Page 45 - ผลสำเร็จของการดำเนินงาน โครงการเขตพัฒนาที่ดินพื้นที่ลุ่มน้ำคลองรับร่อ บ้านจันทึง หมู่ที่ 5 ตำบลหินแก้ว อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร
P. 45

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                       31


               ปลูกแบบรากเปลือยเป็นแถวแนวเดี่ยวระยะต้น 5-10เซนติเมตร ปลูกหญ้าแฝกช่วงวันที่ 30 พฤษภาคมถึง 30
               กรกฎาคมเป็นช่วงที่ปลูกหญ้าแฝกเหมาะสมที่สุด (วิชัยและคณะ,  2542) อย่างไรก็ตามการปลูกหญ้าแฝกยัง

               ช่วยการเปลี่ยนแปลงสมบัติของดิน  ค่าความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) โดยก่อนปลูกความเป็นกรดเป็นด่างอยู่
               ระหว่าง 4.5-5.7 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยเป็น 4.5-5.8 ปริมาณอินทรียวัตถุในดินเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 0.21-0.51 เป็น
               ร้อยละ 0.76-1.01 นอกจากนี้ปริมาณธาตุฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ก่อนปลูกหญ้าแฝกอยู่ระหว่าง 4.00-
               8.67  และ 100.00-166.67  มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม หลังปลูกเพิ่มขึ้นเป็น 6.67-12.67  และ 506.66-582.67

               มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตามล าดับ (กรมพัฒนาที่ดิน, 2555)

               3.3 การปรับปรุงบ ารุงดิน
                      การขุดถมดินในการจัดท าระบบอนุรักษ์ดินและน้ าโดยมาตรวิธีกลท าให้หน้าดินที่ใช้เพาะปลูกถูก

               เคลื่อนย้าย ท าให้โครงสร้างดินถูกท าลาย ดินจึงไม่เหมาะสมส าหรับปลูกพืช ดังนั้นก่อนเพาะปลูกจ าเป็นต้องมี
               การปรับปรุงบ ารุงดิน เช่นเดียวกับการปลูกพืชซ้ าในดินเดิมอย่างต่อเนื่อง โดยไม่มีการปรับปรุงบ ารุงดิน จะท า
               ให้ดินสูญเสียความอุดมสมบูรณ์ไปอย่างรวดเร็ว ดินจะแข็ง ไม่ร่วนซุย ดูดซับน้ าและธาตุอาหารได้น้อยลง และ
               ที่ส าคัญคือจะท าให้การใช้ปุ๋ยเคมีไม่ได้รับผลดีเท่าที่ควร การใช้ปุ๋ยเคมีที่ได้ผลจะต้องใช้ควบคู่ไปกับการปรับปรุง

               บ ารุงดิน หากใช้ปุ๋ยเคมีแต่เพียงอย่างเดียว โดยไม่มีการปรับปรุงบ ารุงดินติดต่อกันเป็นเวลานาน จะท าให้ดิน
               ขาดความอุดมสมบูรณ์ ท าให้ผลผลิตลดลง ต้องใช้ปุ๋ยเคมีมากขึ้น เป็นการเพิ่มต้นทุนการผลิตให้สูงขึ้น การ
               ปรับปรุงบ ารุงดินท าได้โดยการเพิ่มอินทรียวัตถุให้แก่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน (2553) รายงานประโยชน์ ดังนี้

                       1. ท าให้ดินจับตัวกันเป็นก้อนเล็กๆ ร่วนซุยไถพรวนง่าย ระบายน้ าและอากาศ ได้ดี รากพืชก็จะ
                         เจริญเติบโตได้ดี
                       2. ท าให้ดินทนทานต่อการชะล้างดีขึ้น
                       3. ท าให้ดินอุ้มน้ าได้มากขึ้นและลดการระเหยน้ าออกจากดิน
                       4. ท าให้ดินดูดซับธาตุอาหารพืชไว้เป็นประโยชน์แก่พืชได้มากขึ้น

                       5. อินทรียวัตถุจะสลายตัวปลดปล่อยธาตุอาหารให้แก่พืช
                       6. ท าให้ธาตุอาหารพืชในดินละลายออกมาเป็นประโยชน์มากขึ้น
                      7. เพิ่มประสิทธิภาพของปุ๋ยเคมีที่ใส่ลงไปในดินให้เป็นประโยชน์แก่พืชมากขึ้น และลดการใช้ปุ๋ยเคมีได้

                         ในระยะยาว
                       8. ท าให้ได้รับผลผลิตสูงขึ้น และได้ผลผลิตที่มีคุณภาพดี
               วิธีการปรับปรุงบ ารุงดิน
                    3.3.1 การใช้ปุ๋ยเคมี โดยใช้ปุ๋ยเคมีที่มีสมบัติและสูตรปุ๋ยเหมาะสม เพื่อบ ารุงดินโดยการเพิ่มธาตุอาหารพืช

               ที่จ าเป็นให้กับดินและพืช โดยเฉพาะธาตุ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และ โพแทสเซียม โดยทั้งนี้ให้ท าการวิเคราะห์
               ดินก่อนว่ามีความสมบูรณ์เพียงไรขาดธาตุอาหารอะไรบ้าง ถ้าดินยังขาดธาตุอาหารพืชชนิดอื่นๆ เช่น ธาตุ
               อาหารรองหรือธาตุอาหารเสริม ต้องพิจารณาให้ธาตุอาหารรอง เช่น ธาตุ แมกนีเซียม ก ามะถัน  หรือธาตุ
               อาหารเสริมชนิดต่างๆ เช่น สังกะสี และ เหล็ก  เป็นการเพิ่มเติมด้วย ดังนั้น ในปัจจุบันการใส่ปุ๋ยเคมีตามค่า

               วิเคราะห์ดินจากโปรแกรมการจัดการดินและปุ๋ยรายแปลง นับว่าเป็นการใช้ปุ๋ยเคมีอย่างมีประสิทธิภาพ มี
               ความแม่นย าสูงและใช้งานง่าย
                    3.3.2 การใช้ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยชีวภาพ เพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ทางด้านธาตุอาหารพืชในดินเป็นหลัก
               การใช้ปุ๋ยอินทรีย์โดยทั่วๆ ไปมีวัตถุประสงค์ เพื่อปรับปรุงสมบัติทางกายภาพของดินเป็นส าคัญ จะมีผลดีทั้งใน

               แง่ของการบ ารุงดินเพื่อเพิ่มพูนธาตุอาหารพืชในดินและการปรับปรุงสมบัติทางกายภาพของดินไปด้วยพร้อมๆ
   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50