Page 9 - นวปฏิบัติตามความสมัครใจเพื่อการจัดการดินอย่างยั่งยืน (Voluntary Guidelines for Sustainable Soil Management) : แปลจากเอกสารเผยแพร่ เรื่อง "Revised World Soil Chartar" ขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization (FAO) of the United Nations)
P. 9

Voluntary Guidelines for Sustainable Soil Management          1


               1. บทนำ

                       แนวปฏิบัติเพื่อสนับสนุนการจัดการดินอย่างยั่งยืนโดยความสมัครใจ (Voluntary Guidelines for Sustainable
               Soil Management; VGSSM) ฉบับนี้ ได้รับการพัฒนาผ่านกระบวนการแบบมีส่วนร่วมภายใต้กรอบการดำเนินงานของสมัชชา

               ความร่วมมือด้านทรัพยากรดินโลก (Global Soil Partnership; GSP) โดยมีเป้าหมายเพื่อเป็นข้อมูลอ้างอิงสำหรับคำแนะนำ
               ทางวิชาการและนโยบายทั่วไปเกี่ยวกับการจัดการดินอย่างยั่งยืนสำหรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในวงกว้าง แนวปฏิบัติฉบับนี้ได้รับ
               การรับรองในการประชุมสมัชชา GSP ครั้งที่ 4 (ณ กรุงโรม เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2559) ได้รับการอนุมัติในการประชุม

               คณะกรรมการด้านการเกษตรของ FAO ครั้งที่ 25 (ณ กรุงโรม เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2559) และท้ายสุดได้รับการรับรองโดย
               สภา FAO ในการประชุมครั้งที่ 155 (ณ กรุงโรม เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2559)



                       1.1 หลักการและเหตุผล

                       ดินเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญและใช้แล้วหมดสิ้นไปไม่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้  โดยนับเป็นแหล่งที่ให้
               ผลิตผลและการบริการที่มีความสำคัญต่อระบบนิเวศและการดำรงชีวิตของมนุษย์ ดินเป็นทรัพยากรพื้นฐานในการผลิตพืช
               อาหาร ปศุสัตว์ เส้นใย เชื้อเพลิง รวมถึงมีหน้าที่กรองและทำความสะอาดน้ำในธรรมชาติ นอกจากนี้ดินยังเป็นแหล่งกักเก็บ

               คาร์บอนที่สำคัญ โดยช่วยควบคุมการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซเรือนกระจกอื่นๆ ซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐาน
               สำหรับการควบคุมสภาพภูมิอากาศโลก  ดังนั้น การจัดการดินอย่างยั่งยืนจึงถือเป็นส่วนสำคัญในการขจัดความยากจน
               การพัฒนาการเกษตรและชนบท การส่งเสริมความมั่นคงด้านอาหารและการปรับปรุงโภชนาการ

                                            1,2
                                                                                                3
                       ดินเป็นแหล่งกักเก็บคาร์บอน  ที่ใหญ่ที่สุดในโลก และประมาณ 95% ของอาหารในโลกผลิตจากดิน  การจัดการ
               ดินอย่างยั่งยืนเป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ  รวมทั้งเป็นแนวทางหลักใน
               การปกป้องนิเวศบริการที่สำคัญและความหลากหลายทางชีวภาพ ทั้งนี้ จากมูลค่ามหาศาลของดินที่มีต่อสังคมผ่านการบริการ
               ของระบบนิเวศ การจัดการดินอย่างยั่งยืนจึงเป็นแนวทางที่มั่นใจได้ว่าเมื่อดำเนินการไปแล้วจะให้ผลตอบแทนจากการลงทุนสูง

               โดยสนับสนุนและเพิ่มความสามารถของนิเวศบริการ ดังนั้น การนำวิธีการจัดการดินอย่างยั่งยืนมาใช้จะสร้างประโยชน์ทาง
               เศรษฐกิจและสังคมหลายประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับเกษตรกรรายย่อยและผู้ผลิตทางการเกษตรขนาดใหญ่ทั่วโลก
               ซึ่งมีวิถีชีวิตเกี่ยวเนื่องกับทรัพยากรดิน

                       แต่อย่างไรก็ตาม  หลักฐานที่ระบุไว้ในรายงานสถานะของทรัพยากรดินของโลก  (Status of the World’s Soil
               Resources: SWSR) เมื่อเร็วๆ นี้ รวมถึงการศึกษาอื่นๆ ได้แสดงให้เห็นว่า ประมาณ 33% ของดินทั่วโลกมีความเสื่อมโทรมใน

                                4,5
               ระดับปานกลางและสูง  เนื่องจากการจัดการดินไม่มีความยั่งยืน นอกจากนี้การสูญเสียดินจากพื้นที่เพาะปลูกมีค่าประมาณ
                                                                                            6
               75 ล้านตันต่อปี ซึ่งมีมูลค่าการสูญเสียการผลิตทางการเกษตรประมาณ 400 พันล้านเหรียญสหรัฐต่อปี  การสูญเสียนี้ลด
               ความสามารถของดินในการกักเก็บและหมุนเวียนคาร์บอน ธาตุอาหาร และน้ำ ยิ่งไปกว่านั้น ยังมีการคาดการณ์ว่าการสูญเสีย

               ผลผลิตธัญพืชเนื่องจากการชะล้างพังทลายของดินจะอยู่ที่ราว 7.6 ล้านตันต่อปี

                       ความกังวลที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับสถานภาพของดินทั่วโลกส่งผลให้เกิดการรวมตัวกันเพื่อจัดตั้ง GSP และประกาศให้
               ปีพุทธศักราช 2558 เป็นปีดินสากลโดยสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ (United Nations; UN) รวมทั้งรับรองกฎบัตรดินโลก


               1  Carbon sequestration in dryland soils. FAO, 2004.
               2  Land use, land use change, and forestry. Summary for policy-makers. IPCC, 2000 (pp. 3-4)
               3
                 Healthy soils are the basis for healthy food production, FAO, 2015.
               4  Status of the World’s Soil Resources (SWSR). Main Report. FAO and ITPS, Rome, 2015 (p. xix)
               5  The state of the world’s land and water resources for food and agriculture (SOLAW). Managing systems at risk. FAO, Rome and Earthscan, London,
               2011 (p. 113).
               6  The value of land: Prosperous lands and positive rewards through sustainable land management. The Economics of Land Degradation (ELD)
               Initiative, 2015 (p. 80).
   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14