Page 66 - แนวทางการลดต้นทุนในการผลิตยางพาราที่ปลูกในพื้นที่เขตความเหมาะสมปานกลาง (S2) จังหวัดตราด
P. 66

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                        52


                   ยาง 1 ตัน สูญเสียธาตุไนโตรเจน 20 กิโลกรัม ฟอสฟอรัส 5 กิโลกรัม โพแทสเซียม 25 กิโลกรัม
                   แมกนีเซียม 5 กิโลกรัม รวมทั้งธาตุอาหารอื่น เช่นแคลเซียม เหล็ก แมงกานีส สังกะสี ทองแดง หากไม่มี

                   การใส่ปุ๋ยชดเชยธาตุอาหารที่สูญเสียไปจากดินจะท าให้ดินขาดความสมดุลของธาตุอาหาร  ประกอบกับ
                   การเกิดการชะล้างพังทลายของดินที่ท าให้อินทรียวัตถุตามธรรมชาติในดินลดลง ดังนั้นจึงจ าเป็นต้องใส่ปุ๋ย

                   เพื่อบ ารุงดินและเพิ่มอินทรียวัตถุให้แก่ดิน ทั้งในรูปของปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ การใส่ปุ๋ยเคมีให้ได้ผลดีและ
                   เกิดประสิทธิภาพสูงนั้นเกษตรกรต้องมีความรู้เรื่องสมบัติของดิน ความต้องการธาตุอาหารของยางพารา

                   ปุ๋ยและวิธีการใส่ปุ๋ยให้ถูกสูตรและอัตราที่เหมาะสม หรือใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินถูกเวลา ถูกวิธีและควร
                   ใส่ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ (สถาบันวิจัยยาง, 2555)


                   3.9 ปริมาณธาตุอาหารในหอยเชอรี่
                          หอยเชอรี่มีโปรตีนสูงและให้ธาตุอาหารหลายชนิดที่มีประโยชน์  เนื้อหอยมีระดับโภชนะใกล้เคียง

                   กับปลาป่นแต่มีระดับไขมันและฟอสฟอรัสรวมต่ ากว่า  การใช้ประโยชน์นอกจากจะน ามาบริโภคหรือผลิต
                   เป็นปุ๋ยอินทรีย์น้ าแล้วยังมีการน ามาใช้เป็นอาหารสัตว์อีกด้วยตามรายงานต่างๆเช่น  ใช้หอยเชอรี่บดแห้ง

                   ทั้งเปลือกเพื่อทดแทนโปรตีนจากปลาป่นในสูตรอาหารไก่ไข่ได้สูงสุด 100 เปอร์เซ็นต์โดยคุณภาพของไข่ไม่
                   แตกต่างทางสถิติจากกลุ่มควบคุมที่ใช้ปลาป่นเป็นอาหาร (สมศักดิ์, 2542)   ใช้หอยเชอรี่บดแห้งทั้งเปลือก

                   ทดแทนอาหารไก่ไข่และเป็ดไข่ส าเร็จรูปได้ที่ระดับ 10 เปอร์เซ็นต์ โดยที่คุณภาพของไข่ไม่แตกต่างทางสถิติ
                   จากกลุ่มควบคุมที่ใช้อาหารส าเร็จรูปเพียงอย่างเดียว (ธีรวัฒน์, 2545)  และใช้เนื้อหอยเชอรี่บดแห้งผสม
                   มันเส้นบดหรือปลายข้าวทดแทนอาหารไก่กระทงและเป็ดเนื้อส าเร็จรูปได้ระดับ 10  เปอร์เซ็นต์โดยที่ไก่

                   กระทงและเป็ดเนื้อมีลักษณะการเจริญเติบโตไม่แตกต่างทางสถิติจากกลุ่มควบคุมที่ใช้อาหารส าเร็จรูป
                   เพียงอย่างเดียว (นพแสน, 2548) เป็นต้น

                          คุณค่าทางโภชนะของหอยเชอรี่เมื่อเทียบกับปลาป่น  เนื้อหอยเชอรี่มีโปรตีนสูงและมีแร่ธาตุหลาย
                   ชนิดที่มีประโยชน์  โดยมีการศึกษาคุณค่าทางโภชนะของเนื้อหอยเชอรี่เปรียบเทียบกับปลาป่นตามตาราง

                   ที่ 16 ดังนี้
   61   62   63   64   65   66   67   68   69   70   71