Page 24 - การไถกลบพืชปุ๋ยสดและตอซังพืชร่วมกับการใช้ปุ๋ยหมัก และน้ำหมักชีวภาพเพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในพื้นที่โครงการส่งเสริมการเกษตรในรูปแบบแปลงใหญ่ข้าว อำเภอนาเยีย จังหวัดอุบลราชธานี
P. 24

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                        13



                            3.2.2 ลักษณะกลิ่นจ าเพาะประจ าพันธุ์
                                  ลักษณะกลิ่นจ าเพาะประจ าพันธุ์ของข้าวขาวดอกมะลิ 105 นั้นจะมีความหอมที่เกิดจาก
                   สารระเหยชื่อ 2-acetyl-1-pyroline ซึ่งเป็นสารที่ระเหยหายไปได้ โดยถ้าจะท าการรักษาความหอมของ
                   ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ให้คงอยู่นานนั้นจึงควรเก็บข้าวไว้ในที่เย็นที่อุณหภูมิประมาณ 15 องศาเซลเซียส
                   โดยจะต้องมีการเก็บข้าวเปลือกที่มีความชื้นต่ าประมาณ 14-15 เปอร์เซ็นต์ และต้องลดความชื้น

                   ข้าวเปลือกที่อุณหภูมิไม่สูงเกินไป
                            3.2.3 ข้าวขาวดอกมะลิ 105 เป็นข้าวไวต่อช่วงแสง
                                  ข้าวขาวดอกมะลิ 105 เป็นข้าวไวต่อช่วงแสง คือ ข้าวจะออกรวงเมื่อมีแสงแดดน้อยลง

                   จากช่วงเวลาปกติ ซึ่งบางคนอาจจะสงสัยว่าท าไมต้องปลูกในเมื่อท าการควบคุมยาก เนื่องจากข้าวหลาย
                   สายพันธุ์ที่มีคุณสมบัติเด่นๆ จะเป็นข้าวที่ถูกควบคุมด้วยยีนหรือพันธุกรรมที่ตกค้างมาจากพันธุ์ป่า หรือ
                   พันธุ์ดั้งเดิมที่เกิดจากการปรับตัวตามธรรมชาติเพื่อให้ด ารงเผ่าพันธุ์ตนเองไว้ได้ เช่น ข้าวขาวดอกมะลิ 105
                   และ ข้าวกข. 15 ซึ่งเป็นข้าวที่มีคุณสมบัตินุ่ม หอม และเป็นที่ต้องการของตลาด ซึ่งแสงแดดปกติที่ส่องถึง

                   พื้นผิวโลกของประเทศไทยเราคิดค านวณที่ 12 ชั่วโมง ส่วนข้าวไวต่อช่วงแสง คือ ข้าวที่จะออกดอกเมื่อ
                   ได้รับแสงน้อยกว่า 12 ชั่วโมง โดยข้าวไวต่อช่วงแสงมี 2 แบบ ข้าวไวน้อยต่อช่วงแสง (Less Sensitive to
                   Photoperiod) จะออกดอกเมื่อความยาวกลางวันประมาณ 11 ชั่วโมง 40-50 นาที และข้าวไวมากต่อช่วง
                   แสง (Strongly Sensitive to Photoperiod) จะออกดอกเมื่อความยาวกลางวันประมาณ 11 ชั่วโมง 10-

                   20 นาที และเมื่อท าการเลือกปลูกข้าวพันธุ์ที่ไวต่อช่วงแสง ไม่ว่าจะเริ่มปลูกช่วงใด แต่เมื่อถึงช่วงฤดูหนาว
                   ของประเทศไทยซึ่งเป็นช่วงที่กลางวันสั้นกว่ากลางคืน ข้าวก็จะออกดอกทันทีเพราะข้าวขาวดอกมะลิ 105
                   เป็นข้าวหนักมีอายุการเก็บเกี่ยวมากกว่า 120 วัน หากท าการปลูกเร็วเกินไปเกษตรกรจะต้องเสียค่าใช้จ่าย
                   ในการดูแลเพิ่มขึ้น และหากปลูกช้าเกินไปจะส่งผลให้ข้าวไม่สามารถสะสมอาหารได้เต็มที่ก่อนออกรวง ท า

                   ให้ได้ผลผลิตลดลง (บุญหงส์, 2547)
                            3.2.4 การปลูกและการดูแลรักษา
                                  การปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105 แบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน คือ 1) การตกกล้า (เพาะกล้า)

                   และ 2) การถอนต้นกล้าหรือย้ายกล้าไปปักด านาที่ได้เตรียมพื้นที่ไว้แล้วขั้นตอนต่างๆ มีรายละเอียดดังนี้
                   (กรมการข้าว, 2553)
                                  1) ขั้นการตกกล้าหมายถึงการเอาเมล็ดไปหว่านให้งอกและเจริญเติบโตขึ้นมาเป็นต้นกล้า
                   โดยในช่วงนี้อย่าให้น้ าท่วมแปลงกล้า แต่ให้มีความชื้นเพียงพอส าหรับการงอกและเพิ่มระดับน้ าตามการ
                   เจริญเติบโตของต้นข้าวแต่อย่าให้น้ าท่วมต้นข้าวและมีระดับน้ าไม่เกิน 5 เซนติเมตร จากระดับหน้าดิน

                   เมล็ดพันธุ์ที่เอามาตกกล้าจะต้องเป็นเมล็ดพันธุ์ที่สมบูรณ์ปราศจากเชื้อโรคต่างๆ
                                  2) ขั้นการปักด าใช้ต้นกล้าอายุ 25-30 วัน โดยถอนต้นกล้าจากแปลงแล้วมัดรวมกันหาก
                   ต้นกล้าสูงมากก็ให้ตัดปลายใบทิ้ง น าไปปักด าในที่นาที่เตรียมไว้ซึ่งควรมีน้ าขังอยู่ประมาณ 5-10

                   เซนติเมตร ท าการปักด าเป็นแถวโดยใช้กล้า 3-4 ต้นต่อกอ ปลูกให้มีระยะห่างระหว่างกอ 25x25
                   เซนติเมตร หลังต้นข้าวออกรวงประมาณร้อยละ 80 ท าการระบายน้ าออก (กรมการข้าว, 2550)
                                  3) ต้นข้าวมีโรคและแมลงศัตรูที่ควรระวังคือ โรคที่เกิดจากเชื้อราได้แก่โรคไหม้ (Rice
                   blast) โรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ได้แก่ โรคขอบใบแห้ง (Bacteria leaf blight) โรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส

                   ได้แก่ โรคใบสีส้ม (Yellow orange leaf virus disease) และโรคจู๋หรือใบหงิก (Ragged stunt disease)
                   ตลอดจนแมลงศัตรูข้าว ได้แก่ หนอนกอ เพลี้ยจั๊กจั่นสีเขียว และเพลี้ยกระโดดสีน้ าตาล (สงกรานต์, 2544)
   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29