Page 46 - ผลสำเร็จของการดำเนินงาน โครงการเขตพัฒนาที่ดินพื้นที่ลุ่มน้ำคลองรับร่อ บ้านจันทึง หมู่ที่ 5 ตำบลหินแก้ว อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร
P. 46

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                       32


               กัน การใช้ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยชีวภาพ ท าให้เพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์บางชนิดลงดิน หรือส่งเสริม
               กิจกรรมของจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ในดินมากกว่าการใช้เพื่อเพิ่มปริมาณธาตุอาหารพืชโดยตรง ปุ๋ยอินทรีย์

               และปุ๋ยชีวภาพที่นิยมใช้ ได้แก่
                    3.3.3 ปุ๋ยพืชสด (Green manure) เป็นปุ๋ยอินทรีย์ชนิดหนึ่งที่ได้จากการตัดสับหรือไถกลบลงไปในดินใน
               ขณะที่พืชยังเขียวอยู่  โดยมีจุดประสงค์เพื่อปรับปรุงบ ารุงดินให้มีความอุดมสมบูรณ์ในช่วงระยะเวลาที่พืชออก
               ดอก  เพราะน้ าหนักสดและปริมาณธาตุอาหารสูง  จากนั้นปล่อยให้เกิดการย่อยสลายจะได้ธาตุอาหารพืชและ

               เพิ่มอินทรียวัตถุแก่ดิน  พืชปุ๋ยสดที่นิยมเป็นพืชตระกูลถั่วเนื่องจากขึ้นได้ง่ายและเจริญเติบโตได้ดีและยังมี
               คุณสมบัติพิเศษที่รากเป็นที่อยู่อาศัยของไรโซเบียมโดยไรโซเบียมจะตรึงไนโตรเจนจากอากาศให้อยู่ในรูปที่เป็น
               ประโยชน์  ตัวอย่างพืชปุ๋ยสดที่นิยมใช้ปรับปรุงบ ารุงดินนาของพื้นที่โครงการรักษ์น้ าเพื่อพระแม่ของแผ่นดินลุ่ม
               น้ าขุนน่านและโครงการพัฒนาที่ดินชุมชนบนพื้นที่สูง ได้แก่ ปอเทือง โดยมีชื่อสามัญ Sun hemp ชื่อ

               วิทยาศาสตร์ Crotalaria juncea มีลักษณะล าต้นตั้งตรงแตกกิ่งก้านสาขามากมีดอกสีเหลืองออกดอกเมื่ออายุ
               ประมาณ 45-50 วัน ขึ้นได้ดีในพื้นที่ดอนที่มีการระบายน้ าดี  ไม่ชอบน้ าท่วมขัง ทนแล้ง ปลูกโดยวิธีการหว่าน
               ใช้อัตราเมล็ดเฉลี่ย 5 กิโลกรัมต่อไร่ จะให้น้ าหนักสดและน้ าหนักแห้งเฉลี่ยอยู่ที่ 2,500-3,000 และ 500-840
               กิโลกรัมต่อไร่ ตามล าดับ มีปริมาณธาตุอาหารไนโตรเจน ฟอสฟอรัสโพแทสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียม และ

               ก ามะถันเฉลี่ยร้อยละ 2.76, 0.22, 2.40, 1.53, 2.04 และ 0.96 ตามล าดับ ปุ๋ยพืชสดช่วยเพิ่มธาตุอาหารให้แก่
               ดิน ชดเชยอินทรียวัตถุในดิน ปรับปรุงสมบัติทางกายภาพของดินให้ดีขึ้น ลักษณะทางพืชไร่ของปอเทือง ขณะนี้
               มีอยู่เพียงพันธุ์เดียวที่ใช้ประโยชน์อยู่ในประเทศไทย สามารถขึ้นได้ดีในสภาพอากาศทั่วๆ ไป ทนแล้ง สภาพ

               พื้นที่เป็นที่ดอน การระบายน้ าดี ในกรณีที่ปลูกเพื่อไถกลบเป็นปุ๋ยพืชสดในรูปแบบของพืชหมุนเวียนสลับกับพืช
               หลัก จะปลูกในช่วงต้นฤดูฝนก่อนปลูกพืชหลักประมาณ 2.0-2.5 เดือน ในระบบพืชแซมจะปลูกพืชหลักประมาณ
               1-2 สัปดาห์ ในระบบพืชเหลื่อมฤดูจะปลูกปอเทืองในระยะใกล้หรือรอการเก็บเกี่ยว แต่ในกรณีที่ปลูกเพื่อเก็บ
               เมล็ดพันธุ์จ าเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องก าหนดช่วงปลูกให้เหมาะสม มิฉะนั้นจะได้ผลผลิตน้อยหรือไม่ได้เลย
               โดยทั่วไปในภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะปลูกเดือนสิงหาคมถึงกันยายน ในภาคกลางควรปลูกปลายฤดูฝนช่วง

               เดือนกันยายนถึงตุลาคม
                       การปลูกเพื่อเป็นปุ๋ยพืชสด ควรท าการไถพรวนดินก่อนแล้วจึงปลูก การปลูกที่ใช้ปฏิบัติกันมี 3 วิธี ดังนี้
                       1. ปลูกแบบหว่าน เป็นวิธีที่สะดวก ประหยัดเวลาและแรงงาน โดยการน าเอาเมล็ดพันธุ์ที่เตรียมไว้

               หว่านลงไปในแปลงให้ทั่ว ในอัตรา 5 กิโลกรัมต่อไร่
                       2. ปลูกแบบโรยเป็นแถว โดยใช้เมล็ดโรยลงในแถว ระยะระหว่างแถว 75 เซนติเมตร เมื่อโรยเมล็ดลง
               ในแถวแล้วกลบเมล็ดด้วยดินบางๆ ใช้อัตราเมล็ด 3-5 กิโลกรัมต่อไร่ การปลูกด้วยวิธีนี้ค่อนข้างช้าและสิ้นเปลือง
               แรงงานกว่าวิธีแรก แต่ได้ปอเทืองที่ขึ้นเป็นแถวอย่างมีระเบียบ

                       3.  ปลูกแบบหยอดเป็นหลุม วิธีนี้ล่าช้าและไม่สะดวกในทางปฏิบัติ อีกทั้งสิ้นเปลืองแรงงาน ไม่เป็นที่
               นิยม ใช้ในกรณีที่มีเมล็ดพันธุ์จ ากัดมาก ใช้ระยะปลูก 50x100  เซนติเมตร หยอดเมล็ด 2-3  เมล็ดต่อหลุม ใช้
               อัตราเมล็ด 1-3 กิโลกรัมต่อไร่
                       การปลูกเพื่อใช้เป็นปุ๋ยพืชสด นิยมปลูกเป็นปุ๋ยพืชสดในสภาพพื้นที่ดอน โดยปลูกในรูปแบบของพืช

               หมุนเวียน โดยหว่านหรือโรยเมล็ด ก่อนการปลูกพืชหลัก เช่น ข้าวโพด มันส าปะหลัง อ้อย เป็นต้น อย่างน้อย
               2.0-2.5  เดือน แล้วไถกลบปอเทืองที่อายุประมาณ 50-60  วัน ในขณะที่ดินยังมีความชื้นแล้วทิ้งไว้ 7-10  วัน
               ก่อนปลูกพืชหลัก หรืออาจปลูกในรูปแบบของพืชแซม โดยปลูกระหว่างแถวพืชหลัก ปลูกหลังจากพืชหลัก
               ประมาณ 1-2  สัปดาห์ หรือในรูปแบบการปลูกพืชเหลื่อมฤดู โดยปลูกปอเทืองเป็นพืชที่สอง ระหว่างแถวของ

               พืชหลักในระหว่างที่พืชหลักยังไม่ได้เก็บเกี่ยวแต่ใกล้ระยะเวลาหรือรอเก็บเกี่ยว เพื่อเป็นการประหยัดเวลา
   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51