Page 31 - การไถกลบพืชปุ๋ยสดและตอซังพืชร่วมกับการใช้ปุ๋ยหมัก และน้ำหมักชีวภาพเพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในพื้นที่โครงการส่งเสริมการเกษตรในรูปแบบแปลงใหญ่ข้าว อำเภอนาเยีย จังหวัดอุบลราชธานี
P. 31

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                        20



                   กรดอินทรีย์หลายชนิด เช่น กรดแลคติก กรดอะซิติก กรดอะมิโน และกรดฮิวมิก (กรมพัฒนาที่ดิน, 2553)
                   ซึ่งสุริยา (2542) ได้ให้ความหมายของน้ าสกัดชีวภาพว่าเป็นน้ าสกัดที่ได้จากการย่อยสลายเศษวัสดุเหลือใช้
                   จากส่วนต่างๆ ของพืชหรือสัตว์ โดยผ่านกระบวนการหมักในสภาพที่ไม่มีออกซิเจน (anaerobic
                   condition) มีจุลินทรีย์ท าหน้าที่ย่อยสลายเศษซากพืชและซากสัตว์เหล่านี้ให้กลายเป็นสารละลายรวมถึง
                   การใช้เอนไซม์ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติหรือมีการเติมเอนไซม์เพื่อเร่งการย่อยสลายได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น

                   จุลินทรีย์ที่พบในน้ าสกัดชีวภาพ มีทั้งที่ต้องการออกซิเจนและไม่ต้องการออกซิเจน
                             สารเร่งซุปเปอร์ พด.2 หมายถึง เชื้อจุลินทรีย์ที่มีคุณสมบัติในการย่อยสลายวัสดุการเกษตรใน
                   ลักษณะสดอวบน้ าหรือมีความชื้นสูง เพื่อผลิตน้ าหมักชีวภาพโดยด าเนินกิจกรรมทั้งในสภาพที่ไม่มี

                   ออกซิเจนและมีออกซิเจน ประกอบด้วยจุลินทรีย์ 5 ชนิด ได้แก่ 1) ยีสต์ผลิตแอลกอฮอล์ และกรดอินทรีย์
                   (Pichia sp.) 2) แบคทีเรียผลิตกรดแลคติค (Lactobacillus sp.) 3) แบคทีเรียย่อยโปรตีน (Bacillus
                   megaterium) 4) แบคทีเรียย่อยไขมัน (Bacillus subtili) และ 5) แบคทีเรียละลายสาร ประกอบ
                   ฟอสเฟต (Burkhoderia sp.)

                             คุณสมบัติของน้ าหมักชีวภาพ น้ าหมักชีวภาพจะมีฮอร์โมนหรือสารเสริมการเจริญเติบโต เช่น
                   ออกซิน จิบเบลเรลลิน และไซโตไคนิน และมีกรดอินทรีย์ เช่น กรดแลคติก กรดอะซิติก กรดอะมิโน และ
                   กรดฮิวมิก ส าหรับวิตามินบี เช่น วิตามินบีสอง และไนอะซีน และมีความเป็นกรดเป็นด่างอยู่ระหว่าง 3-4
                   เมื่อน าน้ าหมักชีวภาพไปพ่นที่ใบและรดลงดินจะสามารถส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืชรวมถึงการติดดอก

                   ออกผลได้เป็นอย่างดี ส าหรับการใช้ปุ๋ยอินทรีย์น้ า (น้ าหมักชีวภาพ) ให้มีประสิทธิภาพนั้น ควรใช้ควบคู่ไป
                   กับการปรับปรุงบ ารุงดินด้วยอินทรียวัตถุ (กรมพัฒนาที่ดิน, 2545) แต่อย่างไรก็ตามปริมาณธาตุอาหารใน
                   ปุ๋ยอินทรีย์น้ าก็ยังไม่เพียงพอกับความต้องการของพืช ดังนั้นจึงจ าเป็นต้องใส่ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก
                   ลงไปด้วย (กรมวิชาการเกษตร, 2547) ส่วนปริมาณฮอร์โมน กรดฮิวมิก ธาตุอาหารหลักและธาตุอาหาร

                   รองในน้ าหมักชีวภาพแต่และชนิดจะมีปริมาณแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับชนิดของวัตถุดิบที่น ามาหมัก
                   และการใช้ประโยชน์น้ าหมักชีวภาพในพื้นที่ทางการเกษตร
                            เกษมสุข (2547) ศึกษาการใช้ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมีในการจัดการดินในกลุ่มชุดดินที่ 4 ชุดดิน

                   ราชบุรี ส าหรับปลูกข้าวพันธุ์สุพรรณบุรี 1 พบว่า การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ การใช้ปุ๋ยพืชสด และการใช้ปุ๋ยพืชสด
                   ร่วมกับการใช้น้ าหมักชีวภาพ ไม่มีผลแตกต่างอย่างเด่นชัดต่อการเปลี่ยนแปลงผลผลิตข้าวพันธุ์สุพรรณบุรี
                   1 แต่มีผลแตกต่างอย่างเด่นชัดต่อการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของผลผลิต คือ ความสูงจ านวนต้น
                   จ านวนรวง จ านวนเมล็ดต่อรวง และน้ าหนักเมล็ด 100 เมล็ด โดยพบว่าการใช้ปอเทืองร่วมกับน้ าหมัก
                   ชีวภาพในอัตรา 10 ลิตรต่อไร่ ให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจเฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ 566 บาทต่อไร่ ส่วนการใช้

                   ปอเทืองร่วมกับน้ าหมักชีวภาพอัตรา 25 ลิตรต่อไร่ ให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจเฉลี่ยต่ าสุดเท่ากับ
                   259.12 บาทต่อไร่
                            ก าชัย (2548) ได้ท าการศึกษาผลของปุ๋ยอินทรีย์และการจัดการดินกลุ่มชุดดินที่ 5 ชุดดินหางดง

                   ส าหรับการปลูกข้าวพันธุ์ กข. 6 พบว่าองค์ประกอบและผลผลิตของข้าวในปีที่ 1 และปีที่ 2 ไม่มีความ
                   แตกต่างกันทางสถิติ จากอิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมี พืชปุ๋ยสด และน้ าหมักชีวภาพ แต่มีแนวโน้มให้ผลผลิต
                   ข้าวเพิ่มขึ้นเมื่อใช้ปุ๋ยในอัตราที่สูงขึ้น และเมื่อพิจารณาผลตอบแทนทางเศรษฐกิจพบว่าปีที่ 1 การใช้
                   โสนอัฟริกันร่วมกับน้ าหมักชีวภาพอัตรา15 ลิตรต่อไร่ ให้ผลตอบแทนสูงสุดเท่ากับ 2,003.32 บาทต่อไร่

                   การใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 0-6-0 ให้ผลตอบแทนต่ าสุดเท่ากับ 1,362.70 บาทต่อไร่ และในปีที่ 2 การใช้ปุ๋ยเคมี
                   สูตร 8-8-0 ผลตอบแทนสูงสุดเท่ากับ 2,655.39 บาทต่อไร่ การใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 0-6-0 ให้ผลตอบแทนต่ าสุด
                   เท่ากับ 1,999.34 บาทต่อไร่ และต้นทุนของการใช้พืชปุ๋ยสดและน้ าหมักชีวภาพให้ผลตอบแทนลดลง
                   ระหว่าง 502.28–542.28 บาทต่อไร่
   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36