Page 42 - ผลสำเร็จของการดำเนินงาน โครงการเขตพัฒนาที่ดินพื้นที่ลุ่มน้ำคลองรับร่อ บ้านจันทึง หมู่ที่ 5 ตำบลหินแก้ว อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร
P. 42

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                       28


                         (2) การสร้างคูรับน้ าขอบเขา (Hillside  Ditch)  คือ คูระบายน้ าที่สร้างไว้ในสวนไม้ผล โดย
               ระยะห่างระหว่างคูรับน้ า  2  คู ขึ้นกับความเหมาะสมทางด้านการเพาะปลูกซึ่ง ได้แก่ขนาดทรงพุ่มและระยะ

               แถวของไม้ผล รวมทั้งความต้องการในการใช้คูรับน้ าขอบเขาเป็นพื้นที่ล าเลียงขนส่งหรือแม้กระทั่งถนนเพื่อ
               ขนส่งเครื่องมือเครื่องจักรวัสดุอุปกรณ์การเกษตรรวมทั้งผลผลิตการเกษตรออกสู่ตลาดเป็นต้น
                       คูรับน้ าขอบเขา (Hillside  Ditch) หรือ คันดินแบบที่ 5  ควรใช้กับพื้นที่ที่มีความลาดเทไม่เกินกว่า 35
               เปอร์เซ็นต์ ซึ่งปริมาตรดินขุดดินถม ประมาณ 0.30  ลูกบาศก์เมตรต่อเมตร ขุดดินโดยใช้แรงงานคน (ไชยสิทธิ์,

               2549)
                       ในการค านวณหาระยะห่างระหว่างคันดินแบบต่างๆ และแนวหญ้าแฝก (กรมพัฒนาที่ดิน, 2553)
               สามารถหาได้จากสูตร
                                            VI   =    (0.5 S + 2) 0.3   เมตร

                                            HI   =    (VI / S) 100       เมตร
                                     เมื่อ      VI   =  ระยะตามแนวดิ่ง
                                            HI   =    ระยะตามแนวราบ
                                            S    =    เปอร์เซ็นต์ความลาดชัน (slope)

                         (3) การไถพรวนตามแนวระดับ (Contour Tillage) การไถพรวนและปลูกพืชตามแนวระดับ เป็น
               การไถพรวนหว่านปลูกและเก็บเกี่ยวพืชไปตามแนวระดับขวางความลาดเทของพื้นที่ วัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มการ
               ซาบซึมน้ าของดินและรักษาความชุ่มชื้นในดิน และเพื่อควบคุมการไหลบ่าของน้ าและการชะล้างพังทลายของ

               ดิน การปลูกพืชตามแนวระดับขึ้นกับลักษณะของดินความลาดเท ลมฟูาอากาศ และลักษณะการใช้ที่ดิน  การ
               ปลูกพืชตามแนวระดับที่มีประสิทธิภาพดีที่สุดควรปฏิบัติบนพื้นที่ที่มีความลาดเทต่ าประมาณ 2-7 เปอร์เซ็นต์
               และความยาวของความลาดเทไม่เกิน 100 เมตร ในพื้นที่ที่มีความแห้งแล้ง และมีการใช้ร่วมกับมาตรการอื่นๆ
               เช่น คันดินและขั้นบันไดดิน (กรมพัฒนาที่ดิน, 2544)
                         (4) อาคารชะลอความเร็วของน้ า (check  dam) อาคารชะลอความเร็วของน้ าเป็นสิ่งก่อสร้างที่

               สร้างขึ้นในพื้นที่ที่มีการชะล้างพังทลายของดินแบบร่องลึก เพื่อชะลอความเร็วของน้ าและช่วยให้เกิดการ
               ตกตะกอนทับถมในร่องน้ าท าให้ร่องน้ าตื้นเขิน ช่วยให้พืชต่างๆ ในร่องน้ าที่เพิ่งงอกใหม่ไม่ถูกน้ าพัดพาไป
               สามารถเจริญเติบโตขึ้นปกคลุมร่องน้ าได้เร็วขึ้น โดยสร้างขวางเป็นช่วงๆ ในร่องน้ าที่มีการกัดเซาะอาจสร้าง

               ด้วยเศษไม้เศษพืชหินดินหรือคอนกรีตก็ได้ หรือเป็นสิ่งก่อสร้างที่ช่วยลดปัญหาการกัดเซาะในทางระบายน้ าที่ปู
               ด้วยหญ้าใช้กับพื้นที่ที่มีการชะล้างพังทลายแบบร่องลึกหรือในทางระบายน้ า (กรมพัฒนาที่ดิน, 2544)
                         (5) บ่อน้ าในไร่นา (Farm Pond) หรือบ่อขุด (Excavated Pond) คือ บ่อน้ าหรือสระเก็บน้ าที่ขุด
               ขึ้น เพื่อเป็นแหล่งเก็บกักน้ าฝนน้ าท่าน้ าที่ไหลออกจากดิน และน้ าที่ไหลผ่านผิวดินลงในบ่อโดยขุดดินให้มีขนาด

               กว้างยาวและลึกตามจ านวนน้ าที่ต้องการจะเก็บกักไว้ และน าดินที่ขุดนั้นมาถมเป็นคันรอบสระ เพื่อท าเป็นบ่อ
               น้ าในไร่นาสิ่งส าคัญที่ต้องพิจารณาในการเลือกพื้นที่สร้างสระน้ า เพื่อช่วยลดความเสี่ยงต่อการขุดสระแล้วไม่ได้
               น้ า คือ ลักษณะและสมบัติของดินที่มีผลต่อปริมาณน้ าที่จะเก็บกัก เช่น ความลึกของดิน เนื้อดิน และความซึม
               น้ าหรือความสามารถของดินที่ให้น้ าซึมผ่าน (Permeability) ในระดับความลึก 1 เมตรซึ่งมีผลต่อปริมาณการ

               ไหลซึมของน้ า  (Seepage)  และปริมาณของก้อนหินจะมีผลต่อความยากง่ายในการขุด (กรมพัฒนาที่ดิน,
               2544)
                           (6) ทางระบายน้ า (Waterway) ทางระบายน้ าเป็นสิ่งก่อสร้างที่สร้างขึ้นเพื่อรับน้ าจากพื้นที่ต่างๆ
               ซึ่งถูกเบนมาเพื่อให้ไหลไปยังแหล่งที่ต้องการ เช่น อ่างเก็บน้ าทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์และแหล่งน้ าธรรมชาติเป็นต้น

               ทางระบายน้ าแบ่งออกเป็น 2 ประเภท (กรมพัฒนาที่ดิน, 2544) คือ
   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47