Page 31 - การใช้ปุ๋ยพืชสด (ปอเทือง) ร่วมกับเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดินเพื่อปรับปรุงบำรุงดินและเพิ่มผลผลิตข้าว พื้นที่ตำบลพลับพลาไชย อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี
P. 31
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
21
3.3.2 ใช้ปุ๋ยในปริมาณที่เหมาะสม
ปริมาณปุ๋ยที่พอเหมาะนี้ หมายถึง จ านวน หรืออัตราปุ๋ย ที่ใช้ต่อไร่ หรือต่อต้น ที่พืชจะได้รับ
ความพอเหมาะนี้มีอยู่ 2 ลักษณะคือ พอเหมาะในแง่ของปริมาณที่พืชควรจะได้รับ เพื่อให้ได้ผลผลิต
สูงสุด ถ้าน้อยกว่านั้น ก็จะท าให้พืชไม่เจริญเติบโต และให้ผลผลิตไม่สูงเท่าที่ควร หรือถ้าให้มากเกิน
กว่านั้นก็อาจเป็นพิษแก่พืชหรือจะไม่ท าให้พืชเติบโต และให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น แต่ท าให้เสียเงินโดยเปล่า
ประโยชน์ประการหนึ่ง และอีกประการหนึ่งก็คือ พอเหมาะในแง่ของหลักเศรษฐกิจ กล่าวคือ ปริมาณ
ของปุ๋ยที่ใช้จะต้องพิจารณาเกี่ยวกับราคาของปุ๋ย และราคาของผลผลิตที่จะขายได้เสียก่อน การใช้ปุ๋ย
ที่พอเหมาะในแง่นี้เป็นการใส่ปุ๋ยจ านวนหนึ่ง (ต่อไร่หรือต่อต้น) ซึ่งจะมีผลท าให้ผลิตผลสูงขึ้นที่ระดับ
หนึ่งไม่จ าเป็นต้องเป็นผลผลิตสูงสุด จะท าให้ได้ก าไรต่อเงินลงทุนในการซื้อปุ๋ยมาใช้มากที่สุด การ
พิจารณาความพอเหมาะพอดีของจ านวนปุ๋ย หรืออัตราปุ๋ยที่จะใช้ จะต้องอาศัยหลักเกณฑ์ และวิธีการ
ต่างๆ หลายประการมาประกอบการพิจารณา อาทิ ชนิดของพืช ระดับความชื้น และความอุดม
สมบูรณ์เดิมของดิน วิธีการปลูก การดูแล และการบ ารุงรักษาของเกษตรกร ตลอดจนราคาของปุ๋ย
และของพืชที่ปลูกประกอบด้วย (คณาจารย์ภาควิชาปฐพีวิทยา, 2548)
3.3.3 ใส่ปุ๋ยให้พืชขณะที่พืชต้องการ
พืชที่ปลูกในดินที่ไม่อุดมสมบูรณ์ด้วยธาตุอาหาร มักจะแคระแกร็น และให้ผลผลิตต่ า การใส่
ปุ๋ยจะช่วยยกระดับธาตุอาหาร ที่ขาดแคลน ให้มีปริมาณเพียงพอกับความต้องการของพืช อย่างไรก็
ตาม ปุ๋ยที่ใส่ลงไปในดินเดียวกันกับพืชชนิดเดียวกัน อาจจะให้ผลแตกต่างกันได้เป็นอย่างมาก ทั้งนี้
ขึ้นอยู่กับจังหวะเวลา (timing) ของการให้ ปุ๋ยแก่พืชนั้น ตรงกับระยะเวลาที่พืชมีความ ต้องการธาตุ
อาหารนั้นๆ มากที่สุดหรือไม่ ช่วง จังหวะความต้องการธาตุอาหารมากที่สุดของพืช แต่ละชนิดจะ
แตกต่างกันออกไป พืชที่มีอายุสั้น เช่น พืชไร่และข้าว จะมีจังหวะการดึงดูดธาตุอาหาร ที่แตกต่างกัน
อย่างเด่นชัดอย่างน้อย 3 ช่วงด้วยกัน คือ ช่วงแรกที่พืชเริ่มงอก และการเติบโตในระยะ 30 - 45 วัน
แรก พืชมักจะต้องการธาตุอาหารน้อยและช้า เพราะระยะนี้ระบบรากยังน้อย และต้นยังเล็กอยู่ ช่วงที่
มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว เป็นระยะที่พืชต้องการธาตุอาหารเป็นจ านวนมาก ส าหรับข้าวจะเป็น
ระยะที่ก าลังแตกกอ และระยะที่ก าลังสร้างตาดอก ถ้าเป็นข้าวโพด จะเป็นระยะที่มีอายุ 45 – 60 วัน
ถ้าเป็นข้าวก็ระยะประมาณ 30 วัน ก่อนออกดอก ช่วงที่มีการเติบโตเต็มที่แล้ว และเป็นระยะสร้าง
เมล็ดหรือสร้างผล ความต้องการธาตุอาหารในระยะนี้ จะลดลงเรื่อยๆ จนกระทั่งฝักหรือเมล็ดแก่
ระยะที่พืชต้องการธาตุอาหารจากดินมากที่สุด และดึงดูดธาตุอาหารจากดินในอัตราที่รวดเร็วมาก
ที่สุดก็คือ ช่วงที่สอง เพราะเป็นระยะที่ก าลังเติบโตอย่างรวดเร็ว และต้องการสะสมธาตุอาหารไว้ในต้น
และใบ ให้เพียงพอส าหรับการสร้างเมล็ดและผล ที่จะมีขึ้นในช่วงที่สาม ดังนั้นการให้ปุ๋ยแก่พืชระยะที่
ส าคัญก็คือ ระยะที่สองนี้ ซึ่งพืชควรจะได้รับธาตุอาหารจากปุ๋ยที่ให้เพียงพอที่สุด ดังนั้นการให้ปุ๋ยแก่
พืช จึงต้องแบ่งใส่ จังหวะการใส่ควรให้พอเหมาะกับระยะที่พืชต้องการ จะยังผลให้ประสิทธิภาพของ
ปุ๋ยที่ใส่สูง ความเหมาะสมของจังหวะเวลาการให้ปุ๋ยกับพืช ได้มีการศึกษากันอย่างกว้างขวาง พืชแต่
ละชนิดจะมีช่วงที่ควรจะแบ่งใส่ปุ๋ย เพื่อให้มีผลดีแก่พืชมากที่สุดแตกต่างกันออกไป (คณาจารย์
ภาควิชาปฐพีวิทยา, 2548)