Page 10 - นวปฏิบัติตามความสมัครใจเพื่อการจัดการดินอย่างยั่งยืน (Voluntary Guidelines for Sustainable Soil Management) : แปลจากเอกสารเผยแพร่ เรื่อง "Revised World Soil Chartar" ขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization (FAO) of the United Nations)
P. 10

2  Voluntary Guidelines for Sustainable Soil Management


               ฉบับปรับปรุง (revised World Soil Charter) นอกจากนี้ในที่ประชุม FAO วาระการพัฒนาอย่างยั่งยืนปี พ.ศ. 2573 (the
               2030 Agenda for Sustainable Development) ได้รับรองแนวทางต่างๆ ที่หลากหลายสำหรับปี พ.ศ. 2558 โดยมุ่งหมายที่

               จะฟื้นฟูดินเสื่อมโทรม เปลี่ยนสภาพที่ดินที่เสื่อมโทรมให้กลับมาดีดังเดิม และใช้วิธีปฏิบัติทางการเกษตรที่ยืดหยุ่นเพื่อปรับปรุง
               คุณภาพดินและลดการปนเปื้อนของดินอย่างต่อเนื่อง

                       การจัดการดินอย่างยั่งยืนมีส่วนสำคัญต่อความพยายามในการปรับตัวและบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลง
               สภาพภูมิอากาศ ต่อต้านการแปรสภาพเป็นทะเลทราย และส่งเสริมความหลากหลายทางชีวภาพ ดังนั้น จึงมีความเกี่ยวข้องกับ
               กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (the United Nations Framework Convention

               on Climate Change; UNFCCC) อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการแปรสภาพเป็นทะเลทราย (United
               Nations Convention to Combat Desertification; UNCCD) และอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ (United
               Nations Convention on Biological Diversity; UNCBD)

                       ด้วย กฎบัตรของดินโลก (ฉบับปรับปรุง) ต้องการให้มีการนำเอาหลักการและแนวทางปฏิบัติของการจัดการดินอย่าง

               ยั่งยืนเข้าสู่การกำหนดนโยบาย เพื่อตอบสนองต่อข้อเรียกร้องของ  GSP ทำให้ VGSSM ถือกำเนิดและพัฒนาขึ้น เพื่อให้
               สอดคล้องกับเป้าหมายโดยรวมของการส่งเสริมการจัดการดินอย่างยั่งยืน



                       1.2 วัตถุประสงค์

                       วัตถุประสงค์ของ VGSSM คือ นำเสนอหลักการที่ได้รับการยอมรับทั้งในทางปฏิบัติและตามหลักการทาง
               วิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมการจัดการดินอย่างยั่งยืน รวมถึงให้คำแนะนำแก่ผู้มีส่วนได้เสียทั้งหมดเกี่ยวกับการนำหลักการเหล่านี้

               ไปสู่การปฏิบัติ ไม่ว่าจะเป็นเพื่อการทำการเกษตร การเลี้ยงสัตว์ ป่าไม้ หรือการจัดการทรัพยากรธรรมชาติทั่วไป



                       1.3 ลักษณะและขอบเขต

                       แนวปฏิบัติเพื่อสนับสนุนการจัดการดินอย่างยั่งยืน ถือเป็นแนวทางตามความสมัครใจและไม่มีข้อผูกพันตามกฎหมาย
               ซึ่งได้อธิบายหลักการดำเนินงานไว้ในกฎบัตรดินโลก  (ฉบับปรับปรุง) โดยคำนึงถึงหลักฐานที่ให้ไว้ในรายงานสถานะของ
               ทรัพยากรดินของโลก (SWSR) แนวปฏิบัติดังกล่าวครอบคลุมประเด็นทางเทคนิคของการจัดการดินอย่างยั่งยืน รวมถึงลักษณะ
               ที่สำคัญของดินที่มีการจัดการอย่างยั่งยืน ปัญหาและแนวทางแก้ไขที่เป็นไปได้ โดย VGSSM มุ่งเน้นไปที่การทำการเกษตรเป็น

               ส่วนใหญ่ ซึ่งได้รับการจำแนกแบบกว้างๆ ว่าเป็นการผลิตอาหาร เส้นใย อาหารสัตว์ ป่าไม้ และเชื้อเพลิง นอกจากนี้ ยังมี
               หลักการหลายข้อที่อธิบายไว้ใน VGSSM ซึ่งเกี่ยวข้องกับนิเวศบริการที่เป็นผลจากการจัดการและไม่มีการจัดการทรัพยากรดิน

                       แนวปฏิบัติฉบับนี้ไม่มุ่งหวังที่จะให้คำแนะนำการจัดการดินอย่างยั่งยืนโดยละเอียด แต่ได้รับการออกแบบมาเพื่อเป็น
               แนวทางการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์และบริบทเฉพาะในทุกระดับที่เกี่ยวข้อง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการขจัดความหิวโหย

               และความยากจนในระดับประเทศ ระดับภูมิภาค และระดับโลก ซึ่งเป็นผลมาจากความสำคัญของดินในการพัฒนาอย่างยั่งยืน



                       1.4 กลุ่มเป้าหมาย

                       กลุ่มเป้าหมายที่เป็นไปได้ของ VGSSM ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่ของรัฐ ผู้กำหนดนโยบาย เกษตรกร ผู้เลี้ยงสัตว์ ผู้ใช้/
               ดูแลที่ดินและป่าไม้ หน่วยงานส่งเสริมและบริการที่ให้คำปรึกษาด้านการเกษตร หุ้นส่วนการพัฒนา ประชาสังคม ภาคเอกชน
               และสถาบันการศึกษา ฯลฯ
   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15