Page 30 - การใช้ปุ๋ยพืชสด (ปอเทือง) ร่วมกับเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดินเพื่อปรับปรุงบำรุงดินและเพิ่มผลผลิตข้าว พื้นที่ตำบลพลับพลาไชย อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี
P. 30

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       20







                       1) วิธีเกษตรกร (ใส่ปุ๋ยเคมี 16-20-0 อัตรา 60 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี) 2) วิธีใช้ถั่วมะแฮะเป็นปุ๋ยพืชสด
                       3)  วิธีใช้ปอเทืองเป็นปุ๋ยพืชสด  4)  วิธีใช้ถั่วเขียวเป็นปุ๋ยพืชสด  5)  วิธีใช้ถั่วพุ่มด าเป็นปุ๋ยพืชสด ผล
                       การศึกษาพบว่า การใช้พืชตระกูลถั่วทั้ง  4  ชนิดเป็นพืชปุ๋ยสด  ค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดินมีค่า
                       ลดลง  จากสภาพเป็นกรดจัดมาก  (pH  4.6-4.8)  เป็นกรดรุนแรงมาก  (pH  4.5-4.6)  และหลังการ

                       ทดลอง  3  ปี  ความเป็นกรดเป็นด่างของดินในวิธีเกษตรกรมีความแตกต่างทางสถิติกับวิธีการใช้
                       ปอเทืองและถั่วเขียวอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติ  ปริมาณอินทรียวัตถุในดินและฟอสฟอรัสที่เป็น
                       ประโยชน์ในดินมีค่าสูงขึ้นทุกวิธีการเมื่อเปรียบเทียบกับก่อนด าเนินการ  แต่ไม่แตกต่างกันทางสถิติ

                       การใช้ปอเทืองและถั่วพุ่มด าเป็นพืชปุ๋ยสดท าให้ดินมีปริมาณโพแทสเซียมสูงขึ้น

                       3.3 การใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน
                              การใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน คือ การใช้ปุ๋ยเท่าที่จ าเป็นตามความต้องการของพืช หากดินมี
                       ปัญหาต้องมีการจัดการที่ถูกต้องเหมาะสม โดยมีการประเมินหรือวิเคราะห์ความอุดมสมบูรณ์ของดิน
                       ก่อนการปลูกพืช  ซึ่งอาจได้จากการตรวจสอบจากโปรแกรมดินไทยและธาตุอาหารพืช  หรือเก็บ

                       ตัวอย่างดินวิเคราะห์  เพื่อให้ทราบถึงปริมาณธาตุอาหารที่มีอยู่ในดิน  สภาพความเป็นกรด-เป็นด่าง
                       แล้วน ามาเปรียบเทียบกับปริมาณความต้องการธาตุอาหารของพืชที่ปลูกในแต่ละฤดู  จากนั้นจึง
                       ค านวณปริมาณธาตุอาหารหลัก (N-P-K)  เพิ่มตามค าแนะน า (กรมพัฒนาที่ดิน,  2558) หลักการใส่
                       ปุ๋ยเคมีให้มีประสิทธิภาพ พิจารณาจาก
                              3.3.1 ชนิดของปุ๋ยที่ใช้ถูกต้อง

                              การใช้ปุ๋ยที่ถูกต้องนั้น หมายถึง สูตร เรโช และรูปของธาตุอาหารในปุ๋ย ปุ๋ยเคมีจะมีทั้งสาม
                       อย่างนี้แตกต่างกันออกไป สูตรปุ๋ย หรือบางทีเรียกว่า "เกรดปุ๋ย" หมายถึง ตัวเลขเขียนบอกปริมาณ
                       ธาตุอาหาร ที่มีอยู่ในปุ๋ยเคมี โดยบอกเป็นค่าของเปอร์เซ็นต์ โดยน้ าหนักของปริมาณไนโตรเจนทั้งหมด

                       (N) ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ (P O ) และปริมาณโพแทสเซียมที่ละลายน้ าได้ (K O) สูตรปุ๋ย
                                                                                                2
                                                        2 5
                       จะเขียนไว้ที่ภาชนะบรรจุปุ๋ย เห็นได้อย่างชัดเจน เช่น 20-10-5 ตัวเลขแรกจะบอกปริมาณไนโตรเจน
                       ว่ามี อยู่หนัก 20 กิโลกรัม เลขที่สองบอกปริมาณ ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์มีอยู่ 10 กิโลกรัม เลขตัว
                       ที่สามบอกปริมาณโพแทสเซียมที่ละลายน้ าได้ มีอยู่ 5  กิโลกรัม และเป็นที่ ทราบกันเป็นสากลว่าเลข

                       ตัวแรก คือ ไนโตรเจน ตัวกลาง คือ ฟอสฟอรัส ตัวสุดท้าย คือ โพแทสเซียม เมื่อดินขาดธาตุอาหาร
                       ชนิดของธาตุอาหารในปุ๋ยที่ใส่ ก็จะต้องมีธาตุ N  P และ K เท่ากับปริมาณธาตุอาหารรวม ที่มีอยู่ในปุ๋ย
                       เช่น สูตร 10-10-10 มีธาตุอาหารรวม N P K หนัก 30 กิโลกรัม ในปุ๋ยหนัก 100 กิโลกรัม ปุ๋ยเคมีจะมี
                       สัดส่วนระหว่าง N:P:K  แตกต่างกัน แล้วแต่จะน าไปใช้กับชนิดของพืช และกับที่ดินที่มีระดับธาตุ

                       อาหาร N P และ K แตกต่างกันอย่างไร ดังนั้นก่อนใช้ปุ๋ยได้อย่างถูกต้อง จะต้องรู้จักดิน และรู้จักพืชที่
                       ปลูกเสียก่อน เนื่องจากดินแต่ละแห่ง และแต่ละชนิด จะมีระดับธาตุอาหารปุ๋ยในดินแตกต่างกัน ส่วน
                       พืชที่ปลูกต่างชนิดกัน หรือแม้แต่อายุพืชแตกต่างกัน ก็มีความต้องการธาตุอาหาร N P K ในปริมาณ
                       และสัดส่วนเพื่อการเจริญเติบโต และสร้างผลิตผลแตกต่างกันเป็นอย่างมากด้วยเช่นกัน (คณาจารย์

                       ภาควิชาปฐพีวิทยา, 2548)
   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35