Page 27 - การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการผ่านการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม
P. 27

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       18







                                  9.1  สถิติ Chi square  เป็นสถิติที่ใช้ทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ย ของกลุ่มตัวอย่างที่มีเพียง
                       กลุ่มหรือสองกลุ่ม  การที่จะใช้การทดสอบด้วยค่า Z-test หรือ T-test ข้อมูลที่น ามาทดสอบนั้นจะต้องเป็น
                       ข้อมูลที่อยู่ในระดับการวัด (Measurement  Scale)  ระดับอันตรภาคชั้น (Interver  Scale)  หรือ ระดับ
                       อัตราส่วน (Ratio  Scale)  เท่านั้น  ในงานวิจัยบางเรื่องข้อมูลอาจอยู่ในรูปของความถี่ที่เป็นอิสระต่อกัน

                       (Discrete Data) เป็น ข้อมูลที่อยู่ในระดับนามบัญญัติ (Norminal Scale) หรือ ข้อมูลเรียงล าดับ (Ordinal
                       Scale) การทดสอบ ข้อมูลในลักษณะนี้ จะเป็นการทดสอบว่า ข้อมูลที่ได้เป็นไปตามคาดหวัง (Expected) ไว้
                       หรือไม่ หรืออาจจะทดสอบว่าตัวแปร (Variable)  มีความสัมพันธ์กันหรือไม่ ข้อมูลดังกล่าวไม่สามารถ
                       ทดสอบได้ด้วย Z-test  หรือ T-test  ซึ่งเป็นสถิติแบบพารามิตริก (Parametric  Statistics)  แต่จะสามารถ

                       ทดสอบได้ด้วยไคสแควร์ (²) ซึ่งเป็นสถิติแบบนอนพารามิตริก (Nonparametric Statistics) ซึ่งเป็นสถิติที่ไม่
                       ค านึงถึงลักษณะการแจกแจงของประชากร ซึ่งวัตถุประสงค์ของการทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติไคสแควร์
                       มีวัตถุประสงค์ส าคัญ 3 ประการคือ

                                       9.1.1  การทดสอบภาวสารูปสนิทดี (test of goodness of fit)  มีวัตถุประสงค์
                       เพื่อทดสอบ เกี่ยวกับลักษณะต่าง ๆ ของประชากร ว่าเป็นไปตามที่คาดไว้หรือไม่อีกวัตถุประสงค์หนึ่ง

                       คือ เพื่อ ทดสอบเกี่ยวกับการแจกแจงของประชากร ข้อมูลมาจากตัวอย่าง 1 กลุ่ม โดยมีตัวแปร 1 ตัว
                       และตัว แปรมีสเกลการวัดแบบแบ่งประเภทซึ่งมีข้อมูลเป็นจ านวนนับ
                                       9.1.2  การทดสอบความเป็นอิสระ (test of independence) มีวัตถุประสงค์เพื่อ

                       ทดสอบความ เป็นอิสระหรือความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร 2 ตัว และตัวแปรมีสเกลการวัดแบบแบ่ง
                       ประเภทซึ่งมีข้อมูลเป็นจ านวนนับ

                                       9.1.3  การทดสอบความเป็นเอกพันธ์ (test of homogeneity) ในกรณีที่ตัวอย่าง
                       กลุ่มเดียว เรามักทดสอบภาวสารูปสนิทดี ระหว่างการแจกแจงของตัวอย่างกับการแจกแจงที่ก าหนด

                       ส่วนกรณีที่มี ตัวอย่าง 2 กลุ่มที่เป็นอิสระกัน เราสุ่มกลุ่มตัวอย่างจากประชากรแต่ละกลุ่ม และจัด
                       ข้อมูลของตัว แปรตามที่เป็นแบบจ าแนกประเภทให้อยู่ในชั้นต่างๆ (categories)  ข้อมูลจะอยู่ใน

                       ตาราง 2 ทาง เมื่อตัวแปรในทางหนึ่งของตารางอ้างถึงกลุ่มประชากร และตัวแปรที่อยู่อีกทางหนึ่งของ
                       ตารางเป็น ตัวแปรตามที่สนใจศึกษามีสเกลการวัดแบบจ าแนกประเภท หรือเป็นชั้น ๆ (categories)
                       วัตถุประสงค์เพื่อทดสอบเกี่ยวกับตัวแปรตามที่สนใจศึกษาของประชากรกลุ่มต่าง ๆ ว่ามาจาก

                       ประชากรเดียวกันหรือไม่หรือมาจากประชากรที่มีการแจกแจงแบบเดียวกันหรือไม่
                                  9.2  สถิติ Multiple  Regression    การวิเคราะห์การถดถอยเป็นวิธีการทางสถิติที่ใช้ศึกษา

                       ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระ(Independent  Variable)  กับตัวแปรตาม (Dependent  Variable)
                       จะเป็นการศึกษาความสัมพันธ์เชิงเส้นตรง (Linearity) ถ้าศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระหนึ่งตัว

                       กับตัวแปรตามหนึ่งตัว เรียกว่า การวิเคราะห์ถดถอยเชิงเส้นเชิงเดี่ยวหรือการวิเคราะห์ถดถอยเชิงเส้นอย่าง
                       ง่าย (Simple  Linear  Regression  Analysis)  ถ้าตัวแปรอิสระมีมากกว่าหนึ่งตัวกับตัวแปรตามหนึ่งตัว

                       เรียกว่า การวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ (Multiple  Linear  Regression)  โดยสถิติ Multiple
                       Regression  มีวัตถุประสงค์ของการวิเคราะห์การถดถอยที่ส าคัญ 2 ประการ คือ
   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32