Page 28 - การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการผ่านการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม
P. 28

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       19







                                       9.2.1  เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระกับตัวแปรตาม
                                       9.2.2  เพื่อศึกษาปัจจัย (ตัวแปรอิสระ) ที่ร่วมกันท านายหรือพยากรณ์ตัวแปรตาม
                                    การวิเคราะห์การถดถอยเพื่อหาความสัมพันธ์หรือสร้างสมการท านายหรือพยากรณ์ตัว

                       แปรตาม (Y)  หนึ่งตัวจากกลุ่มตัวแปรอิสระ (X)  หลายตัวนั้น ตัวแปรอิสระที่น ามาวิเคราะห์จะต้องมี
                       หลักฐานตามทฤษฏีหรือรายงานการวิจัยที่เกี่ยวข้องว่าเป็นตัวแปรต้นเหตุที่ส่งผลต่อตัวแปรตาม

                       โดยข้อตกลงเบื้องต้น (Assumption) ในการวิเคราะห์การถดถอย มีดังนี้
                                  1.ตัวแปรอิสระ (X)  และตัวแปรตาม (Y)  ต้องเป็นตัวแปรเชิงปริมาณ (Quantitative

                       Variable)  หรือ ตัวแปรต่อเนื่อง (Continuous  Variable)  หรือมีระดับการวัดเป็น Interval  หรือ
                       Ratio Scale ในกรณีที่ตัวแปรอิสระ (X) บางตัวมีระดับการวัดเป็น Nominal หรือ Ordinal Scale

                       จะต้องแปลงข้อมูลให้เป็นตัวแปรหุ่น (Dummy Variable) คือ มีค่า 0 กับ 1 ก่อนจึงจะน าไปวิเคราะห์
                       และตัวแปรหุ่นไม่ควรจะมีหลายตัว เพราะจะท าให้เกิดความคลาดเคลื่อนมากขึ้น
                                  2. ตัวแปรอิสระแต่ละตัวมีความสัมพันธ์เชิงเส้นตรงกับตัวแปรตาม

                                  3.  ตัวแปรอิสระไม่ควรมีความสัมพันธ์กันหรือเป็นอิสระต่อกัน (ค่าสหสัมพันธ์ไม่ควรเกิน 0.7)
                       ในกรณีการวิเคราะห์ถดถอยแบบพหุคูณ เพราะจะท าให้เกิด Multicollinearity  คือ การที่ตัวแปรอิสระ
                                                                                 2
                       มีความสัมพันธ์กันมาก ซึ่งจะมีผลกระทบท าให้ค่าสัมประสิทธิ์การตัดสินใจ (R ) สูงเกินความเป็นจริง
                                    4. การแจกแจงของตัวแปรตามเป็นแบบโค้งปกติ (Normal Distribution) ที่ทุกค่าของ X

                                    5. ค่าของ Y มีความแปรปรวนเท่ากันทุกค่าของ X
                                    6. ความแปรปรวนของค่าความคลาดเคลื่อนจากการพยากรณ์ (Residual) ที่ทุกจุดบน

                       เส้นถดถอยมีค่าเท่ากัน
                                  9.3  สถิติ t-test เป็นเทคนิควิธีการทางสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมุติฐานเพื่อเปรียบเทียบ
                       ค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างหนึ่งกลุ่มกับประชากร หรือเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่มที่อาจ
                       มีความสัมพันธ์กัน หรือเป็นอิสระต่อกันก็ได้โดยกลุ่มตัวอย่างต้องสุ่มมาจากประชากรที่มีการแจกแจง

                       ปกติและทราบค่าความแปรปรวนของประชากร โดยข้อตกลงเบื้องต้นส าหรับ Parametric Statistics
                       ของสถิติ t test จะมีรายละเอียดดังนี้
                                        9.3.1  ข้อมูลเป็นระดับ Interval Scale และ Ratio Scale

                                        9.3.2  ข้อมูลมี distribution เป็นโค้งปกติ (Normal Curve)
                                        9.3.3  ประชากรแต่ละกลุ่มที่น ามาศึกษาต้องมีความแปรปรวน (Variance)
                       เท่ากัน

                              10. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

                                      10.1 งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาการยอมรับเทคโนโลยีทางการเกษตร
                                             โสมภัทร์ (2552) ท าการวิจัยเรื่องการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตระบบเกษตร

                       อินทรีย์ในสวนมะม่วงของเกษตรกรในอ าเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่  ผลการศึกษาการยอมรับ
                       เทคโนโลยีการท าเกษตรอินทรีย์พบว่า  เกษตรกรส่วนใหญ่จะมีการยอมรับเทคโนโลยีการท าเกษตร

                       อินทรีย์ในระดับปานกลางทุกด้าน  ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่มีหน้าที่ในการส่งเสริมควรให้ความ
   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33