Page 36 - การใช้ปุ๋ยพืชสด (ปอเทือง) ร่วมกับเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดินเพื่อปรับปรุงบำรุงดินและเพิ่มผลผลิตข้าว พื้นที่ตำบลพลับพลาไชย อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี
P. 36
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
26
บทที่ 4
ผลการด าเนินงาน
4.1 การวิเคราะห์พื้นที่ด าเนินการ
จากการวิเคราะห์ข้อมูลดิน การใช้ที่ดิน และสภาพแวดล้อมในพื้นที่ด าเนินการร่วมกับการ
สอบถามจากเกษตรกร พบว่า การเพาะปลูกข้าวในพื้นที่ไม่มีปัญหามากนัก เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มี
ลักษณะของดินเหมาะสมส าหรับการปลูกข้าว และอยู่ในเขตพื้นที่ชลประทาน สามารถเพาะปลูกข้าว
ได้อย่างน้อย 2 ครั้งต่อปี เพราะมีน้ าเพียงพอ แต่เกษตรกรท าการผลิตข้าวอย่างต่อเนื่อง จึงส่งผลให้
ดินมีความอุดมสมบูรณ์ลดต่ าลงจึงจ าเป็นต้องปรับปรุงดิน โดยน าเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดินของกรม
พัฒนาที่ดินเข้ามาด าเนินการ เพื่อเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนการผลิตข้าวให้แก่เกษตรกร ซึ่งจากข้อมูล
ของส านักงานเกษตรจังหวัดสุพรรณบุรีปี 2560 พบว่าต้นทุนการผลิตข้าวในพื้นที่อ าเภออู่ทอง มี
ค่าเฉลี่ยสูงถึง 4,500-5,700 บาทต่อไร่
4.2 สมบัติทางเคมีของดินก่อนและหลังด าเนินงาน
จากข้อมูลผลวิเคราะห์ดินก่อนหว่านปอเทือง หลังการไถกลบปอเทือง และหลังการเก็บเกี่ยว
ผลผลิตข้าว (ตารางที่ 7) พบว่า
สมบัติทางเคมีของดินก่อนหว่านปอเทือง มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างอยู่ในระดับกรดปาน
กลาง (pH 5.6) มีปริมาณอินทรียวัตถุในดินอยู่ในระดับต่ า (0.93 เปอร์เซ็นต์) ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็น
ประโยชน์อยู่ในระดับต่ า (4 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม) และปริมาณโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์อยู่ใน
ระดับต่ า (30 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม)
สมบัติทางเคมีของดินหลังการไถกลบปอเทือง มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างอยู่ในระดับกรด
เล็กน้อย (pH 6.2) มีปริมาณอินทรียวัตถุในดินอยู่ในระดับปานกลาง (1.65 เปอร์เซ็นต์) ปริมาณ
ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์อยู่ในระดับปานกลาง (11 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม) และปริมาณโพแทสเซียมที่
เป็นประโยชน์อยู่ในระดับต่ า (56 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม) จากผลวิเคราะห์ดินจะเห็นว่าหลังจากไถกลบ
ปอเทือง ในพื้นที่ด าเนินการส่งผลให้สมบัติทางเคมีของดินเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นทั้งปริมาณ
อินทรีย์วัตถุในดิน ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ และปริมาณโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ เป็น
ผลให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์เพิ่มขึ้น สอดคล้องกับกรมพัฒนาที่ดิน (2558) ที่ได้กล่าวว่าการไถกลบปุ๋ย
พืชสด (ปอเทือง) ลงในดินเป็นการปรับปรุงสมบัติทางเคมีของดิน ช่วยเพิ่มปริมาณอินทรีย์วัตถุและ
ปริมาณธาตุอาหารในดิน โดยมีปริมาณไนโตรเจน 2.76 เปอร์เซ็นต์ ฟอสฟอรัส 0.22 เปอร์เซ็นต์ และ
โพแทสเซียม 2.40 เปอร์เซ็นต์ และสามารถเพิ่มอินทรียวัตถุให้กับดินได้เฉลี่ย 0.20 เปอร์เซ็นต์ การใช้
ปุ๋ยพืชสดนั้นเป็นการเพิ่มความอุดมสมบรูณ์ให้กับดิน ทั้งทางด้านกายภาพ และทางด้านเคมี เมื่อมีการ
ใช้อย่างต่อเนื่องท าให้สามารถลดต้นทุนในเรื่องการใช้ปุ๋ยเคมีได้
สมบัติทางเคมีของดินหลังเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าว มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างอยู่ในระดับกรด
ปานกลาง (pH 5.7) มีปริมาณอินทรียวัตถุในดินอยู่ในระดับต่ า (0.94 เปอร์เซ็นต์) ปริมาณฟอสฟอรัส
ที่เป็นประโยชน์อยู่ในระดับต่ า (5 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม) และปริมาณโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์อยู่
ในระดับต่ า (43 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม) ปริมาณธาตุอาหารในดินที่ลดลงเกิดจากน าธาตุอาหารไปใช้ใน