Page 26 - การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการผ่านการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม
P. 26

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       17







                                          2)  การสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ (Systematic  Sampling)  การสุ่มแบบนี้
                       นักวิจัยจะต้องอาศัยบัญชีรายชื่อ เกี่ยวกับประชากรกลุ่มเปูาหมาย โดยเลือกตามเลขที่ที่ก าหนดไว้
                       เช่น ประชากรจ านวน 1,000 นักวิจัยต้องการตัวอย่างจ านวน 100 นักวิจัยจะต้องคัดเลือกทุกหน่วย

                       ที่ 10 เป็นต้น
                                          3)  การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified  Random  Sampling)  การสุ่ม

                       ตัวอย่างแบบนี้ต้องแยกประเภทของประชากรเป็นกลุ่มย่อยหรือชั้นก่อน แล้วจึงสุ่มตัวอย่างแยกกันคน
                       และกลุ่มโดยวิธี Simple  Random  Sampling  หรือ Systematic  Sampling  ก็ได้ กลุ่มย่อยที่มี

                       ลักษณะเป็น Homegeneous คือมีลักษณะเหมือนกันภายในกลุ่มเช่น การแยกประเภทของประชากร
                       ตามสถานการณ์เป็นสมาชิกของกลุ่มเกษตรกร

                                          4)  การสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster  Sampling)  คือการสุ่มตัวอย่าง
                       ประชากรโดยแบ่งประชากรออกเป็นกลุ่มๆ ให้แต่ละกลุ่มมีความเป็น Heterogeneous  กัน คือมี
                       ความแตกต่างกันภายในกลุ่ม เช่น การสุ่มตัวอย่างโดยการแบ่งตามเขตการปกครอง

                                          5)  การสุ่มตัวอย่างในทุกขั้นตอน (Multi Stage Sampling) เช่น ต้องการจะ
                       ท าการวิจัยโดยการสุ่มตัวอย่างประชากร โดยท าการสุ่มจังหวัดที่เป็นตัวอย่างก่อน ต่อไปก็สุ่มอ าเภอ

                       ต าบล หมู่บ้าน และครัวเรือนที่เป็นตัวอย่างตามล าดับ
                                  8.3.2 การสุ่มตัวอย่างในเชิงเป็นไปไม่ได้ (Non-probability  sampling)  คือ การสุ่ม

                       ตัวอย่างโดยไม่อาจก าหนดได้ว่าทุกส่วนของประชากรมีโอกาสได้รับการคัดเลือกโดยเท่ากัน ซึ่งท าให้ไม่
                       สามารถจะคาดคะเนหรือค านวณหาความผิดพลาดในการสุ่มเลือกตัวอย่างได้ การสุ่มแบบนี้มีหลายวิธี คือ

                                                    1)  การสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ (Accidental  Sampling)  เช่น พบใครก็
                       สัมภาษณ์ตามความพอใจของผู้วิจัย เช่น สุ่มนักท่องเที่ยวที่จะเข้าประเทศไทยที่สนามบินดอนเมือง
                                                    2)  การสุ่มตัวอย่างโดยวิธีการจัดสรรโควตา (Quota  Sampling)  การสุ่ม

                       ตัวอย่างเหล่านี้ต้องแบ่งกลุ่มของประชากรแล้วจัดสรรโควตาตัวอย่างไปให้แต่ละกลุ่มตามสัดส่วนของ
                       ปริมาณประชากรในกลุ่มนั้นๆ ที่มีอยู่จากนั้นก็ท าการสุ่มจากแต่ละกลุ่มตามโควตาที่จัดสรร ทั้งนี้

                       เพื่อให้ได้ตัวแทนจากกลุ่มต่างๆ อย่างเหมาะสม เช่น ชาย 80 คน หญิง 80 คน
                                                    3)  การสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) โดยจะเลือกศึกษา
                       จากประชากรที่มีลักษณะตรงตามวัตถุประสงค์ที่จะศึกษา เช่น เกษตรกรที่ปลูกหม่อน บร.60 เป็นต้น

                                                    4)  การสุ่มตัวอย่างพิจารณาตามความสะดวก (Convenience  Sampling)
                       โดยจะเลือกศึกษากลุ่มประชากรที่เห็นว่าง่ายต่อการศึกษา เช่น ไม่อยู่ในแดนของผู้ก่อการร้าย หรือ

                       เลือกเฉพาะผู้เป็นสมาชิกของกลุ่มทางการเกษตร กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง

                              9.  หลักการทางสถิติ

                                      การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ ได้ท าการศึกษาข้อมูลหลักการทางสถิติที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นการ
                       อ้างอิงการใช้สถิติที่เหมาะสมกับงานวิจัย  (พวงรัตน์, 2553)  มีรายละเอียดดังนี้
   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31