Page 29 - การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการผ่านการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม
P. 29

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       20







                       ช่วยเหลืออย่างจริงจังในการช่วยเหลือเกษตรกรทุกๆ ด้าน โดยต้องค านึงถึงความพร้อมและความ
                       ต้องการทั้งของเกษตรกรและของตลาด  เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้สูงขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากเกษตร
                       อินทรีย์ยังเป็นสิ่งใหม่ซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้เกษตรกรเน้นการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมต่อไป

                                        สหภาพ  (2552) ท าการศึกษาเรื่องการยอมรับการปลูกข้าวหอมมะลิคุณภาพดี
                       ตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของเกษตรกรในจังหวัดร้อยเอ็ด พบว่า การยอมรับการปลูกข้าวหอม

                       มะลิคุณภาพดี ตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของเกษตรกรในจังหวัดร้อยเอ็ดโดยภาพรวมอยู่ใน
                       ระดับมาก   ผลการเปรียบเทียบการยอมรับการปลูกข้าวหอมมะลิคุณภาพดีตามการปฏิบัติทาง

                       การเกษตรที่ดีของเกษตรกรในจังหวัดร้อยเอ็ด ที่มีเพศ ระดับการศึกษาและประสบการณ์ แตกต่างกัน
                       แต่พบว่ามีการยอมรับไม่แตกต่างกัน

                                        พนิดา  (2553) ท าการศึกษาเรื่องการยอมรับการพัฒนาเกษตรอินทรีย์ของ
                       เกษตรกรในอ าเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ : กรณีศึกษาการรับรองมาตรฐานข้าวอินทรีย์จากส านักงาน
                       มาตรฐานเกษตรอินทรีย์  ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการพัฒนาเกษตรอินทรีย์

                       อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ ระดับการศึกษา ขนาดของพื้นที่การเกษตร ระยะเวลาที่
                       ท าเกษตรอินทรีย์ ประสบการณ์เกี่ยวกับมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ การเคยผ่านการรับรองมาตรฐาน

                       เกษตรอินทรีย์ทั้งประเภทพืชและสัตว์ ปริมาณข้าวที่ผลิตได้ต่อปี ต้นทุนการประกอบอาชีพ การได้รับ
                       ข่าวสาร การได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐและเอกชน  การให้คุณค่าสุขภาพ และความรู้เกี่ยวกับการ

                       ปลูกข้าวอินทรีย์
                                   10.2 งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจท าเกษตรอินทรีย์

                                        จีรพร  (2554) ท าการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจผลิตและเลิกผลิตข้าว
                       แบบเกษตรอินทรีย์  ผลการศึกษาพบว่า การเพิ่มความน่าจะเป็นที่เกษตรกรจะตัดสินใจผลิตข้าวแบบ
                       เกษตรอินทรีย์ท าได้โดย 1) เพิ่มปัจจัยด้านความสามารถในการสังเกตเห็นผลที่เกิดจากนวัตกรรม เช่น

                       การน าเกษตรกรไปทัศนศึกษาดูงาน เพื่อให้สังเกตเห็นระบบนิเวศการเกษตร  รวมถึงสภาพเศรษฐกิจ
                       และวิถีชีวิตของเกษตรกรที่ท าเกษตรอินทรีย์จนประสบความส าเร็จมาแล้วอย่างยั่งยืน 2) เพิ่มปัจจัย

                       ด้านผลประโยชน์เปรียบเทียบด้านสุขภาพ เช่น ให้บริการตรวจสารพิษในร่างกายของเกษตรกร และ
                       การให้สารสนเทศเกี่ยวกับสารพิษจากการใช้สารเคมีทางการเกษตร 3) เพิ่มปัจจัยด้านความเข้ากันได้
                       หรือสอดคล้องกับสิ่งที่มีอยู่เดิม เช่น ส่งเสริมเกษตรกรที่มีลักษณะพื้นฐานการท าเกษตรที่สอดคล้องกับ

                       การท าเกษตรอินทรีย์  การอบรมเพื่อสร้างทัศนคติการพึ่งพาตนเอง 4) ลดปัจจัยด้านความยุ่งยาก
                       ซับซ้อน โดยใช้สื่อรณรงค์เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์  รวมถึงการสร้างสื่อหรือคู่มือที่เข้าใจ

                       ง่ายและสามารถมองเห็นทางปฏิบัติได้ง่ายขึ้น
                                        ยงยุทธ และคณะ (2555) ได้ศึกษาการส่งเสริมการท าเกษตรอินทรีย์และการ

                       บริหารจัดการศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสานของเกษตรกรในอ าเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ พบว่า
                       หลังรับการส่งเสริม เกษตรกร มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสาน

                       แตกต่างจากก่อนรับการส่งเสริมอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 คือ หลังรับการส่งเสริม
   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34