Page 24 - การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการผ่านการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม
P. 24

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       15







                                                    วิธีที่ 6 การวิเคราะห์องค์ประกอบ (Factors Analysis) เป็นวิธีที่จะท า
                       ให้ได้ข้อสอบที่ตรวจตามโครงสร้างจริง ๆ และเป็นวิธีที่น่าเชื่อถือ แต่จะยุ่งยากในทางปฏิบัติ เนื่องจาก
                       ต้องใช้กลุ่ม  Try Out เป็นจ านวนมากในการวิเคราะห์และต้องใช้คอมพิวเตอร์ในการวิเคราะห์

                                  7.3  ความเที่ยงตรงตามสภาพจริง (Concurrent  Validity)  เป็นการตรวจสอบความ
                       เที่ยงตรงตามสถานที่เป็นจริง เช่น ทดสอบการมีคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนด้วยแบบทดสอบแล้ว

                       นักเรียนได้คะแนนสูง เมื่อถ้าสังเกตสภาพการด ารงชีวิตหรือนิสัยของนักเรียนก็พบว่านักเรียนเป็นคนมี
                       คุณธรรมจริยธรรมสูงจริง นั้นแสดงว่าแบบทดสอบดังกล่าวมีความเที่ยงตรงตามสภาพจริง

                                  7.4  ความเที่ยงตรงเชิงพยากรณ์ (Predictive Validity) เป็นลักษณะของเครื่องมือที่มี
                       ความสอดคล้องระหว่างผลที่ได้จากการวัดและสิ่งที่คาดการณ์ไว้ เช่น นักเรียนที่ท าคะแนนผลสัมฤทธิ์

                       ทางคณิตศาสตร์ได้คะแนนสูง แสดงว่าต้องสามารถที่จะเรียนในคณะวิศวกรรมศาสตร์ได้ หากนักเรียน
                       คนนั้นไม่สามารถที่จะเรียนในคณะวิศวกรรมศาสตร์ได้ แสดงว่าเครื่องมือที่ใช้นั้นมีความเที่ยงตรงเชิง
                       พยากรณ์ต่ าหรือในการส ารวจความคิดเห็นเกี่ยวกับความต้องการในการเลือกเรียนโรงเรียนอนุบาล

                       ตามแนวพุทธ หากแบบส ารวจออกมาว่าประชาชนมีความต้องการสูง เมื่อเข้าโรงเรียนอนุบาลจริงก็จะ
                       มีประชาชนส่งบุตรเรียนจ านวนมาก แสดงว่าเครื่องมือที่ใช้ในการสอบถามมีความเที่ยงตรงเชิง

                       พยากรณ์สูงจริง ดังนั้น การสร้างเครื่องมือดังกล่าวจึงต้องมีข้อค าถามที่เป็นตัวเร้าคุณลักษณะที่แท้จริง
                       ออกมาให้ได้

                              8. หลักการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างในการท าวิจัย

                                 การวิจัยทางสังคมศาสตร์จ าเป็นต้องอาศัยวิธีวิทยาศาสตร์ในการคัดเลือกกลุ่มเปูาหมายที่
                       จะท าการศึกษาซึ่งสามารถท าได้โดยการอาศัยการสุ่มตัวอย่าง (Sampling)  การสุ่มตัวอย่างเป็นการ

                       คัดเลือกจากประชากรทั้งหมด โดยสุ่มตัวอย่างมาเพียงส่วนหนึ่ง เป็นตัวแทนของประชากรทั้งหมดเพื่อ
                       น ามาศึกษา โดยองค์ความรู้ในการสุ่มตัวอย่างมีดังนี้

                                  8.1  ข้อมูลประชากร (Population) หมายถึง กลุ่มเปูาหมายที่ต้องการศึกษาทั้งหมด ซึ่ง
                       อาจจะเป็น คน สัตว์ พืช วัตถุ หรือปรากฎการณ์ต่างๆ เช่น ในการศึกษาความรู้ในการประกอบอาชีพ
                       ด้านหม่อนไหมของเกษตรกรผู้ปลูกหม่อนเลี้ยงไหมในเขต ภาคอีสานตอนบน ประชากรในที่นี้คือ

                       เกษตรกร ที่มีภูมิล าเนาอยู่ในเขตจังหวัดต่างๆ ของภาคอีสานตอนบนในการวิจัยเชิงสังคมศาสตร์
                       ประชากรแบ่งออกได้ 2 ประเภทดังนี้ (พวงรัตน์, 2553)

                                      8.1.1  ประชากรที่มีจ านวนจ ากัด (Finite  population)  หมายถึง ประชากรที่มี
                       ปริมาณซึ่งสามารถนับออกมาเป็นตัวเลขได้ครบถ้วนเช่น ประชากรนิสิต หรือนักศึกษาของ

                       มหาวิทยาลัยทุกแห่ง  ประชากรของเกษตรกรในภาคกลาง ฯลฯ
                                    8.1.2  ประชากรที่มีจ านวนไม่จ ากัด (Infinite population) หมายถึงประชากรที่มี

                       ปริมาณซึ่งไม่สามารถนับจ านวนออกมาเป็นตัวเลขได้ครบถ้วน เช่น ประชากรเมล็ดถั่วเหลืองที่
                       จ าหน่ายในจังหวัดขอนแก่น ฯลฯ
   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29