Page 35 - การใช้ปุ๋ยพืชสด (ปอเทือง) ร่วมกับเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดินเพื่อปรับปรุงบำรุงดินและเพิ่มผลผลิตข้าว พื้นที่ตำบลพลับพลาไชย อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี
P. 35
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
25
ประโยชน์ของสารเร่งซุปเปอร์ พด.7 ป้องกันแมลงศัตรูพืช เช่น เพลี้ยต่าง ๆ หนอนเจาะผล
และล าต้น หนอนใยผักหนอนชอนใบ หนอนคืบ หนอนกระทู้ หนอนกอ ไรแดง และแมลงหวี่ เป็นต้น
(กรมพัฒนาที่ดิน, 2558)
3.6 ชุดดินเดิมบาง (Doem Bang Series: Db)
ชุดดินเดิมบาง (Db) อยู่ในกลุ่มชุดดินที่ 7,การจ าแนกดินจัดอยู่ใน Fine, kaolinitic,
isohyperthermic Aeric (Plinthic) Endoaqualfs เกิดจากตะกอนน้ าพามาทับถมอยู่บนตะพักล าน้ า
เก่าระดับต่ าหรือเนินตะกอนน้ าพารูปพัด สภาพพื้นที่ราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ มีความลาดชัน
0-2 เปอร์เซ็นต์ การระบายน้ าค่อนข้างเลว การไหลบ่าของน้ าบนผิวดินช้า การซึมผ่านได้ของน้ าปาน
กลางถึงช้า พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ที่ดินท านา การแพร่กระจายพบทั่วไปในภาคกลาง
การจัดเรียงชั้นดิน Apg-Bag-Btg ลักษณะและสมบัติของดิน เป็นดินลึก ดินบนเป็นดินร่วนปนทรายถึง
ร่วนเหนียวปนทรายหรือดินร่วนปนดินเหนียว สีน้ าตาลปนเทา ปฏิกิริยาดินเป็นกรดปานกลาง (pH
6.0) ดินบนตอนล่างเป็นดินร่วนปนดินเหนียว ดินเหนียวหรือดินเหนียวปนทรายแป้ง มีสีเทาปน
น้ าตาลหรือสีน้ าตาลปนเทามีจุดประสีน้ าตาลแก่ สีน้ าตาลปนเหลือง สีเหลืองปนน้ าตาล ปฏิกิริยาดิน
เป็นกรดปานกลาง (pH 6.0) ดินล่างตอนล่างเป็นดินเหนียว สีเทาปนน้ าตาลอ่อน มีจุดประสีแดง
ปฏิกิริยาดินเป็นกรดกลางถึงด่างปานกลาง (pH 7.0-8.0) (ส านักส ารวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน,
2552)
3.7 ข้าวพันธุ์ กข 47
ข้าวพันธุ์ กข 47 เป็นข้าวเจ้าคู่ผสมระหว่างพันธุ์ สุพรรณบุรี 1/IR64 กับ CNT86074-25-9-1
ลักษณะประจ าพันธุ์ เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 90-100 เซนติเมตร ไม่ไวต่อช่วงแสง อายุเก็บเกี่ยว
ประมาณ 104-107 วัน (หว่านน ้าตม) และ 112 วัน (ปักด า) ล าต้นแข็งมาก ใบสีเขียว มุมใบธง กว้าง
ปานกลาง รวงยาว เมล็ดข้าวเปลือกมีขนาด ยาว 10.4 มิลลิเมตร กว้าง 2.5 มิลลิเมตร และหนา 2.0
มิลลิเมตร เมล็ดข้าวกล้อง ยาว 7.9 มิลลิเมตร กว้าง 2.1 มิลลิเมตร และ หนา 1.8 มิลลิเมตร ปริมาณ
อมิโลส 26.81 เปอร์เซ็นต์ มีสีขาวนวลไม่เลื่อมมัน ค่อนข้างร่วนและแข็ง ลักษณะเด่น ผลผลิตสูง ให้
ผลผลิตประมาณ 793 กิโลกรัมต่อไร่ ค่อนข้างต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน ้าตาลดีกว่า กข 41 และ
ค่อนข้างต้านทานโรคไหม้ดีกว่าพิษณุโลก 2 คุณภาพเมล็ดทางกายภาพดี เมล็ดยาว เรียว ท้องไข่น้อย
คุณภาพการสีดีถึงดีมาก สามารถสีเป็นข้าวสาร 100 เปอร์เซ็นต์ได้ แต่มีข้อควรระวังคือ อ่อนแอต่อ
เพลี้ยกระโดดสีน ้าตาลชีวชนิดที่ 5 และเพลี้ยกระโดดสีน ้าตาลจากจังหวัดนครปฐม อ่อนแอต่อโรคขอบ
ใบแห้ง ไม่ควรใส่ปุ๋ยไนโตรเจนในระดับสูงเกินไปจะท าให้เกิดโรครุนแรง และค่อนข้างอ่อนแอต่อเชื้อ
สาเหตุโรคไหม้ในภาคกลาง ไม่ทนอากาศเย็นจึงไม่ควรปลูกในช่วงปลายเดือน กันยายนถึงต้นเดือน
พฤศจิกายน พื้นที่แนะน าเหมาะส าหรับการปลูกคือในพื้นที่นาชลประทาน (กรมการข้าว, 2560)