Page 44 - ผลสำเร็จของการดำเนินงาน โครงการเขตพัฒนาที่ดินพื้นที่ลุ่มน้ำคลองรับร่อ บ้านจันทึง หมู่ที่ 5 ตำบลหินแก้ว อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร
P. 44

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                       30


               ความเร็วของลมและลักษณะการเคลื่อนที่ของลม การปลูกพืชก าบังลม สามารถท าได้หลายแนวและหลาย
               ทิศทางควรระมัดระวังเกี่ยวกับผลกระทบที่จะเกิดกับพืชหลัก

                         (4) การใช้วัสดุคลุมดิน (Mulching)  หมายถึง การคลุมดินด้วยวัตถุต่างๆเช่น พลาสติก กระดาษ
               เศษเหลือของพืช เป็นต้น เพื่อเป็นการอนุรักษ์ดินและน้ า การคลุมดินส่วนใหญ่นิยมกระท าเพื่อรักษาความชื้น
               ในดินโดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้ง การคลุมดินยังมีประโยชน์ในแง่ของการลดปริมาณวัชพืชด้วย นอกจากนี้วัสดุ
               คลุมดินยังช่วยให้อุณหภูมิของดินไม่แตกต่างกันมาก เพื่อปูองกันการพังทลายที่เกิดจากเม็ดฝนที่ตกลงมาหรือที่

               เกิดจากน้ าไหลบ่าบนผิวดินหรือที่เกิดจากลมอัตราการใช้วัตถุคลุมดินที่นิยมโดยทั่วไป คือ 600-800 กิโลกรัม
               ต่อไร่ ส าหรับเศษเหลือของพืชและ 1.6-2.0 ตันต่อไร่ ส าหรับปุ๋ยคอก
                         (5) การปลูกพืชคลุมดิน (Cover  Crop)  เป็นการปลูกพืชที่มีรากมากรากลึกใบแผ่แน่นและโตเร็ว
               เช่น หญ้าแฝกยึดหน้าดินไว้เพื่อปูองกันการชะล้างและช่วยรักษาความชื้นนอกจากนี้ซากพืชยังท าให้ดินร่วนซุย

               และอุ้มน้ าได้ดีขึ้นอีกด้วย
                             (6)  หญ้าแฝก (Vetiver  Grass) เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวตระกูลเดียวกับข้าวโพด ข้าวฟุาง อ้อย พบ
               กระจายทั่วไปตามธรรมชาติ   หญ้าแฝกเป็นพืชที่เจริญเป็นกอขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 50-90 เซนติเมตร  มี
               ระบบรากเจริญลงดินในแนวดิ่งมากกว่าด้านข้างรากหยั่งลึกลงดิน  1.5-3.0 เมตร บริเวณรากมีจุลินทรีย์หลาย

               ชนิดที่เป็นประโยชน์ต่อพืชและเมล็ดขยายพันธุ์ได้น้อยมากจึงไม่เป็นวัชพืชนอกจากนี้หญ้าแฝกยังช่วยในการ
               ปรับปรุงดินรักษาและฟื้นฟูสภาพแวดล้อม
               สายพันธุ์หญ้าแฝก

                       พันธุ์หญ้าแฝกลุ่ม Chrysopogon zizanioides (L.) Roberty เป็นสายพันธุ์ที่มีความสามารถในการ
               ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดีและค่อนข้างเร็ว บางพันธุ์น าเข้ามาจากต่างประเทศ พันธุ์หญ้าแฝกลุ่ม
               ได้แก่ พันธุ์สุราษฎร์ธานี ก าแพงเพชร 2 ศรีลังกา และสงขลา 3
                       พันธุ์หญ้าแฝกดอน Chrysopogon nemoralis (Balansa) Holttum เป็นสายพันธุ์ที่พบในที่ค่อนข้าง
               แห้งหรือดินที่ระบายน้ าดี สามารถขึ้นได้ดีที่แดดจัดและที่ร่มร าไร ใบปรกลงคล้ายกอตระไคร้ ไม่ตั้งมากเหมือน

               หญ้าแฝกลุ่ม สายพันธุ์หญ้าดอน ได้แก่ พันธุ์ราชบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ร้อยเอ็ด ก าแพงเพชร 1 นครสวรรค์ และ
               เลย (กรมพัฒนาที่ดิน, 2555)

                       นอกจากมาตรการดังกล่าวข้างต้นเพื่อเพิ่มความแข็งแรงถาวรให้กับคันดินที่ขุด ในหลายพื้นที่ที่มีการ
               จัดระบบอนุรักษ์ดินและน้ าได้น ามาใช้ คือ การใช้มาตรการวิธีกลร่วมกับวิธีพืช และเห็นว่าควรเพิ่มมาตรการ
               อนุรักษ์ดินและน้ ามาตรการที่ 3  ได้แก่
                      3) มาตรการผสมผสานหรือมาตรการวิธีกลร่วมกับวิธีพืช มาตรการที่นิยมมากที่สุด คือ การปลูกหญ้า
               แฝกเป็นแถบตามแนวคันดิน ดังนี้

                         (1) การสร้างคันคูรับน้ าขอบเขา (Hillside-Ditch) ร่วมกับการปลูกหญ้าแฝก (Vetiver Grass) ใน
               พื้นที่ที่มีความลาดชันมากกว่า 35  เปอร์เซนต์  จะสร้างคันคูรับน้ าขอบเขาหรือคันดินแบบ 5 จากนั้นจะมีการ
               ปลูกหญ้าแฝกเป็นแถบบริเวณปลายสันคันดิน ซึ่งเป็นมาตรการร่วมกันวิธีกลและวิธีพืช (แถบหญ้าแฝก) เป็น
               วิธีการที่มีประสิทธิภาพในการช่วยปูองกันชะล้างการพังทลายของดิน คันคูรับน้ าขอบเขาจะเป็นตัวชะลอการ

               ไหลของน้ าและเบนน้ าออกจากแปลง ในส่วนของแถบหญ้าแฝกจะช่วยในการยึดดินในบริเวณปลายของคันดิน
               ไว้ไม่ให้ไหลลงไป เมื่อมีฝนตกลงมา และแถบหญ้าแฝกยังช่วยในการรักษาความชุ่มชื้นในดินได้ดีอีกด้วย
                         (2) การปลูกหญ้าแฝกตามไหล่ทางช่วยปูองกันดินขอบทางล าเลียงพังทลายการปลูกเป็นแถวปลูก
               ห่างจากขอบไหล่ทางประมาณ  50-100  เซนติเมตร และปลูกตามแนวระดับขวางความลาดเท จ านวนแถว

               ขึ้นอยู่กับเปอร์เซ็นต์และความยาวของความลาดเท ใช้ระยะห่างแต่ละแถวตามแนวดิ่ง 50 เซนติเมตร วิธีการ
   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49