Page 30 - การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการผ่านการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม
P. 30

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       21







                       มีความรู้ความเข้าใจสูงกว่า พฤติกรรมการท าการเกษตรของเกษตรกรเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยส าคัญ
                       ทางสถิติที่ระดับ 0.01 ผลการประเมินพฤติกรรมแสดงให้เห็นว่า เกษตรกรงดการใช้สารเคมีและ
                       ปุ๋ยเคมีและหันไปใช้ชีววิธี ซึ่งสอดคล้องกับหลักการของระบบเกษตรอินทรีย์ที่ไม่ต้องการให้ใช้สารเคมี

                       และปุ๋ยเคมี และเกษตรกรประสบปัญหาส าคัญเรื่องการขาดเงินทุนหมุนเวียนส าหรับท าการเกษตร
                       และปัญหาเงินไม่เหลือออมทั้งก่อนและหลังรับการส่งเสริม แต่แนวโน้มของปัญหาลดลง เนื่องมาจาก

                       รายจ่ายการซื้อปุ๋ยอินทรีย์และสารชีวภาพส าหรับการผลิตเกษตรอินทรีย์จะลดต่ าลงในระยะยาว
                       เพราะเกษตรกรผลิตขึ้นมาใช้เองแม้ว่าเกษตรกรงดใช้สารเคมีและปุ๋ยเคมี แต่ในช่วงระหว่างรับการ

                       ส่งเสริม เกษตรกรประสบปัญหาการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการลดและงดใช้ เนื่องจากความเคยชิน
                       และพื้นที่เกษตรกรรมข้างเคียงยังไม่ลดหรืองดใช้ และปัญหาภายหลังรับการส่งเสริม คือ ผลผลิตยังไม่

                       ผ่านการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์
                                        ณัชชา (2556) ได้ศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการปรับเปลี่ยนเพื่อการผลิตพืช
                       อินทรีย์กรณีศึกษากลุ่มเกษตรกร จ.ราชบุรี ที่ผ่านการอบรมโครงการพัฒนาระบบเกษตรอินทรีย์โดย
                       ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อลดการใช้สารเคมี ปี 2554 พบว่า เกษตรกรกลุ่มตัวอย่างมีความรู้และทัศนคติ

                       ต่อเกษตรอินทรีย์ในระดับสูงและมีปัญหาในการปฏิบัติตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์น้อย โดยประเด็น
                       ที่เกษตรกรส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ คือประเด็นเกี่ยวกับการห้ามใช้ปุ๋ยเคมี หรือใช้สารเคมีใด ๆ ในการ
                       จัดการภายในแปลงปลูก และประเด็นเกี่ยวกับการใช้ปุ๋ยคอกจากมูลสัตว์จะต้องน ามาผ่าน

                       กระบวนการหมักก่อนที่จะน ามาใช้กับพืช ตลอดจนห้ามใช้เมล็ดพันธุ์ที่ผลิตโดยการตัดต่อพันธุกรรม
                       และประเด็นที่เป็นปัญหาต่อการปฏิบัติตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์มากที่สุด คือ ห้ามใช้ปุ๋ยเคมี
                       ห้ามใช้สารเคมี สังเคราะห์ใด ๆ ในการก าจัดศัตรูพืชและวัชพืช  และห้ามใช้ฮอร์โมนสังเคราะห์
                       เนื่องจากเกษตรกรขาดองค์ความรู้ในการใช้สิ่งทดแทน และยังขาดความสนใจในการท าเกษตรอินทรีย์
                                         นาตยา (2556) ท าการศึกษา เรื่องความคิดเห็นของเกษตรกรต าบลหนอง

                       มะค่าโมง อ าเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรีที่มีต่อนโยบายปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ
                       ภาคการเกษตรด้านการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ผลการศึกษาพบว่า ด้านการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ แบ่งเป็น 2 แบบคือ

                       1) แบบผู้ที่ใช้ปุ๋ยอินทรีย์เป็นหลักในภาพรวมอยู่ในระดับมาก  เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อโดยเรียงล าดับ
                       ค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ด้านสังคม ด้านส่วนประสมทางการตลาดและด้านการสนับสนุน

                       จากองค์กรต่าง ๆ ตามล าดับ ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต ่าที่สุด ได้แก่ ด้าน เศรษฐกิจ 2) แบบผู้ที่ไม่ได้ใช้
                       ปุ๋ยอินทรีย์เป็นหลักในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ โดยเรียงล าดับค่าเฉลี่ยสูงสุด

                       3 อันดับแรก ได้แก่ ด้านสังคม ด้านส่วนประสมทางการตลาดและด้านการสนับสนุน จากองค์กรต่างๆ
                       ตามล าดับ ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต ่าที่สุด ได้แก่ ด้านเศรษฐกิจ และผลการทดสอบสมมติฐาน ยังพบว่า
                       เกษตรกรต าบลหนองมะค่าโมง อ าเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี ที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษาที่

                       แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อนโยบายปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจภาคการเกษตรด้านการใช้
                       ปุ๋ยอินทรีย์ไม่แตกต่างกัน
   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35