Page 33 - การไถกลบพืชปุ๋ยสดและตอซังพืชร่วมกับการใช้ปุ๋ยหมัก และน้ำหมักชีวภาพเพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในพื้นที่โครงการส่งเสริมการเกษตรในรูปแบบแปลงใหญ่ข้าว อำเภอนาเยีย จังหวัดอุบลราชธานี
P. 33
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
22
เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อพืชที่ปลูกควรใส่ในช่วงเตรียมดิน และไถกลบลงไปในดินขณะที่ดินมีความชื้น
เพียงพอที่จะท าให้ธาตุอาหารที่มีอยู่เป็นประโยชน์ต่อพืชสูงสุด โดยใช้อัตรา 2 ตันต่อไร่ หว่านให้ทั่วพื้นที่
แล้วไถกลบก่อนปลูกข้าว นอกจากนี้ประโยชน์ของปุ๋ยหมักได้แก่ปรับปรุงสมบัติทางกายภาพดินท าให้ดิน
ร่วนซุยการระบายอากาศ และอุ้มน้ าของดินดีขึ้น เป็นแหล่งธาตุอาหารพืชทั้งธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหาร
รอง และจุลธาตุ สามารถดูดยึดและเป็นแหล่งเก็บธาตุอาหารในดินไม่ให้ถูกชะล้างสูญเสียไปได้ง่าย และ
ปลดปล่อยออกมาให้พืชใช้ประโยชน์ทีละน้อยตลอดฤดูปลูกเพิ่มความต้านทานต่อการเปลี่ยนแปลงความ
เป็นกรดเป็นด่างของดิน และยังเพิ่มแหล่งอาหารของจุลินทรีย์ดินท าให้ปริมาณและกิจกรรมจุลินทรีย์ที่เป็น
ประโยชน์ในดินเพิ่มขึ้น (กรมพัฒนาที่ดิน, 2552)
อนนท์ และคณะ (2548) รายงานว่า การใส่ปุ๋ยหมักในการปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในสภาพ
นาหว่าน ให้ผลผลิตสูงกว่าการไม่ใส่ปุ๋ยร้อยละ 29 และการไถกลบตอซังข้าวอัตรา 2,000 กิโลกรัมต่อไร่ ให้
ผลผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 สูงกว่าการเผาตอซังข้าวร้อยละ 14
อุไรวรรณ (2557) ศึกษาผลของการใช้ปุ๋ยหมักร่วมกับการจัดการธาตุอาหารเฉพาะพื้นที่ต่อการ
เจริญเติบโต และผลผลิตข้าวพันธุ์ปทุมธานีในชุดดินสรรพยา พบว่า การเพิ่มปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดินท า
ให้ผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้นได้ แต่ต้องใช้ร่วมกับปุ๋ยหมักซึ่งปุ๋ยหมักที่ใส่ลงไปนั้นมีผลต่อระบบรากของข้าวท าให้
การดูดธาตุอาหารที่ได้จากการปลดปล่อยจากปุ๋ยเคมีของข้าวดีขึ้นซึ่งอาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่ช่วยให้ข้าวมี
ผลผลิตเพิ่มขึ้น