Page 26 - การไถกลบพืชปุ๋ยสดและตอซังพืชร่วมกับการใช้ปุ๋ยหมัก และน้ำหมักชีวภาพเพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในพื้นที่โครงการส่งเสริมการเกษตรในรูปแบบแปลงใหญ่ข้าว อำเภอนาเยีย จังหวัดอุบลราชธานี
P. 26

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                        15



                                         ครั้งที่ 2 ใส่ก่อนข้าวออกดอกประมาณ 30 วัน (ประมาณวันที่ 20 กันยายนของ
                   ทุกปี) โดยใช้สูตร 21-0-0 ในอัตรา 10-20 กิโลกรัมต่อไร่ หรือปุ๋ยยูเรียสูตร 46-0-0 ในอัตรา 5-10 กิโลกรัม
                   ต่อไร่
                                   5.2) การใส่ปุ๋ยนาหว่านน้ าตมแผนใหม่ ควรใส่ 2 ครั้ง คือ
                                         ครั้งที่ 1 ใส่หลังหว่านข้าวแล้ว 20-30 วัน โดยใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 16-20-0, 20-20-

                   0, 18-22-0 หรือ 18-46-0 ในดินเหนียวและสูตร 16-16-8 ในนาดินทราย อัตรา 20-25 กิโลกรัมต่อไร่
                                         ครั้งที่ 2 ใส่ในช่วงก่อนข้าวออกดอกประมาณ 30 วัน (ประมาณวันที่ 20
                   กันยายนของทุกปี) โดยใช้ปุ๋ยสูตร 21-0-0 ในอัตรา 10-20 กิโลกรัมต่อไร่ หรือปุ๋ยยูเรียในอัตรา 5-10

                   กิโลกรัมต่อไร่ ส่วนการท านาหว่านแห้งและนาหยอดไม่ควรใช้ปุ๋ยเคมีเพราะจะท าให้ค่าตอบแทนไม่คุ้มค่า
                   แนะน าให้ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักเท่านั้น
                                  6) ควรก าจัดศัตรูพืชตามความจ าเป็นและความเหมาะสม


                   3.3 การไถกลบตอซังข้าว
                            การไถกลบตอซังข้าวภายหลังจากการเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วลงไปในดินระหว่างการเตรียมพื้นที่
                   เพาะปลูกขณะที่ดินมีความชื้น และปล่อยทิ้งไว้ในช่วงระยะเวลาหนึ่งเพื่อให้เกิดกระบวนการย่อยสลายใน
                   ดิน กลายเป็นแหล่งอินทรีวัตถุและธาตุอาหารพืชแล้วจึงปลูกพืชหลักตามที่ต้องการต่อไปปัจจุบันได้มีการ

                   น าน้ าหมักชีวภาพที่ได้จากการหมักวัสดุเศษปลา หอยเชอรี่ ผัก ผลไม้ หรือเศษอาหารมาใช้ประโยชน์ใน
                   การหมักโดยกิจกรรมของจุลินทรีย์ช่วยย่อยสลายตอซังได้ดีขึ้น ตอซังอ่อนนุ่ม ย่อยสลายได้ง่าย (กรมพัฒนา
                   ที่ดิน, 2549)
                              1) วิธีการไถกลบ ท าการฉีดพ่นน้ าหมักชีวภาพลงในตอซังข้าว (สารเร่งซุปเปอร์ พด.2

                   อัตราส่วน 1:500) อัตรา 5 ลิตรต่อไร่ ทิ้งไว้ประมาณ 7 วัน จากนั้นท าการไถกลบตอซังข้าวทิ้งไว้ 14 วันดัง
                   ภาพที่ 7
                              2) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการย่อยสลายวัสดุตอซังข้าว ได้แก่ ชนิดของวัสดุ วัสดุที่ย่อยสลาย

                   ยาก ได้แก่ ตอซังข้าวหรือฟางข้าวจะใช้เวลา การย่อยสลายประมาณ 20 วัน อุณหภูมิในดินที่มีระดับสูงขึ้น
                   ท าให้วัสดุตอซังย่อยสลายได้เร็วขึ้น และดินที่มีปริมาณความชื้นพอเหมาะจะท าให้การย่อยสลายวัสดุดีขึ้น
                              3) ประโยชน์จากการไถกลบตอซังข้าว
                                    - ท าให้ดินโปร่งร่วนซุย ง่ายต่อการเตรียมดิน การปักด ากล้า และท าให้ระบบรากพืช
                   สามารถแพร่กระจายในดินได้มากขึ้น

                                    - การระบายอากาศของดินเพิ่มมากขึ้นท าให้ปริมาณออกซิเจนเพียงพอต่อการหายใจ
                   ของระบบรากพืชในดิน
                                    - การซึมผ่านของน้ าได้อย่างเหมาะสมและการอุ้มน้ าของดินให้ดีขึ้น

                                    - เป็นการเพิ่มธาตุอาหารให้แก่ดินโดยตรงอาจมีปริมาณธาตุอาหารน้อย แต่จะมี
                   ปริมาณธาตุอาหารครบถ้วนตามที่พืชต้องการทั้งธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรองและจุลธาตุ และค่อยๆ
                   ปลดปล่อยให้เป็นประโยชน์ต่อพืชในระยะยาว
                                    - ช่วยดูดซับธาตุอาหารในดินไม่ให้สูญเสียไปซึ่งพืชสามารถน าไปใช้ประโยชน์ได้

                                    - ช่วยรักษาความสมดุลการเปลี่ยนแปลงความเป็นกรดเป็นด่างของดิน ท าให้มีค่าเป็น
                   กลาง มีความเหมาะสมต่อการเพิ่มความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารในดิน
                                    - ช่วยลดความเป็นพิษของเหล็ก และแมงกานีสในดิน เนื่องจากธาตุอาหารดังกล่าวนี้
                   จะละลายออกมามากในดินสภาพดินกรด หรือดินเปรี้ยวซึ่งท าให้อาหารพืชถูกตรึงไว้ในดิน
   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31