Page 68 - แนวทางการลดต้นทุนในการผลิตยางพาราที่ปลูกในพื้นที่เขตความเหมาะสมปานกลาง (S2) จังหวัดตราด
P. 68

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                        54


                   ในดินเพราะมีซิลิกอน  แคลเซียม (ในรูปของ CaCO   และ CaO) มีโพแทสเซียม (ในรูปของK SO   และ
                                                                                                    4
                                                              3
                                                                                                 2
                   K CO )  และมีธาตุอาหารรองในระดับสูง  แต่ถ้าจะใช้ขี้เถ้าเป็นปุ๋ยโดยตรงจะต้องมีการเติมปุ๋ยไนโตรเจน
                        3
                    2
                   ด้วยเพราะขี้เถ้ามีธาตุโพแทสเซียมสูง  แต่มีไนโตรเจนต่ ามาก (อัตราส่วน N:P:K = 0: 1: 3)  ส่วนประเทศ
                   ไทยมีการใช้ประโยชน์จากขี้เถ้าเช่นกัน  เช่นการผลิตปุ๋ยโพแทสเซียมซิลิเกตชนิดละลายช้าจากขี้เถ้าลอย
                   ลิกไนต์  (Wungdheethum, 1993)  เป็นต้น


                   3.11 ผลการวิเคราะห์คุณสมบัติทางเคมีปุ๋ยอินทรีย์ที่ใช้ในแปลงทดสอบ
                           ผลจากการวิเคราะห์ปุ๋ยอินทรีย์ ทั้ง 2  ชนิดที่ใช้ในแปลงทดลอง (ตารางที่ 17) พบว่าแหล่งของ
                   ธาตุไนโตรเจนและโพแทสเซียม ซึ่งเป็นธาตุอาหารหลักที่มีความต้องการในปริมาณมากในกระบวนการ

                   สร้างน้ ายางพารานั้น ได้จากหอยเชอรี่บดทั้งเปลือกและขี้เถ้ากาบมะพร้าวเป็นหลัก โดยปริมาณไนโตรเจน
                   ได้จากหอยเชอรี่บดทั้งเปลือก 3.85 เปอร์เซ็นต์ รองลงมาคือขี้เถ้ากาบมะพร้าว 0.32 เปอร์เซ็นต์ ปริมาณ

                   โพแทสเซียมได้มาจากขี้เถ้ากาบมะพร้าว 16.1  เปอร์เซ็นต์ รองลงมาคือหอยเชอรี่บดทั้งเปลือก 0.24
                   เปอร์เซ็นต์ ส่วนธาตุฟอสฟอรัสซึ่งพืชใช้ในกระบวนการสร้างน้ ายางพาราเพียงเล็กน้อยนั้น ได้มาจากขี้เถ้า

                   กาบมะพร้าว 4.15 เปอร์เซ็นต์และหอยเชอรี่บดทั้งเปลือก 0.91 เปอร์เซ็นต์ ปริมาณอินทรียวัตถุที่ใช้เป็น
                   วัตถุดิบหลักในการปรับปรุงดินในแปลงทดลอง ได้มาจากหอยเชอรี่บดทั้งเปลือก 25.47 เปอร์เซ็นต์

                   รองลงมาคือ ขี้เถ้ากาบมะพร้าว 7.96 เปอร์เซ็นต์
                         เมื่อเปรียบเทียบคุณสมบัติทางเคมีของปุ๋ยอินทรีย์ ตามประกาศกรมวิชาการเกษตร พ.ศ. 2548
                   (ราชกิจจานุเบกษา,  2548) พบว่าหอยเชอรี่บดแห้งทั้งเปลือก มีอัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจน (C/N),

                   ปริมาณไนโตรเจน (N), ปริมาณฟอสฟอรัส (P), ค่าความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) และค่าการน าไฟฟ้า (Ec)
                   ผ่านมาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์ ส่วนปริมาณอินทรียวัตถุ (OM)   และปริมาณโพแทสเซียม (P)  ไม่ผ่านเกณฑ์

                   มาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์  ซึ่งอาจท าการปรับสูตร เพิ่มวัตถุดิบชนิดอื่นที่ให้ธาตุไนโตรเจนและโพแทสเซียมสูง
                   ร่วมด้วย เพื่อให้ผ่านมาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์ โดยทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ในการผลิตปุ๋ยอินทรีย์เป็นหลัก

                   ส่วนขี้เถ้ากาบมะพร้าว มีอัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจน (C/N),  ปริมาณฟอสฟอรัส (P)  และปริมาณ
                   โพแทสเซียม (P) ผ่านมาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์ ส่วนปริมาณอินทรียวัตถุ (OM), ปริมาณไนโตรเจน (N),  ค่า

                   ความเป็นกรดเป็นด่าง (pH)  และค่าการน าไฟฟ้า (Ec) ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์ ซึ่งปริมาณ
                   อินทรียวัตถุ (OM),  และปริมาณไนโตรเจน (N) สามารถเพิ่มวัตถุดิบชนิดอื่นที่มีปริมาณอินทรียวัตถุ (OM)
                   และไนโตรเจนสูง (N)  ร่วมได้ แต่ค่าความเป็นกรดเป็นด่าง (pH)  และค่าการน าไฟฟ้า (Ec) ควรมีการ

                   ระมัดระวังในการใช้เพราะมีค่าสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ซึ่งอาจกระทบต่อการเจริญเติบโตและการให้ผล
                   ผลิตของพืชได้
   63   64   65   66   67   68   69   70   71   72   73