Page 32 - การใช้ปุ๋ยพืชสด (ปอเทือง) ร่วมกับเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดินเพื่อปรับปรุงบำรุงดินและเพิ่มผลผลิตข้าว พื้นที่ตำบลพลับพลาไชย อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี
P. 32
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
22
3.3.4 การใส่ปุ๋ยให้พืชตรงจุดที่พืชสามารถดึงดูดไปใช้ประโยชน์ได้ง่ายและเร็วที่สุด
นอกจากจังหวะการใส่แล้ว วิธีการใส่เพื่อให้พืชดึงดูดไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น มีความ
ส าคัญเป็นอย่างมาก ทั้งนี้เนื่องจากในทันทีทันใดที่ปุ๋ยลงไปอยู่ในดิน ปฏิกิริยาการเปลี่ยนแปลง และ
การเคลื่อนย้ายของปุ๋ยจะเกิดขึ้นทันที (คณาจารย์ภาควิชาปฐพีวิทยา, 2548)
3.4 การผลิตน้ าหมักชีวภาพโดยใช้สารเร่งซุปเปอร์ พด.2
น้ าหมักชีวภาพ หมายถึง สารละลายที่ได้จากการย่อยสลายวัสดุเหลือใช้จากส่วนของพืชหรือ
สัตว์ โดยผ่านกระบวนการหมักที่มีออกซิเจนหรือไม่มีออกซิเจน มีลักษณะเป็นของเหลว แนะน าให้ใช้
ผสมกับน้ าพ่นให้แก่พืช โดยในน้ าหมักมีสารที่อาจช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืช เช่น กรดฮิวมิก
ฮอร์โมน เอนไซม์ และจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ (อ านาจ, 2551)
กรมพัฒนาที่ดิน (2558) กล่าวว่า น้ าหมักชีวภาพเป็นน้ าหมักที่ได้จากการหมักเศษชิ้นส่วน
ของพืชและสัตว์ กากน้ าตาลและน้ า โดยใช้จุลลินทรีย์เป็นตัวย่อยสลาย น้ าหมักชีวภาพจะมีธาตุ
อาหารพืชมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับวัสดุที่น ามาใช้หมัก น้ าหมักชีวภาพที่ผลิตจากสัตว์จะมีธาตุอาหาร
มากกว่าน้ าหมักชีวภาพที่ผลิตจากพืช
สารเร่งซุปเปอร์ พด.2 เป็นเชื้อจุลินทรีย์ที่มีคุณสมบัติในการย่อยสลายวัสดุการเกษตรใน
ลักษณะสด อวบน้ า หรือมีความชื้นสูง เพื่อผลิตปุ๋ยอินทรีย์น้ า โดยด าเนินกิจกรรมทั้งในสภาพที่ไม่มี
อากาศและมีอากาศ ประกอบด้วยจุลินทรีย์ 5 สายพันธุ์ ได้แก่ ยีสต์ ผลิตแอลกอฮอล์และกรดอินทรีย์
แบคทีเรียผลิตกรดแลคติก แบคทีเรียย่อยสลายโปรตีน แบคทีเรียย่อยสลายไขมัน แบคทีเรียละลาย
อนินทรีย์ฟอสฟอรัส จุดเด่นของสารเร่งซุปเปอร์ พด.2 สามารถผลิตน้ าหมักชีวภาพจากวัตถุดิบได้
หลากหลาย เช่น ผัก ผลไม้ ปลา หอยเชอรี่ เปลือกไข่ เศษก้างและกระดูกสัตว์ เพิ่มประสิทธิภาพการ
ละลายธาตุอาหารในการหมักวัตถุดิบจากเปลือกไข่ ก้าง และกระดูกสัตว์ เป็นจุลินทรีย์ที่เจริญได้ใน
สภาพความเป็นกรดได้ สามารถผลิตน้ าหมักชีวภาพในเวลาสั้นและได้คุณภาพ ช่วยให้พืชแข็งแรง
ต้านทานต่อการเข้าท าลายของโรคและแมลง
การผลิตน้ าหมักชีวภาพที่กรมพัฒนาที่ดินแนะน า มีด้วยกัน 2 สูตร คือ น้ าหมักชีวภาพจากผัก
และผลไม้ โดยมีอัตราส่วนในการผลิตประกอบด้วย ผักหรือผลไม้ 40 กิโลกรัม กากน้ าตาล 10
กิโลกรัม น้ า 10 ลิตร สารเร่งซุปเปอร์ พด.2 1 ซอง (25 กรัม) ท าการหมัก 7-10 วัน จะได้น้ าหมัก
ชีวภาพจ านวน 50 ลิตร และน้ าหมักชีวภาพจากปลาหรือหอยเชอรี่ โดยมีอัตราส่วนในการผลิต
ประกอบด้วยปลาหรือหอยเชอรี่ 30 กิโลกรัม ผักหรือผลไม้ 10 กิโลกรัม กากน้ าตาล 10 กิโลกรัม น้ า
10 ลิตร และสารเร่งซุปเปอร์ พด.2 1 ซอง (25 กรัม) ท าการการหมัก 20–30 วัน จะได้น้ าหมัก
ชีวภาพจ านวน 50 ลิตร น้ าหมักชีวภาพที่หมักสมบูรณ์แล้ว พิจารณาได้จาก การเจริญของจุลินทรีย์
น้อยลง โดยคราบเชื้อที่พบในช่วงแรกจะลดลง ไม่พบฟองก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ กลิ่นแอลกอฮอล์
ลดลง ความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) อยู่ระหว่าง 3-4
อัตราและวิธีการใช้ ในนาข้าว ช่วงการเตรียมดิน ใช้น้ าหมักชีวภาพ 5 ลิตรต่อไร่ ฉีดพ่นหรือ
รดลงดินระหว่างการเตรียมดินหรือก่อนการไถกลบตอซัง ช่วงการเจริญเติบโต น าน้ าหมักชีวภาพเจือ
จางอัตรา 1 : 500 ลิตร เทลงในนาข้าวหรือฉีดพ่น เมื่อข้าวอายุได้ 30 วัน และ 50 วัน
ประโยชน์ของน้ าหมักชีวภาพ ส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช โดยพบว่าน้ าหมักชีวภาพจาก