Page 28 - การใช้ปุ๋ยพืชสด (ปอเทือง) ร่วมกับเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดินเพื่อปรับปรุงบำรุงดินและเพิ่มผลผลิตข้าว พื้นที่ตำบลพลับพลาไชย อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี
P. 28

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       18







                                                            บทที่  3
                                                          ตรวจเอกสาร


                       3.1 ปุ๋ยพืชสด
                              ปุ๋ยพืชสด คือ ปุ๋ยอินทรีย์ชนิดหนึ่งซึ่งได้จากการไถกลบต้น ใบ และส่วนต่างๆ ของพืช

                       โดยเฉพาะพืชตระกูลถั่วที่ปลูกไว้ หรือขึ้นเองตามธรรมชาติในระยะช่วงออกดอกจนถึงดอกบานเต็มที่
                       ซึ่งเป็นช่วงที่มีธาตุอาหารในล า ต้นสูงสุด แล้วปล่อยไว้ให้เน่าเปื่อยผุพัง ย่อยสลายเป็นอาหารแก่พืชที่
                       จะปลูก ปุ๋ยพืชสดนอกจากจะให้ธาตุไนโตรเจนซึ่งเป็นธาตุอาหารหลักแก่พืชแล้ว ยังให้ธาตุอาหารรอง
                       อื่นๆ ที่จ า เป็นแก่พืช ช่วยปรับโครงสร้างของดินให้ดีขึ้น ท าให้ดินร่วนซุยสะดวกต่อการไถพรวน (กรม

                       พัฒนาที่ดิน, 2558) ลักษณะของพืชที่จะน ามาปลูกเป็นปุ๋ยพืชสด ควรมีลักษณะปลูกง่ายเจริญเติบโต
                       เร็ว ระบบรากแข็งแรง ออกดอกในระยะเวลาอันสั้น คือประมาณ 30-60 วัน สามารถให้น ้าหนักพืชสด
                       สูง ตั้งแต่ 2,000 กิโลกรัมต่อไร่ ขึ้นไป ทนแล้ง และทนต่อสภาพต่าง ๆ ได้ดี สามารถปลูกได้ทุกฤดูกาล

                       มีความต้านทานต่อโรคและแมลง สามารถผลิตเมล็ดพันธุ์ได้มาก และขยายพันธุ์ได้รวดเร็ว เพื่อทัน
                       และเพียงพอต่อความต้องการเมล็ดงอกง่ายและมีเปอร์เซ็นต์ความงอกสูง ท าการเก็บเกี่ยว ตัดสับ และ
                       ไถกลบได้ง่ายไม่ควรเป็นเถาเลื้อยมาก เพราะจะท าให้ไม่สะดวกในการไถกลบ ล าต้น ต้นอ่อน เมื่อไถ
                       กลบแล้วเน่าเปื่อยผุพังได้รวดเร็ว และมีธาตุอาหารพืชสูง (กองเทคโนโลยีชีวภาพทางดิน, 2558)
                              ประโยชน์ของปุ๋ยพืชสด คือ ช่วยเพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุในดิน ช่วยเพิ่มธาตุไนโตรเจนซึ่งเป็น

                       ธาตุอาหารหลักให้แก่พืช ช่วยบ ารุงและรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดิน ช่วยรักษาความชุ่มชื้นในดิน
                       และให้ดินอุ้มน ้าได้ดีขึ้น ท าให้ดินร่วนซุย สะดวกในการเตรียมดินและไถพรวน ช่วยในการปราบวัชพืช
                       บางชนิดได้เป็นอย่างดี กรดที่เกิดจากการผุพังของพืชสด จะช่วยละลายธาตุอาหารในดินให้แกพืชได้

                       มากยิ่งขึ้น ช่วยลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีลงได้ ลดอัตราการสูญเสียของดินอันเกิดจากการชะล้างและ

                       ช่วยเพิ่มผลผลิตของพืชให้สูงขึ้น

                       3.2 ปอเทือง
                               ปอเทือง (Crotalaria juncea) เป็นพืชจัดอยู่ในวงศ์ Leguminosae ชื่อสามัญ Sunnhemp

                       เป็นพืชดั้งเดิมในเขตร้อน ส่วนใหญ่พบในทวีปอเมริกา และอินเดีย จัดเป็นพืชตระกูลถั่ว น าเข้ามาปลูก
                       ในประเทศไทยครั้งแรกช่วงก่อนปี พ.ศ. 2485  ที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ โดยเป็นพันธุ์
                       น าเข้าจากประเทศฟิลิปปินส์ เจริญเติบโตได้ดีในที่ระบายน้ าดี ทนแล้งได้ดี ไม่ชอบน้ าท่วมขัง (กอง
                       เทคโนโลยีชีวภาพทางดิน, 2558)
                              ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ เป็นพืชฤดูเดียว ล าต้นตั้งตรงแตกกิ่งก้านสาขามาก สูงประมาณ

                       180-300 เซนติเมตร ใบเป็นใบเดียวยาวรี ช่อดอกเป็นแบบราซีม (racemes)  ซึ่งอยู่ปลายกิ่งก้าน
                       สาขา ประกอบด้วยดอกย่อย 8-20 ดอก ดอกสีเหลืองมีการผสมข้ามฝักเป็นทรงกระบอกยาว 3-6
                       เซนติเมตร กว้าง 1-2 เซนติเมตร หนึ่งฝักมีประมาณ 6 เมล็ด (กองเทคโนโลยีชีวภาพทางดิน, 2558)

                              ลักษณะทางพืชไร่ สภาพภูมิอากาศและดิน ปอเทืองขึ้นได้ดีในสภาพอากาศทั่ว ๆ ไป ทนแล้ง
                       สภาพพื้นที่เป็นที่ดอน การระบายน้ าดี (กองเทคโนโลยีชีวภาพทางดิน, 2558) ปอเทืองสามารถขึ้นได้
                       ในดินเหนียว ดินร่วน ดินทราย หรือดินลูกรัง แต่ไม่ชอบขึ้นในดินที่ชื้นและมีน้ าขัง
   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33