Page 42 - การไถกลบตอซังเพื่อลดต้นทุนการผลิตข้าว ตำบลคลองควาย อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี
P. 42
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
32
ปุ๋ยเคมี เกษตรกรใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 16–20-0 จ านวน 35 กิโลกรัม ราคากิโลกรัมละ 11 บาท คิดเป็นเงิน
385 บาทต่อไร่ ปุ๋ยเคมีสูตร 46–0-0 เกษตรกรใช้ 5 กิโลกรัม ราคากิโลกรัมละ 10.80 บาท คิดเป็นเงิน 54
บาทต่อไร่ ค่าแรงหว่านปุ๋ยเคมี 2 ครั้งๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 100 บาทต่อไร่ ค่าแรงและสารป้องกันก าจัด
แมลงและโรคพืช จ านวน 81.40 บาทต่อไร่ค่าเก็บเกี่ยวและค่าน้ ามัน ราคา 390 บาทต่อไร่ ค่าน้ าหมัก
ซุปเปอร์ พด. 2 ส าหรับการหมักตอซังและฟางข้าว จ านวน 5 ลิตรต่อไร่ ราคาลิตรละ 10 บาท คิดเป็นเงิน
50 บาทต่อไร่ ค่าน้ าหมักซุปเปอร์ พด. 7 ไล่แมลง จ านวน 30 ลิตรต่อไร่ ราคาลิตรละ 13 บาท คิดเป็นเงิน
390 บาทต่อไร่ รวมต้นทุนการผลิตข้าวต่อไร่ของเกษตรกร จ านวน 3,433.90 บาทต่อไร่
ด้านผลตอบแทนทางเศรษฐกิจของการปลูกข้าวประเมินราคาที่ 7,000 บาทต่อตัน คิดค่าใช้จ่าย
ในพื้นที่ 1 ไร่ มีรายละเอียดดังนี้ (ตารางที่ 10)
แปลงเกษตรกรที่ผลิตข้าวของเกษตรกรแปลงเปรียบเทียบ ได้รับผลผลิตเฉลี่ย 929.20 กิโลกรัม
ต่อไร่ รายได้เฉลี่ย 6,504.40 บาทต่อไร่ ต้นทุนเฉลี่ย 3,502.80 บาทต่อไร่ และได้รับผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ย
3,001.60 บาทต่อไร่
แปลงเกษตรกรที่ผลิตข้าวตามวิธีเดิมของเกษตรกรได้รับผลผลิตเฉลี่ย 853.80 กิโลกรัมต่อไร่
รายได้เฉลี่ย 5,976.60 บาทต่อไร่ ต้นทุนเฉลี่ย 3,251.30 บาทต่อไร่ และได้รับผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ย
2 , 7 2 0 . 2 0 บาทต่อไร่
แปลงไถกลบตอซังได้รับผลผลิตเฉลี่ย 935.80 กิโลกรัมต่อไร่ รายได้เฉลี่ย 6,550.6 บาทต่อไร่
ต้นทุนเฉลี่ย 3,433.90 บาทต่อไร่ และได้รับผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ย 3,116.70 บาทต่อไร่
จากการศึกษาพบว่าวิธีการผลิตข้าวโดยการไถกลบตอซังสามารถท าให้เกษตรกรมีผลผลิตข้าว
เฉลี่ยเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม จากเดิม 853.80 กิโลกรัมต่อไร่ เพิ่มขึ้นเป็น 935.80 กิโลกรัมต่อไร่ เพิ่มขึ้น 82
กิโลกรัมต่อไร่ จึงส่งผลให้เกษตรกรได้รับผลตอบแทนเพิ่มมากขึ้น 396.40 บาทต่อไร่ เนื่องจากมีการ
ปรับปรุงบ ารุงดินโดยการเพิ่มอินทรียวัตถุลงไปในดิน ซึ่งสอดคล้องกับ วัลยา (2556) ได้ศึกษาการวิเคราะห์
แรงจูงใจในการงดเผาตอซังข้าวของเกษตรกร อ าเภอคลองเขื่อน จังหวัดฉะเชิงเทรา ท าการเปรียบเทียบ
ต้นทุนระหว่างเกษตรกรทั้ง 2 กลุ่มตัวอย่างคือ เกษตรกรที่เพาะปลูกข้าวแบบงดเผาตอซังข้าว และ
เกษตรกรที่เพาะปลูกข้าวแบบเผาตอซังข้าว พบว่ามีความแตกต่างกัน โดยปรากฏว่าเกษตรกรที่เพาะปลูก
ข้าวแบบงดเผาตอซังข้าวนั้นจะมีต้นทุนการผลิตที่เป็นเงินสดเท่ากับ 3,895.01 บาทต่อไร่ มีต้นทุนรวม
เท่ากับ 5,025.15 บาทต่อไร่ ซึ่งต้นทุนการผลิตต่ ากว่าเกษตรกรผู้เพาะปลูกข้าวแบบมีการเผาตอซังข้าว
ซึ่งมีต้นทุนการผลิตเท่ากับ 3,999.87 บาทต่อไร่ และต้นทุนรวมเท่ากับ 5,099.41 บาทต่อไร่ ในส่วนของ
รายได้จากการเพาะปลูกข้าวนั้น เกษตรกรที่เพาะปลูกข้าวแบบงดเผาตอซังข้าวมีรายได้ทั้งหมดจากการ
ขายข้าวเท่ากับ 7,638.42 บาทต่อไร่ และเกษตรกรที่เพาะปลูกข้าวแบบเผาตอซังมีรายได้ทั้งหมดจากการ
ขายข้าวเท่ากับ 7,365.94 บาทต่อไร่ เมื่อพิจารณาถึงผลการศึกษาแรงจูงใจของเกษตรกรอ าเภอคลอง
เขื่อน ต าบลคลองเขื่อน จังหวัดฉะเชิงเทราในการงดเผาตอซังข้าว พบว่ามีปัจจัยที่มีอิทธิพลอย่างมี
นัยส าคัญทางสถิติต่อแรงจูงใจ ได้แก่ ต้นทุนการจัดการตอซังข้าว ความตระหนักถึงผลกระทบจากการเผา
ตอซังด้านสุขภาพ ปริมาณผลผลิตต่อไร่พื้นที่ที่ใช้ท าการเกษตร และรายได้จากการขายข้าว