Page 34 - การใช้ปุ๋ยพืชสด (ปอเทือง) ร่วมกับเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดินเพื่อปรับปรุงบำรุงดินและเพิ่มผลผลิตข้าว พื้นที่ตำบลพลับพลาไชย อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี
P. 34
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
24
ประยุทธ และคณะ (2555) ได้ศึกษาการจัดการดินที่เหมาะสมโดยใช้น้ าหมักชีวภาพร่วมกับ
การไถกลบตอซังและพืชปุ๋ยสดเพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวพันธุ์ชัยนาทในชุดดินราชบุรี วิธีการประกอบด้วย
1) วิธีแบบเกษตรกร เผาตอซังข้าว ร่วมกับใส่ปุ๋ยนาสูตร 16-20-0 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ 2) ไถกลบ
ตอซังข้าว ร่วมกับใส่น้ าหมักชีวภาพ อัตรา 20 ลิตรต่อไร่ และใส่ปุ๋ยเคมีอัตราแนะน าตามผลวิเคราะห์
ดิน 3) ไถกลบตอซังข้าว ร่วมกับใส่น้ าหมักชีวภาพอัตรา 20 ลิตรต่อไร่ และใส่ปุ๋ยเคมีครึ่งหนึ่งของ
อัตราแนะน าตามผลวิเคราะห์ดิน 4) ไถกลบตอซังข้าว ร่วมกับใส่น้ าหมักชีวภาพอัตรา 20 ลิตรต่อไร่
ร่วมกับใส่ปุ๋ยเคมีครึ่งหนึ่งของอัตราแนะน าตามผลวิเคราะห์ดิน และพืชปุ๋ยสด จากผลการทดลอง
พบว่า การไถกลบตอซังข้าว ร่วมกับใส่ปุ๋ยน้ าหมักชีวภาพอัตรา 20 ลิตรต่อไร่ และใส่ปุ๋ยเคมีครึ่งหนึ่ง
ของอัตราแนะน าตามผลวิเคราะห์ดิน มีผลต่อการเจริญเติบโตมีผลท าให้ความสูงและการแตกกอของ
ข้าวสูงกว่าวิธีอื่น และวิธีนี้ยังให้ผลผลิตข้าวสูงกว่าวิธีอื่นอีกด้วย
3.5 การผลิตสารควบคุมแมลงศัตรูพืชโดยใช้สารเร่งซุปเปอร์ พด.7
สารเร่งซุปเปอร์ พด.7 เป็นเชื้อจุลินทรีย์ที่มีคุณสมบัติในการเพิ่มประสิทธิภาพการหมักและ
ย่อยสลายพืชสมุนไพรชนิดต่าง ๆ ในสภาพที่ไม่มีออกซิเจน เพื่อผลิตสารป้องกันแมลงศัตรูพืช
ประกอบด้วยจุลินทรีย์ 3 ชนิด ได้แก่ ยีสต์ผลิตแอลกอฮอล์ และกรดอินทรีย์ แบคทีเรียผลิตเอนไซม์
เซลลูเลสย่อยสลายสารประกอบเซลลูโลส และแบคทีเรียผลิตกรดแลคติก (กรมพัฒนาที่ดิน, 2558)
การผลิตสารป้องกันแมลงศัตรูพืช มีอัตราส่วนในการผลิตประกอบด้วย พืชสมุนไพร 30
กิโลกรัม (สมุนไพรสด) กากน้ าตาล 10 กิโลกรัม น้ า 50 ลิตร สารเร่งซุปเปอร์ พด.7 1 ซอง (25 กรัม)
ท าการหมัก 21 วัน ได้น้ าหมักชีวภาพจากสารเร่งซุปเปอร์ พด 7 จ านวน 50 ลิตร สมุนไพรที่ใช้
ป้องกันพวกเพลี้ย ได้แก่ ตะไคร้หอม หางไหล สาบเสือ หนอนตายหยาก บอระเพ็ด กระทกรก และข่า
เป็นต้น สมุนไพรป้องกันหนอนกระทู้ หนอนชอนใบ ได้แก่ ฟ้าทะลายโจร หางไหล ตะไคร้หอม เปลือก
แค สาบเสือ หนอนตายหยาก สะเดา ว่านเศรษฐี และว่านน้ า เป็นต้น สมุนไพรที่ป้องกันและเป็นพิษ
ต่อแมลงวันทอง ได้แก่ หมาก เมล็ดน้อยหน่า เมล็ดเงาะ ยาสูบ พริกไทยด า ขิง และพญาไร้ใบ
สมุนไพรที่ใช้ไล่แมลงไม่ให้วางไข่ ได้แก่ ค าแสด มะกรูด ตะไคร้ เมล็ดละหุ่ง มะนาว พริก และพริกไทย
เป็นต้น
การพิจารณาสารป้องกันแมลงศัตรูพืชที่สมบูรณ์แล้ว การเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ลดลง มี
กลิ่นแอลกอฮอล์ลดลง กลิ่นเปรี้ยวเพิ่มสูงขึ้น ไม่ปรากฏฟองก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO ) ความเป็น
2
กรดเป็นด่างของสารป้องกันแมลงศัตรูพืชมี pH ต่ ากว่า 4
คุณสมบัติของสารป้องกันแมลงศัตรูพืช มีสารไล่แมลงชนิดต่างๆ เช่น แอลคาลอยด์ น้ ามัน
หอมระเหย ไกลโคไซด์ และแทนนิน เป็นต้น มีกรดอินทรีย์หลายชนิด เช่น กรดอะซีติค กรดแลคติค
กรดฟอร์มิค และกรดซัลซินิค เป็นต้น มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างระหว่าง 3-4
อัตราการใช้และวิธีใช้ สารป้องกันแมลงศัตรูพืช ส าหรับพืชไร่ และไม้ผล : น้ าเท่ากับ 1 : 200
ลิตร ใช้สารป้องกันแมลงศัตรูพืชที่เจือจางแล้วฉีดพ่นหรือรดลงดินในอัตรา 50 ลิตรต่อไร่ ส าหรับ
พืชผัก และไม้ดอก : น้ าเท่ากับ 1 : 500 ลิตร ใช้สารป้องกันแมลงศัตรูพืชที่เจือจางแล้วฉีดพ่นหรือรด
ลงดินในอัตรา 100 ลิตรต่อไร่