Page 63 - แนวทางการลดต้นทุนในการผลิตยางพาราที่ปลูกในพื้นที่เขตความเหมาะสมปานกลาง (S2) จังหวัดตราด
P. 63

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                        49


                   จะท าให้ต้นยางเจริญเติบโตช้ากว่าปกติ 6 เดือน แต่ใน ปัจจุบันพบว่าสามารถปลูกยางไดจนถึงระดับความ
                   สูงจากระดับน้าทะเลไมเกนิ 600 เมตร และควรเป็นพื้นที่ราบหรือมีความลาดเทเล็กน้อยไม่ควรเกิน 35

                   องศา การปลูกยางในพนที่ที่มีความลาดเทสูงขึ้นจะเกิดการชะล้างผิวหน้าดินสูงจนอาจเกดแผ่นดินถล่มได้
                   ง่ายหากมีปริมาณฝนตกหนักมาก ติดต่อกันหลายวัน อุณหภูมิที่เหมาะสมสาหรับการปลูกยางพาราเฉลี่ย

                   ตลอดปี 28 องศาเซลเซียส และไม่ควรปลูกยางในแหล่งที่มีอุณหภูมิต่ ากว่า 15 องศา เซลเซียส เพราะจะ
                   ท าให้ต้นยางชะงักการเจริญเติบโตดังนั้นการปลูกยางบนที่สูงจึงมีผลต่อการเจริญเติบโตของต้นยาง  ทั้งนี้

                   เนื่องจากที่ระดับระดับความสูงที่เพิ่มขึ้นทุกๆ  100  เมตรจะท าให้อุณหภูมิลดลง  0.5  องศาเซลเซียส
                   ยางพาราเจริญเติบโตในแหล่งที่มีฝนตกสม่ าเสมอตลอดปี และมีปริมาณน้ าฝนเฉลี่ย 2,000 มิลลิเมตรต่อปี
                   แหล่งปลูกยางพาราของประเทศไทยทั้งภาคใต้และภาคตะวันออก  ส่วนใหญ่มีปริมาณน้ าฝนมากกว่า

                   1,400 มิลลิเมตรต่อปี อย่างไรก็ตาม ในพื้นที่ที่มีปริมาณน้ าฝนต่ ากว่านี้คือมีปริมาณน้ าฝน 1,200 – 1,400
                   มิลลิเมตรต่อปี  เช่น  ในพื้นที่ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ  ก็สามารถปลูกยางพาราไดแต่

                   ทั้งนี้ต้องมีจ านวนวันฝนตกฝนตก 120 - 150 วันต่อปี (กรมวิชาการเกษตร, 2550)
                          3.6.2 ลักษณะดิน

                          ดินที่เหมาะสมต่อการปลูกยางพาราควรมีคุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมีเหมาะสม  ซึ่ง
                   คุณสมบัติทางกายภาพ  ได้แก่  ความลึกของหน้าดิน  ปกติต้นยางต้องการดินที่มีหน้าดินลึกไม่น้อยกว่า1

                   เมตร  โดยไม่มีชั้นของหินแข็งหรือดินดานขัดขวางการเจริญเติบโตของราก  มีการระบายน้ าดี  ไม่มีน้ าขัง
                   และระดับน้ าใต้ดินลึกกว่า 1 เมตร ลักษณะโครงสร้างของดินควรเป็นดินที่มีลักษณะเป็นก้อนเหลี่ยมมุมมน
                   มีความร่วนเหนียวพอเหมาะ  อุ้มน้ าได้ดีเนื้อดินควรเป็นดินเหนียว  ร่วนเหนียว  ร่วน  หรือร่วนปนทราย

                   กล่าวคือ ควรมีอนุภาคดินเหนียวอย่างน้อยประมาณ 35 % เพื่อให้ดินสามารถเก็บความชื้นและดูดซับธาตุ
                   อาหารได้ดี และมีอนุภาคดินทรายประมาณ 30% เพื่อให้ดินมีการระบายอากาศดี ดินที่มีเนื้อดินเหมาะสม

                   ต่อการปลูกยาง ได้แก่ ชุดดินอ่าวลึก ดินเป็นดินเหนียว ชดดินภูเก็ต เป็นดินร่วนเหนียวปนทราย ชุดดินคอ
                   หงส์  เป็นดินร่วนทราย  เป็นต้น  ส่วนดินที่เหมาะสมกับการปลูกยางจะมีเนื้อดินเป็นดินทรายซึ่งมีอนุภาค

                   ของดินทรายประมาณ 80% ดินลักษณะนี้จะดูดน้ าและธาตุอาหารได้น้อยท าให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ า
                   และขาดความชื้นในฤดูแลง  ส่วนคุณสมบัติทางเคมีควรเป็นดินที่มีธาตุอาหารหลัก  และธาตุอาหารรอง

                   อย่างเพียงพอ แต่ไม่มากเกินไปจนอาจท าให้เกิดอันตรายกับพืช ความเป็นกรดเป็นด่าง ประมาณ 4.5 -
                   5.5 และไม่เป็นดินเกลือ (กรมวิชาการเกษตร, 2550)


                   3.7 การใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินในยางพารา
                          3.7.1 การใส่ปุ๋ยในยางพารา สามารถท าได้ 2 วิธีตามอายุของยางคือ

                                   3.7.1.1 การใส่ปุ๋ยตามลักษณะเนื้อดิน  วิธีนี้ใช้ได้กับทั้งยางพาราอายุก่อนกรีดและยางที่ให้
                   ผลผลิตแล้ว  โดยอัตราการใช้จะแตกต่างกันไปตามอายุของยางและลักษณะเนื้อดินที่ปลูกตาม ตารางที่ 13
   58   59   60   61   62   63   64   65   66   67   68