Page 65 - แนวทางการลดต้นทุนในการผลิตยางพาราที่ปลูกในพื้นที่เขตความเหมาะสมปานกลาง (S2) จังหวัดตราด
P. 65

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                        51


                   3.8 การใส่ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ในยางพารา
                          การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมี เป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยเพิ่มศักยภาพการใช้ปุ๋ยในยางพารา

                   นอกเหนือจากการใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน  จากงานวิจัยของระวีและคณะ(2550)  พบว่าการปรับปรุงดิน
                   โดยให้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ท าให้ต้นกล้ายางมีการเจริญเติบโตด้านความสูงและการสะสมมวลชีวภาพ

                   โดยเฉพาะมวลของล าต้นและรากได้ดีกว่าการให้ปุ๋ยเคมีเพียงอย่างเดียวหรือให้ร่วมกับสารปรับปรุงดิน
                   ขณะเดียวกันการให้ปุ๋ยอินทรีย์ยังเป็นการช่วยลดการใช้ปุ๋ยเคมีได้ 25-50 เปอร์เซ็นต์โดยไม่มีผลกระทบต่อ

                   การเจริญเติบโตและการสร้างมวลชีวภาพของต้นกล้ายางพารา  เช่นเดียวกับการปรับปรุงดินโดยใส่ปุ๋ยคอก
                   ในต้นยางพาราระยะก่อนเปิดกรีดที่สามารถเพิ่มขนาดเส้นรอบวงล าต้นได้ดีกว่าการให้ปุ๋ยเคมีเพียงอย่าง
                   เดียว (นุชนารถ, 2547)  โสภาและคณะ(2547ก) รายงานว่าการใช้ปุ๋ยอัตราแนะน าร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ 3

                   กก.ต่อต้นต่อปี เป็นอัตราที่ท าให้ผลผลิตสูงกว่าการใส่ปุ๋ยอัตราอื่นๆตลอดการทดลองและแตกต่างอย่างมี
                   นัยส าคัญยิ่งทางสถิติ  แต่อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาถึงผลตอบแทนจากการใส่ปุ๋ยโดยน าผลผลิตที่ได้ไป

                   วิเคราะห์ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ  พบว่าการใส่ปุ๋ยเคมีครึ่งอัตราแนะน า (500 กรัมต่อต้นต่อปี) ร่วมกับ
                   ปุ๋ยอินทรีย์อัตรา 3 กิโลกรัมต่อต้นต่อปี มีผลตอบแทนทางเศรษฐกิจสูงที่สุดและให้ผลตอบแทนคุ้มค่าต่อ

                   การลงทุน  คือให้อัตราผลตอบแทนส่วนเพิ่ม (MRR) เท่ากับหรือมากกว่า 100 เปอร์เซ็นต์  นอกจากนี้
                   โสภาและคณะ(2547ข) ยังได้ศึกษาอิทธิพลของปุ๋ยอินทรีย์จากวัสดุเหลือใช้ต่างชนิดกัน  ได้แก่ ปุ๋ยเทศบาล

                   ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยกากชานอ้อย  ร่วมกับปุ๋ยเคมีอัตราแนะน าในการเพิ่มผลผลิตยาง  พบว่าการใส่ปุ๋ยเคมี
                   อัตราแนะน าร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์จากมูลหมู อัตรา 2 ต่อกิโลกรัมต่อต้นต่อปี ให้ผลผลิตสูงสุด  รองลงมาคือ
                   การใส่ปุ๋ยเคมีอัตราแนะน าร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์จากมูลไก่ อัตรา 2 กิโลกรัมต่อต้นต่อปี  ดังนั้นการใส่ปุ๋ยเคมี

                   ร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์จึงสามารถเพิ่มผลผลิตยางพาราได้  โดยทั้งนี้ต้องค านึงถึงผลตอบแทนทางเศรษฐกิจด้วย
                          ปริมาณอินทรียวัตถุมีความสัมพันธ์กับธาตุอาหารพืช การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมีในสวนยาง

                   เป็นการเพิ่มอินทรียวัตถุในดินให้เพียงพอช่วยให้สมบัติทางกายภาพ ทางเคมี และทางชีวภาพของดินดีขึ้น
                   ส่งเสริมการด าเนินกิจกรรมของจุลินทรีย์และเป็นการเพิ่มธาตุอาหารรองและจุลธาตุในดิน ในพื้นที่ที่ไม่มี

                   ความเหมาะ ขาดความอุดมสมบูรณ์ จ าเป็นต้องมีการปรับปรุงดินทั้งทางกายภาพ ทางเคมีและ
                   สภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับการเจริญของยางพารา ขนวน (2538) รายงานว่า การใส่อินทรียวัตถุลงไป

                   ในดินช่วยลดความเป็นกรดของดิน ซึ่งเกิดจากการใช้ปุ๋ยเคมีไนโตรเจนเป็นเวลานานติดต่อกัน อินทรียวัตถุ
                   ช่วยปรับสมบัติทางเคมีและกายภาพของดินให้ดีขึ้น เช่น ค่าความจุการแลกเปลี่ยนประจุบวก (Cation
                   Exchange Capacity, CEC) โครงสร้างของดิน สถานะของธาตุอาหารและเป็นแหล่งอาหารของจุลินทรีย์

                   พวก Heterotroph  ซึ่งเป็นกลุ่มที่ใช้สารอินทรีย์เป็นแหล่งคาร์บอนและพลังงาน มีบทบาทส าคัญในการ
                   ย่อยสลายสารอินทรีย์ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้จะท าให้ยางพาราสามารถเจริญเติบโตได้ดีและให้ผลผลิตสูง

                          การใส่ปุ๋ยในสวนยางพาราเป็นปัจจัยส าคัญต่อการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิต เนื่องจากดินที่
                   ใช้ปลูกยางพาราส่วนใหญ่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ า ธาตุอาหารบางส่วนยางพาราดูดไปผลิตเป็นน้ ายาง โยน้ า
   60   61   62   63   64   65   66   67   68   69   70