Page 41 - ผลสำเร็จของการดำเนินงาน โครงการเขตพัฒนาที่ดินพื้นที่ลุ่มน้ำคลองรับร่อ บ้านจันทึง หมู่ที่ 5 ตำบลหินแก้ว อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร
P. 41

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                       27


                       24. ลุ่มน้ าหลักแม่น้ าปัตตานี (รหัส 24) ประกอบด้วย 2 ลุ่มน้ าสาขา มีพื้นที่ 3,654.87 ตารางกิโลเมตร
               หรือประมาณ 2,284,294 ไร่

                       25. ลุ่มน้ าหลักภาคใต้ฝั่งตะวันตก (รหัส 25) ประกอบด้วย 13 ลุ่มน้ าสาขา มีพื้นที่ 18,775.60 ตาราง
               กิโลเมตร หรือประมาณ 11,734,750 ไร่ และมีพื้นที่เกาะ 951.63 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 594,769 ไร่
                       เขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ าคลองรับร่ออยู่ในลุ่มน้ าหลักลุ่มน้ าหลักภาคใต้ฝั่งตะวันออก (รหัส 21) และอยู่ในลุ่ม
               น้ าสาขาคลองท่าตะเภา (รหัส 2101)

                       ลุ่มน้ าคลองรับร่อ เป็นลุ่มน้ าหนึ่งในพื้นที่ลุ่มน้ าสาขาคลองท่าตะเภา   ลักษณะส าคัญของลุ่มน้ า คือ
               เป็นพื้นที่ต้นน้ าของคลองรับร่อ ที่เป็นตัวแทนครอบคลุมสภาพปัญหาด้านกายภาพของพื้นที่ ได้แก่ การชะล้าง
               พังทลายของดิน สภาพภูมิประเทศ ลักษณะและสมบัติของดิน และการใช้ประโยชน์ที่ดิน ตลอดจนสภาพ
               ปัญหาต่าง ๆ ในการใช้ที่ดิน


               3.2 การอนุรักษ์ดินและน้ า
                       การอนุรักษ์ดินและน้ า (Soil  and  Water  Conservation) หมายถึง การกระท าที่ก่อให้เกิดผลดีกับ
               ทรัพยากรดินและน้ า หรือจะกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ การใช้ประโยชน์ที่ดิน หรือทรัพยากรดินและน้ าอย่าง

               เหมาะสมชาญฉลาดและคุ้มค่า โดยค านึงถึงการรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดิน เพื่อก่อให้เกิดผลผลิตสูงสุด
               และยั่งยืนตลอดไป (กรมพัฒนาที่ดิน, 2544)
                    3.2.1 วัตถุประสงค์ของการอนุรักษ์ดินและน้ า

                       1)  เพื่อลดการชะล้างพังทลายดิน เพื่อให้อัตราการสูญเสียดินใกล้เคียงกับอัตราการเกิดดิน และ
               พยายามรักษาให้อยู่ในสภาพที่สมดุล
                       2)  เพื่อรักษาปริมาณธาตุอาหารและระดับความอุดมสมบูรณ์ของดิน รวมถึงการปูองกันการสูญเสีย
               และการเพิ่มส่วนที่สูญเสียไปโดยวิธีการหนึ่ง
                       3) เพื่อรักษาระดับอินทรียวัตถุในดิน และควบคุมอัตราการสลายตัว เพิ่มซากพืชและสัตว์ให้แก่ดิน

                       4)  เพื่อรักษาสมบัติทางกายภาพและเคมีของดิน ให้มีสภาพที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช
               รวมถึงการปรับปรุงบ ารุงดินให้ดินมีสมบัติที่ดีขึ้น
                       5) เพื่อรักษาน้ าและความชื้นในดิน รวมถึงการใช้ทรัพยากรน้ าในพื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

                    3.2.2 วิธีการอนุรักษ์ดินและน้ าที่ส าคัญในทางการเกษตรประกอบด้วย 2 มาตรการ (กรมพัฒนาที่ดิน,
               2544) ดังนี้
                       1) มาตรการอนุรักษ์ดินและน้ าโดยวิธีกล (Mechanical Measures) คือ วิธีการอนุรักษ์ดินและน้ า
               โดยการก่อสร้างโครงสร้างทางวิศวกรรม เพื่อควบคุมน้ าไหลบาหนาดิน โดยการสร้างสิ่งกีดขวางความลาดเท

               ของพื้นที่และทิศทางการไหลของน้ า ช่วยลดความเร็วของกระแสน้ า โดยความยาวของความลาดเทจะถูกแบ่ง
               ออกเป็นระยะ มาตรการวิธีกลมีหลายวิธี
                         (1) การสร้างคันดินกั้นน้ า (Terrace) กั้นน้ าหรือขวางความลาดเขาของพื้นที่มีประโยชน์ลดปริมาณ
               การสูญเสียเนื้อดินปูองกันการเกิดร่องน้ าเป็นการสงวนน้ าไว้ใช้ในดินในบริเวณที่ขาดแคลนน้ าและท าให้การใช้

               ดินเป็นไปอย่างกว้างขวางปราศจากอันตรายจากการสูญเสียดินโดยชนิดของการท าคันดินคือ
                              - คันดินบันได (Bench Terraces) คือ ขั้นบันไดซึ่งสร้างขึ้นโดยการท าคันดินหรือหินไปตาม
               แนวระดับโดยท าเป็นขั้นๆ แคบๆ สร้างในบริเวณที่มีความลาดเทเกินกว่า 15 เปอร์เซ็นต์
                              - คันดินฐานกว้าง (Broadbase terrace) เป็นคันดินที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับคันดินขั้นบันได

               แต่มีความกว้างของขั้นบันไดกว้างกว่า โดยปกติสร้างขึ้นในบริเวณที่มีความลาดชันน้อยหรือที่เกือบราบ
   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46