Page 61 - แนวทางการลดต้นทุนในการผลิตยางพาราที่ปลูกในพื้นที่เขตความเหมาะสมปานกลาง (S2) จังหวัดตราด
P. 61

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                        47


                          3.5.5  การประเมินความเหมาะสมส าหรับการปลูกพืช  กลุ่มชุดดินที่  45  มีศักยภาพในการปลูก
                   ยางพารา มะม่วงหิมพานต์ และพัฒนาเป็นทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์มากกว่าการท านา เนื่องจากเป็นที่ดอน สภาพ

                   พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นลูกคลื่นลอนลาดถึงเป็นเนินเขา นอกจากนี้ยังใช้ปลูกไม้ผลชนิดต่างๆ เช่น โกโก้ มังคุด
                   ปาล์มน้ ามัน มะพร้าวและพืชไร่ชนิดต่างๆ แม้ว่าจะไม่ค่อยเหมาะสมกับพืชดังกล่าวนัก เนื่องจากดินมีชั้น

                   ก้อนกรวดหรือชั้นลูกรังในระดับความลึก 50 ซม. ซึ่งขัดขวางการเจริญเติบโตของรากพืช กลุ่มชุดดินนี้ไม่
                   เหมาะสมในการท านา เนื่องจากมีสภาพพื้นที่สูง ยากต่อการเก็บกักน้ า

                          3.5.6 ปัญหาและข้อจ ากัดในการปลูกพืช
                          ในสภาพปัจจุบันมีการปลูกยางพารา  มะม่วงหิมพานต์  และไม้ผลชนิดต่างๆ  ซึ่งนับว่าค่อนข้าง
                   เหมาะสมในการใช้ประโยชน์อยู่แล้ว อย่างไรก็ตามการใช้ประโยชน์กลุ่มชุดดินที่ 45 ในการปลูกพืชต่างๆ มี

                   ปัญหาและข้อจ ากัดดังนี้
                                  3.5.6.1  ดินตื้น  กลุ่มชุดดินนี้เป็นดินตื้น  มีชั้นดินปนก้อนกรวดหรือลูกรังมาก  รากพืช

                   เจริญเติบโตยากผลผลิตจึงต่ า
                                  3.5.6.2 การชะล้างพังทลายของดินสูง การที่เป็นดินตื้น มีก้อนกรวดปะปนในหน้าตัดดิน

                   มาก  และเป็นพื้นที่มีความลาดชันสูง  หากไม่มีการอนุรักษ์ดินและน้ าอย่างเหมาะสม  จะมีการชะล้าง
                   พังทลายของหน้าดินมาก

                                  3.5.6.3 ความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ า ผลการประเมินความอุดมสมบูรณ์ของดินในแต่ละ
                   ชุดดิน พบว่าส่วนใหญ่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ า
                                  3.5.6.4 ขาดแคลนน้ าในการเพาะปลูก เนื่องจากกลุ่มชุดดินนี้เป็นดินตื้น สภาพพื้นทีเป็น

                   ลูกคลื่นและระดับน้ าใต้ดินอยู่ลึก จึงอาจมีปัญหาการขาดแคลนน้ าในระยะที่ฝนทิ้งช่วงนาน ส่วนการพัฒนา
                   แหล่งน้ าก็ท าได้ยากเนื่องจากสภาพพื้นที่ไม่อ านวย  อย่างไรก็ตามกลุ่มชุดดินนี้มักพบในบริเวณที่ฝนตกชุก

                   การขาดแคลนน้ าจึงมีไม่บ่อยครั้งนัก
                          3.5.7 การจัดการเพื่อให้เหมาะสมในการปลูกพืช

                          การจัดระบบการใช้ที่ดินให้สอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่มีดังนี้
                                  3.5.7.1 เลือกพืชให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่และชนิดของดิน ในปัจจุบันเกษตรกรใช้ดิน

                   กลุ่มนี้ในการปลูกพืชเศรษฐกิจต่างๆ เช่น ยางพารา ปาล์มน้ ามัน มะม่วงหิมพานต์ และไม้โตเร็ว นอกจากนี้
                   ยังใช้ปลูกพืชไร่ และพืชสวนบางชนิดเป็นพืชแซมระหว่างแถวของพืชหลักขณะที่พืชหลักยังเล็ก ซึ่งนับว่า
                   เหมาะสมอยู่แล้ว  อย่างไรก็ตามสภาพดินที่ตื้น  อาจเป็นข้อจ ากัดในการปลูกไม้ผลอยู่บ้าง  แต่ก็สามารถ

                   แก้ไขโดยขุดหลุมปลูกให้โตกว่าปรกติและใส่ปุ๋ยอินทรีย์มากขึ้น ส่วนการท าทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ก็นับว่าเหมาะ
                   กับกลุ่มชุดดินนี้โดยปลูกหญ้าร่วมกับพืชตระกูลถั่ว ซึ่งจะให้ผลดีกว่าการปลูกหญ้าเพียงอย่างเดียว
   56   57   58   59   60   61   62   63   64   65   66