Page 23 - การไถกลบพืชปุ๋ยสดและตอซังพืชร่วมกับการใช้ปุ๋ยหมัก และน้ำหมักชีวภาพเพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในพื้นที่โครงการส่งเสริมการเกษตรในรูปแบบแปลงใหญ่ข้าว อำเภอนาเยีย จังหวัดอุบลราชธานี
P. 23
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
12
3.1.3 แนวทางปฏิบัติของโครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ (นาแปลงใหญ่)
ในระยะเริ่มต้นของโครงการจะมีการคัดเลือกกลุ่มเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ โดยมีหลัก
พิจารณา เช่น ต้องมีการรวมกลุ่มเกษตรกรที่เข้มแข็ง และมีพื้นที่นาที่เป็นแปลงใหญ่ตั้งแต่ 1-2 ไร่ต่อแปลง
ขึ้นไป ดังนี้
1) การปลูก
1.1) เขตชลประทานให้ท าเป็นนาโรย (ข้าวงอก) เป็นแถวเป็นแนว
1.2) เขตอาศัยหน้าฝนให้ท าเป็นนาหยอด (ข้าวเปลือก) เป็นแถวเป็นแนว
2) การใช้เมล็ดพันธุ์ ควรเลือกเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดีตามมาตรฐานกรมการข้าว เป็นชั้น
พันธุ์ขยายหรือชั้นพันธุ์จ าหน่าย
3) มีการปรับปรุงบ ารุงดินด้วยปุ๋ยพืชสด การไถกลบตอซัง การท าปุ๋ยหมัก และการใช้ปุ๋ย
คอก โดยเกษตรกรจะต้องมีการผลิตปุ๋ยอินทรีย์เพื่อใช้เอง
4) ส าหรับการใช้ปุ๋ยเคมีควรใช้ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดินเท่านั้น
5) มีการป้องกันก าจัดศัตรูพืชแบบผสมผสาน ซึ่งควรมีการวางระบบพยากรณ์เตือนภัย
ศัตรูข้าว และผลิตสารชีวภัณฑ์หรือสารสมุนไพรส าหรับใช้เอง
6) ควรมีการจัดการน้ าที่เหมาะสม แบบเปียกสลับกับแบบแห้งอย่างน้อยให้นามีสภาพ
แห้ง 1 ครั้ง ช่วงข้าวแตกกอสูงสุด ระบายน้ าเข้านาหลังหว่านปุ๋ย (แนะน าในเขตชลประทานหรือสามารถ
ระบายน้ าออกจากแปลงนาได้)
7) การเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าว ในระยะพลับพลึงควรที่จะมีการระบายน้ าออกก่อนถึงระยะ
เก็บเกี่ยวเป็นเวลา 10 วัน
3.1.4 ประโยชน์ของโครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ (นาแปลงใหญ่)
1) เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตโดยลดต้นทุนการผลิตต่อหน่วยผลผลิตและเพิ่มผลผลิตต่อ
ไร่
2) พัฒนากลุ่มชาวนา 417 กลุ่ม (กลุ่มนาแปลงใหญ่ส่วนของกรมส่งเสริมการเกษตร 39
กลุ่ม กลุ่มนาเชิงอุตสาหกรรมฯ 23 กลุ่ม กลุ่มเดิม 301 กลุ่ม รวมกลุ่มชาวนาใหม่ 54 กลุ่ม) เกษตรกร
66,000 ราย พื้นที่ 900,000 ไร่ ใน 65 จังหวัด
3) กลุ่มแปลงใหญ่ 417 กลุ่ม มีการวางแผนการผลิตเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การ
จัดการคุณภาพและการตลาดครบวงจร
3.2 ข้าวขาวดอกมะลิ 105
3.2.1 ลักษณะประจ าพันธุ์
ข้าวขาวดอกมะลิ 105 เป็นสายพันธุ์ข้าวที่มีถิ่นก าเนิดในไทยซึ่งจะเป็นข้าวเจ้าที่มีล าต้น
สูงประมาณ 140 เซนติเมตร โดยปกติใช้ปลูกเป็นข้าวนาปี ถือว่าเป็นพันธุ์ข้าวที่ไวต่อช่วงแสง มีการออก
ดอกที่ตรงตามฤดูกาลเพราะต้นข้าวขาวดอกมะลิ 105 มีความต้องการช่วงแสงจ าเพาะเพื่อการออกดอก
โดยที่ล าต้นจะมีสีเขียวจาง ใบนั้นจะมีสีเขียวยาวค่อนข้างแคบ ใบธงท ามุมกับคอรวง เมล็ดข้าวจะมีรูปร่าง
เรียวยาว ส่วนข้าวเปลือกจะมีสีฟาง เมล็ดข้าวสารใส มีปริมาณแป้งอะมิโลสร้อยละ 12-17 คุณภาพของ
ข้าวขาวดอกมะลิ 105 เมื่อสุกจะนุ่มและมีกลิ่นหอมคล้ายใบเตย สามารถทนต่อสภาพดินเค็มได้ (ค่าการน า
ไฟฟ้าของดิน 4-8 เดซิซีเมนส์ต่อเมตร)