Page 62 - แนวทางการลดต้นทุนในการผลิตยางพาราที่ปลูกในพื้นที่เขตความเหมาะสมปานกลาง (S2) จังหวัดตราด
P. 62

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                        48


                                   3.5.7.2 การปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์ของดิน ดินในกลุ่มชุดดินนี้มีความอุดมสมบูรณ์
                   ตามธรรมชาติต่ า จึงควรใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมี ส าหรับชนิดและอัตราของปุ๋ยเคมีที่ใช้ จะแตกต่างกัน

                   ตามผลการวิเคราะห์ดินและชนิดของพืช ดังจะได้อธิบายต่อไป ส่วนปุ๋ยอินทรีย์ ได้แก่ ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก
                   นอกจากนี้อาจเศษวัสดุในท้องถิ่น เช่น ทะลายเปล่าปาล์มน้ ามัน เปลือกกาแฟ หรือขุยมะพร้าว ปุ๋ยอินทรีย์

                   เหล่านี้จะสลายตัวและปลดปล่อยธาตุอาหารอย่างช้าๆ  ทั้งช่วยปรับปรุงสมบัติทางกายภาพ  เคมีและ
                   ชีวภาพของดินด้วย

                                   3.5.7.3 การจัดระบบการปลูกพืชให้เหมาะสม เป็นวิธีเพิ่มผลผลิตของพืชและผลิตภาพ
                   ของดิน ซึ่งได้แก่ 1) การปลูกพืชหมุนเวียนระหว่างพืชตระกูลถั่วกับพืชหลัก 2) ปลูกพืชตระกูลถั่วเป็นแซม
                   ระหว่างแถวพืชหลัก และ 3) ปลูกพืชแซมหรือพืชคลุมดินระหว่างแถวไม้ผล การใช้ระบบการปลูกพืชนี้จะ

                   ช่วยอนุรักษ์ดินและเพิ่มความอุดมสมบูรณ์แก่ดินด้วย พืชแซมระหว่างแถวไม้ผล ได้แก่ ถั่วลิสง สับปะรด
                   มะละกอ แตงโม ฯลฯ

                                  3.5.7.4 การอนุรักษ์ดินและน้ า มีความส าคัญส าหรับกลุ่มชุดดินนี้ เนื่องจาก 1) มีชั้นของ
                   ลูกรังปะปนในหน้าตัดดินเป็นปริมาณมาก และ 2) มีความลาดเทอยู่ระหว่าง 2-30 เปอร์เซ็นต์ หากความ

                   ลาดเทเกิน  12 เปอร์เซ็นต์  จะเกิดการชะล้างพังทลายสูง  จึงจ าเป็นต้องมีการอนุรักษ์ดินและน้ าอย่าง
                   เหมาะสม ได้แก่ 1) การปลูกพืชคลุมดิน 2) การปลูกหญ้าแฝกตามแนวระดับขวางความลาดเท และ 3)

                   ปลูกพืชตระกูลถั่วแซมพืชหลัก
                          3.5.8 ข้อเสนอแนะ
                          กลุ่มชุดดินที่ 45 มีศักยภาพในการปลูกยางพารา มะม่วงหิมพานต์ ปาล์มน้ ามัน มะพร้าว พืชไร่

                   และไม้ผลชนิดต่างๆ เช่น ทุเรียน มังคุด ตลอดจนสามารถพัฒนาเป็นทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ ดินไม่ค่อยเหมาะสม
                   ส าหรับพืชผัก  เพราะขาดแหล่งน้ า  และไม่เหมาะสมในการท านา  เนื่องดินเก็บกักน้ าไม่ได้  อย่างไรก็ตาม

                   เพื่อให้การใช้ประโยชน์มีประสิทธิผลสูงสุด  ควรใช้ระบบเกษตรแบบผสมผสาน  คือ  ท ากิจกรรมทางการ
                   เกษตรหลายอย่างร่วมกัน และกิจกรรมเหล่านั้นเกื้อกูลซึ่งกันและกัน เช่น การปลูกพืชอาหารสัตว์ในสวนไม้

                   ผล การปลูกพืชอายุสั้นพวก ถั่วต่างๆ แตงโม แซมในสวนยางพารา หรือมีการปลูกพืชอื่นๆ ร่วมกับการ
                   เลี้ยงสัตว์


                   3.6 สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมที่เหมาะสมต่อการปลูกยางพารา
                          สภาพแวดล้อมต่างๆ เป็นปัจจัยส าคัญที่เกี่ยวข้องโดยตรงต่อการเจริญเติบโตของต้นยาง การ

                   พิจารณาเพื่อปลูกสร้างสวนยาง จึงต้องค านึงถึงสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องและเหมาะสม ดังนี้
                          3.6.1 สภาพพื้นที่และภูมิอากาศ

                          พื้นที่ที่เหมาะสมสาหรับการปลูกยางพาราควรสูงจากระดับน้ าทะเลไม่เกิน 200 เมตร ซึ่งยางพารา
                   จะเจริญเติบโตเป็นปกติ คือ สามารถกรีดยางไดเมื่ออายุประมาณ 6 ปี เมื่อความสูงเพิ่มขึ้นทุกๆ100 เมตร
   57   58   59   60   61   62   63   64   65   66   67