (เช่น การเกิดการอัดแน่นของดิน) และให้ความมั่นคงทางกายภาพสำหรับ

                       การเคลื่อนที่ของอากาศ น้ำ และความร้อน รวมถึงการเจริญเติบโตของราก
                   3.  มีสิ่งปกคลุมผิวดินที่เพียงพอ (เช่น การปลูกพืช เศษซากพืช ฯลฯ ) เพื่อปกป้องดิน
                   4.  การกักเก็บอินทรียวัตถุในดินมีความเสถียรหรือเพิ่มขึ้น และเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของท้องถิ่น
                   5.  ความพร้อมและสมดุลของธาตุอาหารมีความเหมาะสมต่อการรักษาหรือปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์และผลิตภาพ

                       ของดิน และเพื่อลดการสูญเสียของธาตุอาหารออกสู่สภาพแวดล้อม
                   6.  ความเค็ม การสะสมเกลือ และความเป็นด่างของดินเกิดขึ้นน้อยที่สุด
                   7.  น้ำ (เช่น ฝน และแหล่งน้ำเสริม เช่น การชลประทาน) จะถูกเก็บรักษาและซึมผ่านดินอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อ

                       ตอบสนองความต้องการของพืช และเพื่อให้แน่ใจว่าน้ำที่มากเกินไปได้ถูกระบายออกจากพื้นที่
                   8.  สารปนเปื้อนอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าระดับที่เป็นพิษ เนื่องจากสารปนเปื้อนเหล่านั้นอาจเป็นอันตรายต่อพืช สัตว์ มนุษย์
                       และสิ่งแวดล้อม
                   9.  ความหลากหลายทางชีวภาพของดินสนับสนุนหน้าที่ทางชีววิทยาของดินอย่างเต็มศักยภาพ

                   10. ระบบการจัดการดิน (เพื่อผลิตอาหาร อาหารสัตว์ เชื้อเพลิง ไม้ และเส้นใย)  จะพึ่งพาการใช้ปัจจัยการผลิตที่
                       เหมาะสมและมีความปลอดภัย

                   11. การปิดทับหน้าดินลดลง เนื่องจากมีการวางแผนการใช้ที่ดินอย่างมีความรับผิดชอบ
   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16