Page 28 - การไถกลบพืชปุ๋ยสดและตอซังพืชร่วมกับการใช้ปุ๋ยหมัก และน้ำหมักชีวภาพเพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในพื้นที่โครงการส่งเสริมการเกษตรในรูปแบบแปลงใหญ่ข้าว อำเภอนาเยีย จังหวัดอุบลราชธานี
P. 28

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                        17



                   3.4 ปุ๋ยพืชสด
                            ปุ๋ยพืชสด คือ ปุ๋ยอินทรีย์ชนิดหนึ่งที่ได้จากการไถกลบต้น ใบ และส่วนต่างๆ ของพืชโดยเฉพาะ
                   พืชตระกูลถั่วในระยะช่วงที่ออกดอกถือได้ว่าเป็นช่วงที่มีธาตุอาหารสูงสุด แล้วปล่อยทิ้งไว้ให้เน่าเปื่อยผุพัง
                   ย่อยสลายเป็นอาหารแก่พืชที่จะปลูกตามมา โดยพืชปุ๋ยสดที่นิยมใช้ปลูก ได้แก่ ปอเทือง ถั่วพุ่ม ถั่วพร้า พืช
                   ตระกูลถั่วชนิดต่างๆ เป็นต้น ซึ่งการปลูกพืชปุ๋ยสดท าการหว่านจากนั้นเมื่อพืชปุ๋ยสดออกดอกท าการไถ

                   กลบ (กรมพัฒนาที่ดิน, 2558) ส าหรับการศึกษาครั้งนี้ใช้ปอเทืองในการด าเนินการ
                             ปอเทืองมีชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Crotalaria juncea อยู่ในวงศ์ FABACEAE ชื่อสามัญ คือ
                   Sunn hemp เป็นพืชดั้งเดิมในเขตร้อนมีประมาณ 600 ชนิด ส่วนใหญ่พบในทวีปอเมริกาจัดเป็นพืช

                   ตระกูลถั่ว (Leguminosae) (กรมพัฒนาที่ดิน, 2553) เป็นพืชตระกูลถั่วตามประวัติครั้งแรก น าเข้ามาจาก
                   ประเทศฟิลิปปินส์ก่อน พ.ศ. 2485 มีการปลูกครั้งแรกที่แม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ (กรมพัฒนาที่ดิน, 2553)
                   โดยปอเทืองเป็นพืชฤดูเดียวล าต้นตั้งตรงแตกกิ่งก้าน และมีความสูงประมาณ 180-300 เซนติเมตร ใบเป็น
                   ใบเดียวยาวรีช่อดอกเป็นแบบราซึม (racemes) ซึ่งอยู่ปลายกิ่งก้าน ประกอบด้วยดอกย่อยประมาณ 8-20

                   ดอก ดอกจะมีสีเหลืองมีการผสมข้ามฝักเป็นทรงกระบอกยาว 3-6 เซนติเมตร กว้าง 1-2 เซนติเมตร หนึ่ง
                   ฝักจะมีประมาณ 6 เมล็ด เมื่อเขย่าฝักแก่จะมีเสียงดังเนื่องจากเมล็ดกระทบกันเมล็ดมีรูปร่างคล้ายหัวใจสี
                   น้ าตาลหรือด า และส าหรับเมล็ดปอเทืองหนึ่งกิโลกรัมจะมีเมล็ดจ านวน 40,000-50,000 เมล็ด หรือหนึ่ง
                   ลิตรจะมีประมาณ 34,481 เมล็ด (กรมพัฒนาที่ดิน, 2553)

                                  3.4.1 ประโยชน์ของปุ๋ยพืชสด (กรมพัฒนาที่ดิน, 2557) คือ
                                       1) สามารถเพิ่มอินทรียวัตถุ (Organic matter) การไถกลบพืชปุ๋ยสดลงในดินจะ
                   ท าให้การเพิ่มขึ้นของอินทรียวัตถุในดินหลังจากพืชปุ๋ยสดนั้นสลายตัวสมบูรณ์แล้ว และยังเป็นการชดเชย
                   ปริมาณอินทรียวัตถุในดินที่สูญเสียไป หากท าการไถกลบพืชปุ๋ยสดอย่างสม่ าเสมอเป็นประจ าจะท าให้ดินมี

                   ปริมาณอินทรียวัตถุเพิ่มขึ้น ช่วยส่งเสริม และสนับสนุนกิจกรรมของจุลินทรีย์และอินทรียวัตถุในดินช่วยใน
                   การรักษาและปรับปรุงโครงสร้างของดินให้มีสภาพเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช
                                       2) สามารถเพิ่มไนโตรเจนให้แก่ดิน ปุ๋ยพืชสดที่ได้จากการไถกลบและสลายตัวใน

                   ดินโดยสมบูรณ์แล้ว จะเพิ่มธาตุไนโตรเจนให้แก่ดินเป็นอย่างดีประมาณ 9.10-36.30 กิโลกรัมต่อไร่ ต่อการ
                   ไถกลบ 1 ครั้ง ซึ่งได้จากการสลายตัวของพืชปุ๋ยสด และแบคทีเรียที่ชื่อ Rhizobium sp. ซึ่งอาศัยอยู่ในปม
                   รากพืชตระกูลถั่วสามารถตรึงไนโตรเจน ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่พืชเศรษฐกิจอื่นๆ ที่ปลูกตาม โดยพืช
                   สามารถดูดไปใช้ได้โดยเฉลี่ยประมาณ 50-80 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณไนโตรเจนในพืชทั้งหมด ท าให้
                   สามารถลดต้นทุนการใช้ปุ๋ยเคมี โดยเฉพาะปุ๋ยยูเรียและปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟตได้อีกด้วย

                                       3) สามารถรักษาปริมาณธาตุอาหารในดิน เนื่องจากพืชที่ปลูกเป็นพืชปุ๋ยสดจะดูด
                   หรือใช้ประโยชน์จากปุ๋ยที่ตกค้างอยู่จากการใส่ให้พืชหลักหรือพืชเศรษฐกิจแล้ว เมื่อไถกลบพืชปุ๋ยสด
                   ปริมาณธาตุอาหารจะกลับลงไปสู่ดินเพื่อเป็นประโยชน์แก่พืชหลัก และเป็นการป้องกันการสูญเสียไม่ให้

                   ธาตุอาหารพืชถูกชะล้างไปด้วย
                                       4) พืชปุ๋ยสดที่เป็นพืชตระกูลถั่วบางชนิดมีระบบรากลึก สามารถที่จะดึงเอาธาตุ
                   อาหารพืชที่อยู่ในดินลึกได้ และรากของพืชปุ๋ยสดที่ชอนไชอยู่ในดินท าให้มีการระบายของน้ าและอากาศใน
                   ดินมากขึ้น

                                       5) ช่วยในการอนุรักษ์ดินและน้ า เมื่อน าพืชปุ๋ยสดมาปลูกคลุมดินจะช่วยไม่ให้หน้า
                   ดินเกิดการชะล้างพังทลาย (erosion) ที่เกิดจากน้ าและลม และเป็นการเพิ่มอินทรียวัตถุให้แก่ดิน
   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33