Page 32 - การไถกลบพืชปุ๋ยสดและตอซังพืชร่วมกับการใช้ปุ๋ยหมัก และน้ำหมักชีวภาพเพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในพื้นที่โครงการส่งเสริมการเกษตรในรูปแบบแปลงใหญ่ข้าว อำเภอนาเยีย จังหวัดอุบลราชธานี
P. 32
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
21
ทวีศักดิ์ และกิตติศักดิ์ (2550) ได้ศึกษาการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ต่อผลผลิตข้าวสังข์หยดใน กลุ่มชุดดินที่
6 จังหวัดพัทลุง พบว่าการใช้ปุ๋ยอินทรีย์โดยการไถกลบตอซังการใช้ปุ๋ยพืชสด (ถั่วพร้า ปอเทือง และถั่วพุ่ม)
การใช้น้ าหมักชีวภาพร่วมกับการใช้ปุ๋ยเคมีอัตราครึ่งหนึ่งของอัตราแนะน า สามารถเพิ่มผลผลิตของข้าว
พันธุ์สังข์หยดได้ตั้งแต่ 39-43 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเปรียบเทียบกับการใช้ปุ๋ยเคมีตามที่ เกษตรกรปฏิบัติทั่วไป
และสามารถเพิ่มผลผลิตข้าวสังข์หยดได้ตั้งแต่ 34-38 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับการใช้ปุ๋ยเคมีตามอัตรา
แนะน า นอกจากนี้ยังท าให้ธาตุอาหารที่มีประโยชน์ในดิน เช่น ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และปริมาณ
อินทรียวัตถุในดินเพิ่มขึ้นและมีอัตราสูงกว่าการใช้ปุ๋ยเคมีเพียงอย่างเดียว
3.6 ปุ๋ยหมัก
ปุ๋ยหมักเป็นปุ๋ยอินทรีย์ชนิดหนึ่ง เกิดจากการน าซากหรือเศษเหลือจากพืชมาหมักรวมกันและ
ผ่านกระบวนการย่อยสลายโดยกิจกรรมจุลินทรีย์ จนเปลี่ยนสภาพไปจากเดิมเป็นวัสดุที่มีลักษณะอ่อนนุ่ม
เปื่อยยุ่ย ไม่แข็งกระด้าง และมีสีน้ าตาลปนด า (กรมพัฒนาที่ดิน, 2553) ในการผลิตปุ๋ยหมักให้ได้คุณภาพ
จ าเป็นต้องใช้สารเร่งซุปเปอร์ พด.1 ซึ่งสารเร่งซุปเปอร์ พด. 1 คือกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพสูงในการ
ย่อยสลายวัสดุเหลือใช้จากการเกษตร และอุตสาหกรรมแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร เพื่อผลิตปุ๋ยหมักใน
เวลารวดเร็วและมีคุณภาพสูงขึ้น ประกอบด้วยเชื้อรา และแอคติโนมัยซีสที่ย่อยสารประกอบเซลลูโลสและ
แบคทีเรียที่ย่อยไขมัน (กรมพัฒนาที่ดิน, 2550)
ส าหรับจุดเด่นของสารเร่งซุปเปอร์ พด.1 คือ เป็นจุลินทรีย์ที่ทนอุณหภูมิสูง สามารถสร้างสปอร์
จึงเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ได้นาน มีประสิทธิภาพสูงในการย่อยสลายสารประกอบเซลลูโลส ย่อยสลายน้ ามัน
ไขมันในวัสดุหมักที่ย่อยสลายยาก สามารถผลิตปุ๋ยหมักในระยะเวลารวดเร็ว และมีคุณภาพ อีกทั้งยัง
สามารถย่อยวัสดุเหลือใช้ได้หลากหลายและครอบคลุมมากขึ้น (กรมพัฒนาที่ดิน, 2552) และคุณสมบัติ
ของจุลินทรีย์ในสารเร่งซุปเปอร์ พด.1 คือ เป็นจุลินทรีย์ที่ต้องการอากาศในกระบวนการย่อยสลายเจริญที่
อุณหภูมิ 30-35 องศาเซลเซียส ต้องการความชื้นในการเจริญระหว่าง 50-70 เปอร์เซ็นต์ เจริญได้ดีช่วงค่า
ความเป็นกรดเป็นด่าง 6-8 ซึ่งกรมพัฒนาที่ดิน (2550) ได้กล่าวถึงผลดีของการหมักวัสดุก่อนน าไปใช้ ใน
การน าเศษพืช หรือมูลสัตว์ชนิดต่างๆ ไปใส่ในดินโดยไม่ผ่านกระบวนการหมักก่อนนั้น มักจะพบปัญหาใน
เรื่องของเมล็ดวัชพืช รวมถึงจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรคและไข่ของแมลงที่เป็นศัตรูพืชที่ติดปนมา อีกทั้งการ
น าเศษวัสดุเหล่านั้นใส่ลงในดินโดยตรง จะเกิดความร้อนและมีการดึงไนโตรเจนจากดินไปใช้โดยจุลินทรีย์
ในระหว่างการย่อยสลาย ท าให้ดินบริเวณนั้นขาดไนโตรเจน ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของพืช
ท าให้พืชชะงักและแสดงอาการใบเหลืองได้ ดังนั้นจึงควรน าเศษซากพืชและมูลสัตว์ไปหมักก่อน โดยความ
ร้อนที่เกิดขึ้นในระหว่างกระบวนการย่อยสลายและสะสมอยู่ในกองปุ๋ยหมักต่อเนื่องเป็นเวลานาน
หลักการพิจารณาปุ๋ยหมักที่เสร็จสมบูรณ์แล้วจะสังเกตุได้จากสีของเศษวัสดุพืช มีสีน้ าตาลเข้มจนถึงด า
ลักษณะของวัสดุเศษพืชมีลักษณะอ่อนนุ่ม ยุ่ยขาดออกจากกันได้ง่าย กลิ่นของวัสดุปุ๋ยหมักที่สมบูรณ์ จะไม่
มีกลิ่นเหม็น ความร้อนในกองปุ๋ยอุณหภูมิภายในและภายนอกกองปุ๋ยใกล้เคียงกัน สามารถสังเกตจากการ
เจริญเติบโตของพืชบนกองปุ๋ยหมัก และมีค่าอัตราส่วนของคาร์บอนต่อไนโตรเจน เท่ากับหรือต่ ากว่า 20:1
ซึ่งคุณสมบัติของปุ๋ยหมัก ได้แก่ ค่าอัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจน (C/N ratio) ไม่เกิน 20:1 ปริมาณ
อินทรียวัตถุอยู่ระหว่าง 25-50 เปอร์เซ็นต์โดยน้ าหนัก เกรดปุ๋ยไม่ต่ ากว่า 0.5-0.5-1.0 (เปอร์เซ็นต์ของ
ไนโตรเจน ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ และโพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้) ความชื้นของปุ๋ยหมักไม่เกิน 30-
40 เปอร์เซ็นต์ โดยน้ าหนัก ค่าการน าไฟฟ้าไม่เกิน 3.5 เดซิซีเมนส์ต่อเมตร ค่าความเป็นกรดเป็นด่าง
ประมาณ 6.0-7.5 ส่วนอัตราและวิธีการใช้ปุ๋ยหมักปุ๋ยหมักส่วนใหญ่ปุ๋ยหมักจะมีปริมาณธาตุอาหารพืช
ค่อนข้างต่ า แต่มีบทบาทมากในการปรับปรุงคุณสมบัติของดิน และระยะเวลาที่เหมาะสมในการใส่ปุ๋ยหมัก