Page 58 - แนวทางการลดต้นทุนในการผลิตยางพาราที่ปลูกในพื้นที่เขตความเหมาะสมปานกลาง (S2) จังหวัดตราด
P. 58

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                        44


                   3.5 การจัดการกลุ่มชุดดินที่ 45 ที่มีความเหมาะสมปานกลาง (S2) ในการปลูกยางพาราในจังหวัดตราด
                          กรมพัฒนาที่ดิน (2548) กล่าวว่า การจัดการทรัพยากรดินในกลุ่มชุดดินที่  45  อย่างมี

                   ประสิทธิภาพ จ าเป็นต้องทราบข้อมูลที่ถูกต้องใน 3 เรื่อง คือ 1) สภาพแวดล้อมเกี่ยวกับกลุ่มชุดดินนี้ 2)
                   สมบัติที่ส าคัญของดิน และ 3) วิธีการจัดการดินอย่างเหมาะสม รายงานนี้จึงกล่าวถึงสภาพภูมิอากาศใน

                   ภาคต่างๆ ที่พบกลุ่มชุดดิน วัตถุต้นก าเนิดดิน ภูมิสัณฐานสภาพพื้นที่ ความลาดชันและการชะล้างพังทลาย
                   ของหน้าดิน  การระบายน้ า  พืชพรรณและการใช้ประโยชน์เพื่อการเพาะปลูก  ชื่อชุดดินในกลุ่มและการ

                   จ าแนกระดับวงศ์ตามระบบอนุกรมวิธานดิน  การแพร่กระจายของกลุ่มชุดดินในภาคและจังหวัดต่างๆ
                   ลักษณะของกลุ่มชุดดินและชุดดิน  ระดับความอุดมสมบูรณ์  ชั้นความเหมาะสมส าหรับพืชต่างๆ  โดย
                   พิจารณาจากปัญหาและข้อจ ากัดในการปลูกพืช การจัดการแก้ปัญหาเพื่อให้เหมาะสมกับพืชแต่ละประเภท

                   ในการบ ารุงดินได้เน้นการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชนิดต่างๆ เพื่อเพิ่มพูนความอุดมสมบูรณ์ของดิน เสริมสร้างสมบัติ
                   ที่ดีของดินด้านกายภาพ เคมีและชีวภาพ รวมทั้งการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ตามความจ าเป็น ส าหรับ

                   พืชไร่และพืชสวนแต่ละชนิด ทั้งนี้เพื่อให้เกษตรกรสามารถพัฒนาพื้นที่เพาะปลูกให้มีผลิตภาพสูง และเป็น
                   ระบบการเกษตรยั่งยืนตลอดไป

                          3.5.1. สภาพแวดล้อมและข้อมูลทั่วไป
                                  3.5.1.1 สภาพภูมิอากาศ

                          สภาพภูมิอากาศ  ได้แก่  ปริมาณน้ าฝน  การระเหยน้ า  อุณหภูมิเฉลี่ยและความชื้นสัมพัทธ์ของ
                   จังหวัดต่างๆ ที่พบกลุ่มชุดดินที่ 45 แสดงไว้ในตารางที่ 10
                   ตารางที่ 11 สภาพภูมิอากาศ ปริมาณน้ าฝน ของจังหวัดในภาคตะวันออกที่พบกลุ่มชุดดินที่ 45

                                                                               อุณหภูมิเฉลี่ย/ปี  ความชื้นสัมพัทธ์
                                                  ปริมาณน้ าฝน   การระเหยน้ า
                        ภาค           จังหวัด                                  (องศาเซลเซียส)   เฉลี่ย/ปี (%)
                                                    (มม./ปี)       (มม./ปี)
                                                                                ชวง    เฉลี่ย   ชวง   เฉลี่ย

                   ตะวันออก       ระยอง            1,300-1,800   1,670-1,690   25-33    28    64-89    77
                                  ชลบุรี           1,200-1,600   1,690-1,700   25-32    28    49-70    60
                                  จันทบุรี         1,200-1,300   1,630-1,695   22-33    27    52-88    71
                                  ตราด             1,800-4,000   1,640-1,660   23-32    27    62-92    80

                                  สระแกว           1,300-1,600   1,690-1,700   24-34    28    56-93    77
                   ที่มา : กรมพัฒนาที่ดิน (2548)


                                 3.5.1.2  วัตถุต้นก าเนิดดิน  :  เกิดจากตะกอนที่น้ าพัดพามาทับถมกันเป็นเวลานานและ
                   จากการสลายตัวผุพังอยู่กับที่ของหินตะกอนเนื้อละเอียด

                                 3.5.1.3 ภูมิสัณฐาน : ตะพักล าน้ า บริเวณพื้นที่ที่เหลือจากการกัดกร่อน และบริเวณพื้นที่
                   ลาดเชิงเขา (footslope)
   53   54   55   56   57   58   59   60   61   62   63