Page 51 - ผลสำเร็จของการดำเนินงาน โครงการเขตพัฒนาที่ดินพื้นที่ลุ่มน้ำคลองรับร่อ บ้านจันทึง หมู่ที่ 5 ตำบลหินแก้ว อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร
P. 51

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                       37


                       Wischmeier  and Smith (1957) พบว่าอัตราการสูญเสียดินอันเกิดจากอิทธิพลของความลาดชัน
               สมการนี้แสดงให้เห็นว่าปริมาณการสูญเสียดินจะเพิ่มขึ้นเมื่อความลาดชันมากขึ้น Wischmeier  and Smith

               (1965) ได้ปรับปรุงแก้ไขและพัฒนาจนได้สมการการสูญเสียดินสากลและในปี Wischmeier  and Smith
               (1987) ได้ปรับปรุงแก้ไขมีการใช้กันอย่างแพร่หลายและเป็นที่รู้จักดีในวงการนี้
                       การประเมินการชะล้างพังทลายของดินโดยใช้สมการสูญเสียดินสากล (Universal Soil Loss
               Equation)

               สูตร        A   =      RKLSCP --------------------------------------------------------------- (1)
                           A  =     ปริมาณการสูญเสียดิน ต่อหน่วยของพื้นที่ซึ่งได้จากการค านวณ
                                    ค่าปัจจัยทั้ง 6 ปัจจัยมีหน่วยเป็น ตันต่อเฮกตาร์ต่อปี
                           R  =     ปัจจัยของน้ าฝนและการไหลบ่า (rain and run off factor)

                           K  =     ปัจจัยความคงทนต่อการชะล้างพังทลายของดิน
                           L  =     ปัจจัยความยาวของความลาดชัน (slope-length factor)
                           S  =     ปัจจัยความลาดชันของพื้นที่ (slope steepness factor)
                           C  =     ปัจจัยการจัดการพืช (cropping management factor)

                           P   =    ปัจจัยการปฏิบัติการปูองกันการชะล้างพังทลาย (erosion control practice)

               3.7 การประเมินปริมาณน้ าไหลบ่า และอัตราการไหลบ่าของน้ า

                       น้ าไหลบ่าบนผิวดิน หมายถึง น้ าฝนที่ตกลงมาบนพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง แล้วถูกซึมซับลงในดิน พืชดูดไปใช้
               แล้วอาจถูกเก็บกักไว้ในพื้นที่หรือระเหยไปในอากาศ น้ าที่เหลือจากขบวนการต่างๆ แล้วไหลลงสู่ร่องน้ า ล า
               ห้วย หรือล าคลอง ก็คือน้ าไหลบ่า (กรมพัฒนาที่ดิน, 2558)
                       อัตราและปริมาณการเกิดน้ าไหลบ่าขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ได้แก่ ความรุนแรง ปริมาณ และทิศทางของ
               ฝนที่ตกลงมา ลักษณะความลาดเท การกักเก็บน้ าบนพื้นผิวของพื้นที่ ลักษณะและคุณสมบัติของดิน ชนิดและ

               ปริมาณของพืชพรรณที่ปกคลุมผิวพื้นดิน และขนาดของลุ่มน้ าหรือพื้นที่รับน้ า
                       หลักการส าคัญของการอนุรักษ์ดินและน้ าในไร่นา  การกักเก็บน้ าไหลบ่าบนผิวดินไว้ในที่ที่ต้องการ
               เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในขณะเดียวกันก็ต้องระบายน้ าที่มากเกินความต้องการไปทิ้งในที่ควบคุมได้ โดย

               ไม่ให้เกิดความเสียหายกับพื้นที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกัดเซาะพังทลายของหน้าดิน
                       สมการค านวณปริมาณน้ าไหลบ่า (Q)
               สูตร           Q = CIA ---------------------------------------------------------------- (2)
                              C = ค่าสัมประสิทธิ์ของน้ าไหลบ่า (ก+ข+ค+ง+จ)

                                ก = ความรุนแรงของน้ าฝน
                                ข = ลักษณะพื้นที่
                                ค = การกักเก็บน้ าของผิวดิน
                                ง = การซึมซาบของน้ า

                                จ = พืชคลุมดิน
                              I  = ปริมาณน้ าฝน (มิลลิเมตรต่อปี)
                              A = พื้นที่ของบริเวณรับน้ า (เฮกตาร์)
   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56